0059: Upside, where are you?

ลองนั่งนึกดูว่าในอนาคตบริษัทที่คุณลงทุนอยู่จะโตขึ้นได้อีกเพราะอะไรได้บ้าง? ขีดจำกัดในการเติบโตของกิจการแต่ละอย่างนั้นแตกต่างกัน
ธุรกิจ โรงแรมนั้นก่อสร้างขึ้นมาครั้งแรกครั้งเดียวเลย กำไรในช่วงแรกปีแรกที่เปิดบริการจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะ occupancy rate ยังต่ำอยู่มาก แต่เมื่อ occupancy rate มาถึงขีดจำกัดแล้ว หลังจากนั้น กำไรของบริษัทก็แทบจะนิ่งอยู่กับที่ (แกว่งขึ้นลงในกรอบ) และอยู่อย่างนั้นต่อไปอีกอาจจะ 20-30 ปีเลยทีเดียว (อาจเพิ่มขึ้นได้บ้างตามเงินเฟ้อ) ดังนั้นโดยธรรมชาติแล้ว หุ้นโรงแรมจึงไม่ใช่หุ้นเติบโต การถือหุ้นโรงแรมเอาไว้เป็นเวลานานย่อมไม่สามารถคาดหวัง Capital Gain สูงๆ ได้ ได้แค่กินเงินปันผลไปเรื่อยๆ อย่างดีหน่อยเมื่อผ่านไปสัก 20 ปี โรงแรมอาจมีการต่อเติมส่วนขยายเพื่อเพิ่มจำนวนห้องพักให้มากขึ้นได้สักครั้ง หนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานั้นทำเลของโรงแรมมักเป็นทำเลหนาแน่นแล้ว พื้นที่ที่จำกัดของ โรงแรมนั่นย่อมทำให้ขยายได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้น
ถ้า คุณอยากถือหุ้นโรงแรมไว้ระยะยาวจริงโดยหวังให้เป็นหุ้นเติบโต คุณจึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเลือกหุ้นโรงแรมที่มีนโยบายเปิดสาขาใหม่ต่อไป เรื่อยๆ เท่านั้น ซึ่งมีอยู่ไม่กี่โรงแรมเท่านั้นที่มีนโยบายแบบนี้ ส่วนขยายแล้วจะประสบความสำเร็จหรือไม่ค่อยเป็นอีกประเด็นหนึ่ง 
---
การ สร้างโรงไฟฟ้าโรงที่สองสามสี่เพื่อสร้างการเติบโตให้กับบริษัทนั้น ไม่ใช่อยากทำเมื่อไรก็ทำได้ทันที ถ้าเป็นโรงไฟฟ้าพลังแก๊ส ก็ต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ ปตท.สร้างท่อแก็สเข้าไปถึง หรือถ้าเป็นโรงไฟฟ้าพลังถ่านหินก็ต้องตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือที่เรือขนถ่าย ถ่านหินเทียบท่าได้ อีกทั้งยังต้องมีการทำประชาพิจารณ์กับชุมชนเกี่ยวกับผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีก ด้วย ดังนั้นที่จริงแล้ว โรงไฟฟ้าที่ยังมีพื้นที่แปลงข้างๆ โรงเดิมเหลืออยู่จะเป็นโรงไฟฟ้าที่สามารถขยายได้ง่ายกว่า เพราะท่อก๊าซมีอยู่แล้ว แถมการทำความเข้าใจกับประชาชนกลุ่มเดิมก็ทำได้ง่ายๆ เพราะเคยทำไปแล้วตั้งแต่ตอนสร้างโรงแรก ดังนั้นเวลามองหุ้นโรงไฟฟ้า ผมย่อมต้องให้มูลค่าบริษัทที่ยังมีที่แปลงข้างๆ เหลือสูงกว่าบริษัทที่ใช้ที่ดินไปหมดแล้วต่อกำไรปัจจุบันที่ทำได้เท่ากับ เพราะบริษัทแรกมี Potential Upside สูงกว่า นอกจากนี้ ผมก็ต้องดูด้วยว่าใครมียังสามารถก่อหนี้เพิ่มได้มากกว่ากัน (d/e ratio ยังไม่สูง) เพราะการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ต้องระดมเงินกู้จำนวนมาก ถ้าบริษัทไหนวงเงินเต็มแล้วก็คงขยายได้ยาก เช่นนี้เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ไม่อยู่ในผลประกอบการปัจจุบันของบริษัทเลย แต่กลับมีผลต่อการเติบโตในอนาคตโดยตรง เราจึงควรให้ความสำคัญกับมัน ไม่ใช่ดูแต่กำไรปัจจุบันกับพีอีเรโชอย่างเดียว
---
ธุรกิจ แต่ละอย่างมี Scalability ต่างกัน ธุรกิจร้านหนังสือ ถ้าหากร้านต้นแบบมีคอนเซ๊ปท์ที่ดีและผู้บริโภคในพื่นที่อื่นๆ มีรสนิยมใกล้เคียงกัน ก็สามารถทำกำไรให้เติบโตได้ง่ายๆ ด้วยการสร้างร้านแบบเดิมในพื้นที่ใหม่ไปเรื่อยๆ บริษัทอาจเติบโตด้วยวิธีการ แบบนี้ได้ติดต่อกันเป็นสิบปีตราบเท่าที่ยังเหลือพืนที่ให้เปิดได้อีก (แต่ถ้าซื้อตอนที่ขยายสาขามานานมากแล้วจนไม่เหลือทำเลใหม่ๆ ก็อาจจะไม่โตแล้วก็ได้) ในขณะที่ ธุรกิจสำนักพิมพ์นั้น ถ้าต้องการโตเร็วมากๆ จะทำได้ยาก เพราะทีมงานชุดเดิมมีกันคนละ 24 ชม ลำพังหัวเดิมที่ทำอยู่ก็แทบไม่ได้นอนอยู่แล้ว ถ้าจะเปิดหัวใหม่เพิ่มอีก 5 หัว ก็ต้องรับทีมงานใหม่ ซึ่งคุณภาพก็ย่อมต้อง drop ลง เพราะทีมงานใหม่ย่อมไม่มีประสบการณ์ที่แก่กล้าเหมือนทีมงานชุดเก่า แบบนี้ถ้าเร่งขยายมากๆ คุณภาพลดลง ธุรกิจอาจถึงขั้นเสียหายได้เลย ธุรกิจสำนักพิมพ์จึงเป็นธุรกิจที่สามารถเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปได้ แต่อาจไม่โตเร็ว เป็นต้น   
ลองนึกดูนะครับว่า หุ้นของคุณมีโอกาสในการขยายกิจการอย่างไรบ้าง ที่จริงแล้วมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อมูลค่าของกิจการนอกเหนือจากการนั่ง ดูแค่อัตราส่วนทางการเงินต่างๆ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘