0055: เพิ่มทุน (ตอนที่ 2)

โดย ปกติแล้ว บริษัทมักเพิ่มทุนโดยให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นเดิมได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนนั้นก่อน (ซื้อได้ตามสัดส่วนที่ผู้ถือหุ้นเดิมถืออยู่) ทั้งนี้ก็เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเดิมได้รักษาสัดส่วนการถือหุ้นของตัว เองไว้ไม่ให้ลดลง (อันจะส่งผลต่อเสียงโหวต)
ในบางกรณี บริษัทจงใจขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะ (Private Placement : PP) โดยไม่ให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนก่อน เหตุผลก็คือ บริษัทนั้นสามารถเอื้อประโยชน์บางอย่างให้กับธุรกิจของบริษัทได้ เช่น อาจจะเป็นเจ้าของเทคโนโลยีบางอย่างที่บริษัทอยากได้หรือมีเครือข่ายการจัด จำหน่ายสินค้าที่แข็งแกร่ง เป็นต้น บริษัทจึงจำเป็นต้องยอมให้บริษัทนั้นเข้ามาถือหุ้นเพื่อให้บริษัทนั้นยอม เปิดเผยเทคโนโลยีหรือยอมจัดจำหน่ายสินค้าของบริษัทให้ เราเรียกผู้ถือหุ้นแบบนี้ว่าเป็น Strategic shareholders ของบริษัท ในบางกรณีบริษัทถึงกับต้องยอมขายหุ้นเพิ่มทุนในราคาที่มีส่วนลด จากราคาตลาดให้อีกด้วย ขึ้นอยู่กับอำนาจการต่อรองของ Strategic shareholders
ในบางกรณี บริษัทจงใจขายหุ้นเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไป (Public Offering : PO) โดยไม่ได้ให้สิทธิพิเศษใดๆ กับผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ก่อน ซึ่งเป็นวิธีการเพิ่มทุนที่ผู้ถือหุ้นเดิมเสียสิทธิ์ กรณีเช่นนี้ บริษัทมักจะอ้างว่าเป็นเพราะหุ้นเก่ามีจำนวนผู้ถือหุ้นน้อยเกิน ไป เลยถือโอกาสกระจายหุ้นให้คนใหม่ๆ บ้างเพื่อเพิ่มสภาพคล่องไปในตัว เหตุผลนี้โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่าฟังไม่ขึ้น ผมมักจะคิดในใจว่า น่าจะเป็นเหตุผลส่วนตัวของผู้ถือหุ้นใหญ่บางคนมากกว่าที่ไม่อยากซื้อหุ้น เพิ่มทุนด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่มาตัดสิทธิ์ผู้ถือหุ้นเดิมทุกคนไม่ให้มี สิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนนั้นก่อนซะงั้น หรือว่ารู้ตัวว่าเคยหักหลังผู้ถือหุ้นเก่ามาก่อน ก็เลยกลัวผู้ถือหุ้นเก่าไม่ซื้อ ไม่ทราบว่าท่านผู้อ่านท่านใดมองเห็นเหตุผลอย่างอื่นที่ดีๆ ของ PO ที่ผมอาจจะมองข้ามไปหรือเปล่า ถ้าหากคิดออกช่วยแชร์ด้วย ผมคิดไม่ออกจริงๆ โดยส่วนตัวแล้ว ผมว่าการออก PO ถือเป็นสัญญาณลบอย่างหนึ่งเกี่ยวกับธรรมภิบาลของบริษัท
กลับ มาที่กรณีปกติอีกครั้งที่บริษัทให้สิทธิ์ผู้ถือหุ้นเดิมซื้อหุ้นเพิ่มทุน ก่อน ปกติแล้วบริษัทจะประกาศให้ทราบว่า ผู้ถือหุ้นเก่ากี่หุ้นจะมีสิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่กี่หุ้น ในราคาหุ้นละกี่บาท ตัวอย่างเช่น หุ้นเก่า 2 หุ้นซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้ 1 หุ้น อย่างนี้ก็แสดงว่า หุ้นเพิ่มทุนมีจำนวน 50% ของหุ้นที่มีอยู่เดิม เช่น ถ้าเดิมบริษัทมีหุ้นทั้งหมด 100 ล้านหุ้น ก็แสดงว่าออกหุ้นเพิ่มทุน 50 ล้านหุ้น ผู้ถือหุ้นเดิม 2 หุ้นจึงซื้อหุ้นใหม่ได้ 1 หุ้น เป็นต้น
ปกติ แล้วบริษัทจะกำหนดราคาใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นเพิ่มทุนขึ้นมาซึ่งแตกต่างจากราคา ตลาดได้ อันนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทต้องการเงินเท่าไรจากการเพิ่มทุนครั้งนั้น เช่น บริษัทมีแผนจะใช้เงิน 50 ล้านบาท ก็ต้องขายหุ้นเพิ่มทุนที่ราคาหุ้นละ 1 บาท เป็นต้น
สมมติว่าราคาหุ้นเก่าในตลาดขณะนั้น อยู่ที่ประมาณ 1 บาทด้วย อย่างนี้หุ้นเพิ่มทุนกับหุ้นเดิมก็มีราคาใกล้เคียงกัน แต่ถ้าลองคิดดูให้ดี ถ้าบริษัทต้องการระดมทุน 50 ล้านบาท บริษัทมีวิธีออกแบบหุ้นเพิ่มทุนได้หลายแบบ เช่น ออกหุ้นเพิ่มทุน 50 ล้านหุ้น หุ้นละ 1 บาท หรือ ออกหุ้นเพิ่มทุน 100 ล้านหุ้น หุ้นละ 0.50 บาทก็ได้เหมือนกัน แล้วสองวิธีนี้มันมีข้อแตกต่างกันยังไง?
ใน แง่จำนวนเงินที่ระดมได้นั้นไม่แตกต่าง แต่ในแง่ของความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ถือหุ้นนั้นต่างกันมาก การออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวนมากๆ และขายในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาดมากๆ นั้น เป็นการบีบให้ผู้ถือหุ้นเดิมต้องเพิ่มทุน มิฉะนั้นแล้วสัดส่วนการถือหุ้นของตนเองจะลดลงอย่างมหาศาล เพราะถ้าไม่เพิ่มทุนก็เหมือนกับทิ้งสิทธิ์ในการซื้อหุ้นในราคาต่ำๆ ไปเฉยๆ  บริษัทที่มี outlook ที่ไม่ดีแต่ต้องการบีบบังคับให้ผู้ถือหุ้นเดิมใส่เงินเข้ามาเพิ่ม อาจใช้กลวิธีแบบนี้ ดังนั้นการกำหนดราคาหุ้นเพิ่มทุนก็เป็นอะไรที่สะท้อนถึง ธรรมภิบาลของบริษัทได้เหมือนกัน 
เพื่อ แก้ปัญหาผู้ถือหุ้นบางคนที่ไม่ต้องการจะเพิ่มทุน บางบริษัทนิยมแจกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน (หรือที่เรียกว่าวอร์แรนต์) ให้แทนที่จะเพิ่มทุนเฉยๆ วิธีนี้ก็ดีเหมือนกัน เอาไว้จะอธิบายถึงอีกครั้งว่าเป็นอย่างไรตอนที่เขียนถึงวอร์แรนต์นะครับ
ประเด็นเรื่องเพิ่มทุนยังไม่จบครับ ไว้มาต่อคราวหน้า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘