0044: สิ่งที่กระตุ้นการใช้อารมณ์ได้มากที่สุด

เรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ เป็นเรื่องหนึ่งที่มนุษย์มีความสามารถในการใช้เหตุผลได้ค่อนข้างน้อย เหตุ ที่เป็นเช่นนั้นเป็นเพราะการทำงานของสมอง 
สมอง ของมนุษย์มีอยู่หลายส่วน แต่ละส่วนก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไป ในยามปกติ สมองส่วนที่มีชื่อว่า Frontal Cortex จะคอยควบคุมการตัดสินใจ สมองส่วนนี้มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน การใช้เหตุผล การควบคุมอารมณ์ เราจึงไม่ค่อยมีปัญหากับการตัดสินใจโดยใช้เหตุผลในชีวิต ประจำวัน
แต่เมื่อใดก็ตามที่เราถูกกระตุ้นด้วย สิ่งเร้าบางอย่าง เช่น ความเครียด หรือความไม่แน่นอน สมองส่วนนี้จะลดบทบาทลงชั่วคราว และปล่อยให้สมองอีกส่วนหนึ่งที่มีชื่อว่า limbic structure ทำหน้าที่ควบคุมการตัดสินใจแทน Limbic structure เป็นสมองอยู่ที่อยู่ใต้ Cortex ลงไป มันทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องอารมณ์และแรงขับต่างๆ ดังนั้นเมื่อเราถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าบางอย่าง ความสามารถในการใช้เหตุผลของเราจะน้อยลง
เราพบ ว่านอกเหนือจาก "หน้าตาของผู้หญิงสวยๆ" แล้ว "เงิน" เป็นสิ่งเร้าอีกอย่างหนึ่งที่กระตุ้น Limbic structure ให้ทำงานได้ดี เมื่อใดก็ตามที่เรากำลังจะได้เงินหรือเสียเงินจำนวนมากๆ เราจึงมีแนวโน้มที่จะใช้อารมณ์สูง เพราะ Limbic Structure ของเราจะถูกกระตุ้นให้เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมการตัดสินใจแทน Frontal Cortex
นักจิตวิทยาค้นพบว่า สิ่งเร้าที่กระตุ้นการทำงานของ Limbic structure ของนักลงทุนได้ดีที่สุด ไม่ใช่ข่าวดีหรือข่าวร้ายเกี่ยวกับหุ้น แต่กลับกลายเป็น การเคลื่อนไหวของ"ราคาหุ้น" นักลงทุนที่นั่งมองราคาหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ปรับตัวลงอย่างรุนแรงจะมีแนวโน้มสูงมากที่จะตัดสินใจด้วยอารมณ์
ใน ขณะที่กำลังถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้านั้น การควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก มาก เพราะ Limbic structure เป็นสมองส่วนที่ค่อนข้างจะดิบกล่าวคือ มันทำงานอยู่ในระดับของจิตไร้สำนึกของเรา ดังนั้น เราจึงมักไม่รู้ตัวเมื่อมันเข้าควบคุมการตัดสินใจของเรา นอกจากนี้มันยังมีกลไกป้องกันตัวอีกด้วย กล่าวคือ เมื่อไรก็ตามที่เราใช้อารมณ์ มันจะหา "เหตุผล" มาสนับสนุนการใช้อารมณ์นั้นของเรา เป็นต้นว่า ถ้าเราคิดจะขายหุ้นที่ราคาปรับตัวลงแรงๆ นั้นทิ้งไป มันจะกรองข้อดีต่างๆ ของหุ้นตัวนั้นออกไปจากสมองแล้วเหลือไว้แต่ข้อเสีย เมื่อเราเห็นแต่ข้อเสีย ของหุ้นตัวนั้น เราจะรู้สึกว่า การขายหุ้นครั้งนี้ของเราเป็นเรื่องของเหตุผล ทั้งที่เรากำลังใช้อารมณ์อยู่ กลไกนี้เกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ลองสังเกตดูง่ายๆ ว่า ถ้าราคาหุ้นตัวนั้นกลับตัวขึ้นไปแรงๆ ในระยะเวลาอันสั้น ความรู้สึกของเราเกี่ยวกับพื้นฐานของหุ้นจะกลับมาดีไปด้วย
เวลา ที่หุ้นลงมากๆ สิ่งที่ไม่ควรทำคือ การนั่งหน้าจอเทรดหุ้น บางคนคิดว่าต้องทำอย่างนั้นเพราะจะได้ขายได้ทันหากหุ้นลงต่อไปอีก นั้นจริงหรือเปล่าไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ การทำอย่างนั้นคือการปล่อยให้สิ่งเร้ากระตุ้นการใช้อารมณ์ของเราโดยไม่รู้ ตัว ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดในที่สุด ปีเตอร์ ลินซ์ บอกว่า ถ้านักลงทุนทุกคนถูกบังคับให้ดูหุ้นในพอร์ตของตัวเองได้แค่หนึ่งครั้งในหก เดือน ผลตอบแทนของนักลงทุนจะดีขึ้นได้เองทันทีโดยที่ความสามารถอย่างอื่นของ นักลงทุนยังเหมือนเดิม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘