0043 : Logical Reasoning

ลกเรามีวิธีสร้างความรู้ใหม่สองอย่าง
วิธี แรกเรียกว่า Deductive reasoning วิธีนี้คือการตรวจดูภาพรวมทั้งหมดจนแน่ใจว่าถูกต้องทุกๆ กรณีจึงสรุปว่าเป็นจริงเสมอและเกิดเป็นความรู้ใหม่ วิธีนี้ให้ความแน่นอนสูง แต่ในโลกของความเป็นจริงทำได้ยาก เพราะถ้ามัวแต่รอให้ข้อมูลครบ บางทีก็เป็นอันไม่ต้องทำอะไรกันพอดี ความรู้ใหม่ในโลกนี้ส่วนใหญ่แล้วจึงไม่ ได้เกิดจาก Deductive reasoning
วิธีที่สอง เรียกว่า Inductive reasoning คือ การตรวจสอบแค่บางส่วนของทั้งหมด เช่น การสุ่มตัวอย่าง ถ้าจำนวนตัวอย่างที่ตรวจสอบมีมากพอก็สรุปไปเลยว่าเป็นจริงทุกกรณีและเกิด เป็นความรู้ใหม่ วิธีนี้ทำได้ง่ายและเร็วกว่าวิธีแรกมาก ความรู้ใหม่ในโลก นี้ส่วนใหญ่จึงเกิดจาก Inductive reasoning ทั้งสิ้น ตัวอย่างเช่น เซอร์ไอแซค นิวตัน ศึกษาการเคลื่อนที่ของลูกแอ๊ปเปิ้ล แล้วนำมาสรุปเป็นกฏการเคลื่อนที่ของวัตถุทุกชิ้นในเอกภพ
แม้ ว่า Inductive reasoning จะใช้ประโยชน์ได้มากกว่า แต่วิธีนี้ก็มีจุดอันตรายอยู่ เพราะการตรวจสอบแค่ส่วนหนึ่งแต่เหมารวมเป็นความจริงทั้งหมด  ตัวอย่างเช่น ถ้าตั้งแต่เกิดมาคุณเคยเห็นแกะมาทั้งหมด 120 ตัว ทุกตัวเป็นสีขาว คุณอาจสรุปด้วยวิธี inductive reasoning ว่า แกะทั้งโลกนี้ (นับล้านๆ ตัว) เป็นสีขาวทุกตัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าในโลกนี้มีแกะแค่หนึ่งหรือสองตัวที่เป็นสีดำแต่บังเอิญคุณไม่เคย เห็น ความรู้ใหม่ของคุณก็เป็นความรู้ที่ผิดทันที การสร้างความรู้ใหม่ด้วย วิธี Inductive reasoning แม้จะใช้การได้ดีแต่ก็เสี่ยงที่จะผิดพลาดในลักษณะนี้ได้เสมอ
การ จะสรุปว่าตลาดหุ้นเป็นอย่างไรนั้น ถ้าเราสรุปจากประสบการณ์ที่เราอยู่ในตลาดหุ้นมาแค่ไม่กี่ปี แล้วคิดว่านั่นคือภาพทั้งหมดของตลาดหุ้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการเห็นแกะไม่กี่ตัวแล้ว สรุปว่าแกะทั้งหมดเป็นสีขาว ตลาดหุ้นนั้นเป็นอะไรที่ถ้าคุณต้องการจะรู้จัก ตัวตนที่แท้จริงของมัน อาจต้องใช้เวลาอยู่กับมันมากกว่าค่อนชีวิตของคุณเลยทีเดียว ถ้าคุณเข้าตลาด หุ้นมาแค่สองสามปีแล้วพบว่ามันให้ผลตอบแทนที่ดีมากมาตลอดก็อย่าเพิ่งรีบด่วน สรุปว่าตลาดหุ้นคือพี่ใหญ่ใจดี ผู้จัดการที่คุณเห็นว่าเป็นคนสุภาพเรียบร้อย สองสามวันพอถึงคืนเดือนมืดก็ยัง "เปลี๋ยนไป๋" เป็นมนุษย์หมาป่าที่ดุร้ายแบบหน้ามือเป็นหลังมือได้เฉยเลย 
เช่น นี้จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่บางครั้งคุณได้ฟังหลักการลงทุนของคนที่อยู่ในตลาด มานานถึง 60 ปี อย่างเช่น วอเรน บัฟเฟต แล้วคุณจะรู้สึกว่าหลักการแบบนั้นไม่น่าจะเวิร์ค เพราะคนที่อยู่ในตลาดหุ้นมานานไม่เท่ากัน ย่อมมีรู้จักตลาดหุ้นไม่เหมือนกัน ทำให้มีความเห็นต่างกันได้ โดยส่วนตัวแล้ว ผมพยายามฟังคำแนะนำของ วอเรน บัฟเฟต แม้ว่าบางอันผมจะรู้สึกว่ามันขัดกับประสบการณ์ส่วนตัวของผม เพราะผมเชื่อว่า ยังไงเสีย คนที่อยู่ในตลาดหุ้นมานานมากขนาดนั้นน่าจะมีมุมมองเกี่ยวกับตลาดหุ้นที่ใกล้ เคียงกับความเป็นจริงมากกว่าผมอย่างแน่นอน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘