0041: Overconfidence

ในการสำรวจความเห็นของกลุ่มตัวอย่างโดย Ola Svenson ในปี 1981 พบว่า มีผู้ที่มีใบขับขี่สูงถึง 80% ที่เชื่อว่าตนเองขับรถได้ดีอยู่ในกลุ่ม 30% แรกของผู้ที่ขับรถทั้งหมดบนท้องถนน ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ การทดลองนี้ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมั่นใจในความสามารถของตนเองสูงกว่าความเป็นจริง หรือที่เรียกว่า ภาวะ Overconfidence ซึ่งเป็นความลำเอียงอย่างหนึ่งของมนุษย์
ผม ไม่มีตัวเลขว่า มีนักลงทุนกี่เปอร์เซนต์ที่เชื่อว่า ตัวเองสามารถทำผลตอบแทนได้สูงกว่านักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาด แต่ผมเชื่อว่าตัวเลขจะสูงกว่าในกรณีของการขับรถมาก เพราะการขับรถนั้นเป็นความจำเป็นสำหรับหลายๆ คน ดังนั้น แม้คนบางคนจะเชื่อว่า ตัวเองขับรถแย่ แต่เขาก็ยังต้องขับรถต่อไปเพราะจำเป็นต้องขับ แต่การลงทุนในตลาดหุ้นนั้นไม่ใช่สิ่งจำเป็นของชีวิต ดังนั้นคนที่เชื่อว่าตัวเองเล่นหุ้นสู้คนส่วนใหญ่ไม่ได้จะเลือกที่จะไม่เข้า มาเล่นหุ้นเองโดยอัตโนมัติ ดังนั้นในตลาดหุ้นจึงเหลือแต่คนที่เชื่อว่าตนเองเอาชนะคนส่วนใหญ่ในตลาดได้ เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้ามีการสำรวจออกมา ตัวเลขน่าจะสูงกว่าในกรณีของการขับรถมาก ซึ่งในความเป็นจริง เป็นไปไม่ได้ที่คนส่วนใหญ่จะเล่นหุ้นเก่งกว่าคนส่วนใหญ่ในตลาด 
ภาวะ Overconfidence เป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งของการลงทุนเพราะทำให้นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะชอบลงทุน แบบเสี่ยงๆ เพราะมีความเชื่อว่าตนเองมีความสามารถมากกว่านักลงทุนทั่วไปจึงเลือกเล่น หุ้นด้วยวิธีที่เสี่ยงสูงเพื่อรับผลตอบแทนมากๆ ส่วนใหญ่แล้วคนที่มีความลำเอียงชนิดนี้มากๆ จะอยากเล่นหุ้นปั่นเพราะคิดว่า ตนเองสามารถออกได้เร็วกว่าเจ้ามือที่มีทั้งข้อมูลและเม็ดเงินที่มากกว่า หลายคนมีพฤติกรรมเทรดหุ้นตัวเดียวด้วยเงินทั้งหมดที่มีอยู่เพราะความประมาท
ภาวะ Overconfidence ช่วยอธิบายว่าทำไมการเก็งกำไรแบบ Buy Low, Sell High ไปเรื่อยๆ จึงทำกำไรได้ไม่ง่ายเหมือนที่คิด เพราะเมื่อมีคนจำนวนมากที่เชื่อว่า ตนเองสามารถรู้ได้ว่าหุ้นจะขึ้นไปสูงสุดแค่ไหนและลงไปต่ำสุดที่เท่าไรในขณะ ที่คนอื่นไม่รู้เท่าเรา จึงมีคนจำนวนมากที่พยายามเก็งกำไรด้วยวิธีเดียวกันนี้อยู่ แต่ตลาดหุ้นไม่ สามารถทำให้ทุกคนในตลาดสมหวังได้ เพราะเป็นไปไม่ได้ที่คนส่วนใหญ่จะทำผลตอบ แทนได้มากกว่าคนส่วนใหญ่ จะต้องมีอย่างน้อยครึ่งหนึ่งที่ทำผลงานได้น้อยกว่าคนอื่นเสมอไม่ว่าทุกคนจะ เก่งแค่ไหน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘