0039: กลัวขาดทุน

มนุษย์มีจุดอ่อนอยู่อย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ นั่นคือ ความกลัวขาดทุน (loss aversion) จุดอ่อนนี้ส่งผลให้การตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องการลงทุนของมนุษย์ผิดพลาดไปหมดและทำให้ผลตอบแทนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น
ความ กลัวขาดทุน หมายถึง การที่คนเรารู้สึกขยาดกับการขาดทุนมากเสียจน ยินดีสละโอกาสในได้รับผลตอบแทนมากเกินไปเพียงเพื่อแลกกับการเลี่ยงที่จะไม่ ต้องขาดทุน จากการทดลองพบว่า ในการพนันแบบทอยเหรียญ ถ้าทายผิดแล้วต้องเสียเงิน 100 บาท คนส่วนใหญ่มักต้องการรางวัลอย่างน้อย 200 บาทในกรณีที่ทายถูกจึงจะรู้สึกว่า การทอยเหรียญนั้นเป็นการพนันที่น่าสนใจ ทั้งที่จริงๆ แล้ว แค่ได้รางวัลแค่ 101 บาท ก็ถือได้ว่าเป็นการพนันที่ดีเลิศจนหาที่ไหนไม่ได้แล้วเพราะมีกำไรคาดหวัง เป็นบวก ในขณะที่การพนันทั้งหลายในโลกนี้มีกำไรคาดหวังติดลบทั้งสิ้น
หลัก ฐานอย่างหนึ่งในตลาดหุ้นที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์กลัวขาดทุนคือการที่ผลตอบ แทนเฉลี่ยในระยะยาวของตลาดทุนสูงกว่าตลาดตราสารหนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งถ้ามนุษย์มีเหตุผลแล้ว ผลตอบแทนเฉลี่ยในระยะยาวของทั้งสองตลาดควรมีค่าใกล้เคียงกันมาก แต่เพราะตลาดทุนมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนเงินต้นในระยะสั้นๆ ทำให้นักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อชดเชยความรู้สึกเจ็บปวดอันนั้น ตลาดทุนจึงให้ผลตอบแทนสูงกว่าตลาดสารหนี้ในระยะยาว
หลัก ฐานอีกอย่างหนึ่งในตลาดหุ้นที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์กลัวขาดทุนคือมีหลายกรณี ที่ หุ้นที่มีข่าวดีอย่างมากเข้ามากระทบ แต่หุ้นมักวิ่งขึ้นอย่างช้าๆ บางทีก็ต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะขึ้นจนสะท้อนข่าวนั้นเสร็จ ในขณะที่หุ้นที่มีข่าวร้ายมากกระทบ ราคามักจะตอบสนองอย่างรวดเร็วมากกว่า นี่แสดงให้เห็นว่า นักลงทุนลำเอียงต่อข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี ถ้าเป็นข่าวดี นักลงทุนจะไม่ค่อยกล้าซื้อ เพราะไม่มั่นใจว่าดีแน่หรือเปล่า แต่ถ้าเป็นข่าวร้ายจะเชื่อทันทีว่าร้ายแล้วรีบขายทิ้งเพื่อหนีขาดทุน พวกนัก เก็งกำไรแบบโมเมนตัมก็อาศัยหลักการอันนี้ในการทำกำไร พวกเขากล้ากระโจนเข้าไปในหุ้นตัวที่ขึ้นไปแล้วหลังข่าวดีเพราะอาศัยความจริง ที่ว่าแรงเฉื่อยยังพอมีอยู่เสมอหลังข่าวดี ทำให้โอกาสได้กำไรยังมีอยู่ (แต่ต้องรีบออกให้ทันก่อนโมเมนตัมหมดด้วย)
นัก ลงทุนอีกพวกหนึ่งก็หาประโยชน์จากความกลัวขาดทุนของตลาดด้วยวิธีเข้าไปเก็บ หุ้นที่ทำ new low ติดต่อกันนานๆ (หนึ่งปีขึ้นไป) แล้วยอมถือทิ้งไว้จนกว่าหุ้นเหล่านั้นจะกลับตัวอีกครั้ง เพราะหุ้นที่ทำ new low ติดต่อกันนานๆ จะสร้างความเจ็บปวดอย่างแสนสาหัสให้กับคนที่ถือหุ้นนั้นอยู่ จนทำให้ราคาหุ้นมักต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น ทำให้หุ้นมีราคาถูก เคล็ดลับในการเล่นหุ้นวิธีนี้ให้ประสบความสำเร็จก็คือ ต้องรอให้ new low ติดต่อกันนานๆ (หนี่งปีขึ้นไป) แล้วค่อยเข้าไปเก็บ ไม่ใช่ทำ new low แค่ 1-2 เดือนก็เก็บแล้ว เพราะหุ้นที่ร่วงแค่ 1-2 เดือนนั้น ยังมี contrarian (aka ชาวสวน) อีกจำนวนมากในตลาดที่ยินดีเข้าไปช้อน ทำให้หุ้นอาจจะยังไม่ถูกจริงก็ได้ แต่สำหรับหุ้นที่ new low ติดต่อกันเป็นปีๆ แม้แต่พวก contrarian ส่วนใหญ่ก็ยังทนเจ็บปวดกับการขาดทุนนานขนาดนั้นไม่ไหว แบบนี้ถ้าค่อยเข้าไปเก็บแล้วอดทนถือไว้นานๆ ก็มีโอกาสเป็นกลยุทธ์ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี 
ความ ไม่มีเหตุผลของมนุษย์ยังมีอีกหลายเรื่องซึ่งล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ตลาดไร้ ประสิทธิภาพ คนที่รู้เท่าทันความไม่มีเหตุผลเหล่านี้ของมนุษย์จะสามารถหากำไรพิเศษจาก ตลาดหุ้นได้ เอาไว้วันหลังผมจะเอาความไม่มีเหตุผลแบบอื่นๆ มาเล่าสู่กันฟังอีกครับ
หมายเหตู : มีคำศัพท์ทางด้านการลงทุนอีกคำหนึ่งที่คล้ายๆ กันกับคำว่า loss aversion คือคำว่า risk aversion แต่ความหมายนั้นแตกต่างกัน  risk aversion เป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักลงทุนที่มีเหตุผล แต่ loss aversion เป็นพฤติกรรมที่ไร้เหตุผลของมนุษย์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘