0035 : หุ้นฝ่าวิกฤต

ปี 2537 หุ้นไทยเคยขึ้นไปถึง 1753.73 กว่าจุดก่อนลดค่าเงินบาทหลังจากนั้นก็ดิ่งลงมาอย่างหนักจนเหลือต่ำสุดแค่ 207 จุดในปี 2541 ก่อนจะค่อยๆ เริ่มฟื้นตัวขึ้นจนปัจจุบันปี 2550 หุ้นไทยอยู่ที่ 800 จุด ถือว่ายังไม่ได้ครึ่งหนึ่งของยอดเขาเดิมเมื่อ 13 ปีที่แล้วเลย
ผมสงสัยว่าแล้วหุ้นแต่ละตัวล่ะเป็นอย่างไรกันแล้วบ้าง พวกมันกลับมาได้แค่ไหนแล้ว ก็เลยลองไปค้นข้อมูลดู ข้อมูลที่ผมไปค้นมาคือ มูลค่าตลาด (Market Capitalization) ของบริษัทชั้นนำของไทยเมื่อสิ้นปี 2538 ซึ่งตอนนั้นดัชนีหุ้นไทยอยู่ที่ประมาณ 1200 กว่าจุด (กำลังดอยทีเดียว) เปรียบเทียบกับมูลค่าตลาดในปัจจุบัน ที่จริงอยากได้ข้อมูลเปรียบเทียบของปี 2537 มากกว่าแต่หาไม่ได้ อย่างไรก็ตามตัวเลขที่พบค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว 
/images/emoticons/mozilla_yell.gifหน่วย: ล้านบาท) 
มูลค่าตลาด               ปี 2538 -----> ปี 2550
SCC                160320----->268800 
KBANK            137600----->191056
PTTEP               81840----->458341
LH                    58505----->62446
ADVANC          104364----->252911
THAI                60900------>62009
BEC                  49200----->47600
OHTL                 1872----->8064
มูลค่า ตลาดของบริษัทเหล่านี้กลับมาสูงกว่าเดิมหมดแล้ว (ยกเว้น BEC ตัวเดียวที่ยังต่ำกว่าเดิมเล็กน้อย) หลายตัวสูงกว่ามากกว่าหนึ่งเท่าตัว!
มูลค่าตลาดคือ ราคาหุ้น x จำนวนหุ้นทั้งหมดที่จำหน่ายได้แล้ว ดังนั้น มูลค่าตลาดของบริษัทคือตัวเลขที่บอกว่าตลาดเชื่อว่าบริษัททั้งบริษัทมีมูลค่าเท่าไรนั่นเอง การที่มูลค่าตลาดของบริษัทเหล่านี้สูงกว่าเดิมแสดงว่า ทุกวันนี้บริษัทเหล่านี้ล้วนมีมูลค่าสูงกว่าเมื่อ 12 ปีที่แล้วทั้งนั้น! ทั้งที่พวกมันโดนเทขายอย่างหนักเมื่อตอนวิกฤตตลาดหุ้นปี 2541
ผมคิดว่าเหตุผลที่ทำให้บริษัทเหล่านี้กลับมามีมูลค่าสูงกว่ายอดดอยเดิมได้เป็นเพราะ
1. บริษัทเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็น "บริษัทสามัญประจำบ้าน" ของประเทศไทยไปแล้ว ไม่มีคนไทยคนไหนไม่รู้จัก ดังนั้นถ้าคนไทยยังต้องมีบ้านอยู่ ยังต้องใช้โทรศัพท์สื่อสารกัน ยังต้องฝากเงินไว้ที่ธนาคาร ยังต้องใช้ไฟฟ้า ยังต้องกินข้าว ยังต้องหายใจ ต่อให้เจอวิกฤตสักกี่ครั้ง สุดท้ายแล้วบริษัทเหล่านี้จะกลับมาได้เสมอ เพราะธุรกิจของบริษัทเหล่านี้ต้องมีอยู่ตราบเท่าที่คนไทยยังต้องกินต้องใช้ 
2. บริษัท ต้องอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงช้าด้วย ถ้าบริษัทเป็นชื่อสามัญ ประจำบ้านก็จริงแต่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ฉาบฉวย บริษัทก็อาจอยู่ไม่ได้อยู่ดี เพราะอุตสาหกรรมสูญพันธ์ไปก่อนทั้งอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมที่โบราณอย่าง ปูน เหล็ก น้ำมัน พวกนี้กี่ปีกี่ปีก็ยังแทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง พวกมันจึงกลับมาได้เสมอ แต่ถ้าเป็นพวกอุตสาหกรรมแฟชั่น ไฮเทค บันเทิง พวกนี้ตลาดเปลี่ยนแปลงเร็ว ธุรกิจต้องปรับตัวตามตลาดเวลา มีผู้นำตลาดรายใหม่มากแทนทีรายเก่าได้บ่อยๆ แบบนี้บริษัทก็มีโอกาสสูงที่จะกลับมาไม่ได้ในระยะยาว    
3. เงินเฟ้ออาจทำร้ายมูลค่าของหุ้นในระยะสั้นแต่ในระยะยาวแล้วเงินเฟ้อช่วยทำ ให้หุ้นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเพราะหุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่ต่อสู้กับเงินเฟ้อได้ดี ที่สุดในระยะยาว เพราะต่อให้บริษัทยังขายสินค้าได้จำนวนชิ้นเท่าเดิม (จำนวนลูกค้าไม่เพิ่มขึ้น) แต่ราคาข้าวของที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเงินเฟ้อทำให้กำไรที่บริษัทได้รับเป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นได้อย่างน้อยเท่า กับเงินเฟ้อ ราคาหุ้นจึงมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามอัตราเงินเฟ้อ และการถือหุ้นไว้นานๆ จึงช่วยปกป้องนักลงทุนจากภาวะเงินเฟ้อ
หุ้น สามัญประจำบ้านเหล่านี้ต่อให้โดนวิกฤตสักกี่รอบ ในที่สุดพวกมันจะกลับมาสูงกว่าเดิมได้เสมอ ตราบใดที่ยังมีประเทศไทยอยู่ ในช่วงที่เกิดวิกฤตนั้น หุ้นเหล่านี้มีราคาร่วงลงอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกำไรของบริษัทเหล่านี้ลดลงมากเนื่องจากผลของวิกฤตและอีก ส่วนหนึ่งก็ถูกซ้ำเติมด้วยแรงเทขายของนักลงทุนเพราะนักลงทุนมองผลตอบแทนข้าง หน้าในระยะสั้นๆ ความกลัวว่าราคากำลังจะลดลงไปอีกทำให้ราคาลดลงได้มากกว่า ปัจจัยพื้นฐานที่แย่ลง อย่าง LH นั้นก่อนที่จะกลับมาสูงกว่าเดิม เคยลดลงไปมากกว่า 10 เท่าเลยทีเดียว แต่ถ้าเรามองเห็นว่าพวกมันจะกลับมาได้ในที่สุด ราคาที่ร่วงลงไปได้ขนาดนั้น นับว่าไร้เหตุผลมากทีเดียว   
อย่างไรก็ตาม แม้มูลค่าตลาดของบริษัทสามัญประจำบ้านเหล่านี้จะกลับมาได้เสมอ แต่นักลงทุนที่ถือหุ้นเหล่านี้ไว้ก็อาจกลับมาไม่ได้เท่าเดิมก็ได้ถ้าในช่วง ที่เกิดวิกฤต มี Dilution Effect เกิดขึ้น เช่น มีการลดทุนมหาศาล มีการแปลงหนี้เป็นทุนให้เจ้าหนี้ หรือมีผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามาซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเสริมสภาพคล่อง ส่วน ใหญ่แล้วเกิดกับบริษัทที่มีหนี้มากๆ บริษัทที่มีหนี้มากๆ บางส่วนแม้เพิ่มทุนก็ยังเอาตัวไม่รอดทำให้ล้มละลายไปในช่วงที่เกิดวิกฤต นี่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่อธิบายว่า ทำไมหุ้นสามัญประจำบ้านเหล่านี้กลับมาได้หมดแล้วแต่ดัชนีหุ้นไทยยังต่ำกว่า จุดเดิมมากเพราะมีบริษัทเล็กๆ ที่มีฐานะการเงินที่ไม่แข็งแรงจำนวนมากล้มหายตายจากไปในช่วงที่มีวิกฤต ดัง นั้นการมีหนี้น้อยก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกอันหนึ่งหุ้น ที่ฝ่าวิกฤตได้ D/E ratio นั้นอาจไม่มีผลอะไรเลยต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วงสั้น แต่วันใดที่ธุรกิจถูกกระแทกด้วยเรื่องที่ไม่คาดฝัน การมีหนี้มากหรือน้อย นั้นจะตัดสินความเป็นความตายของบริษัทได้เลย ดังนั้นบริษัทที่ปลอดภัยในระยะยาวไม่ควรอาศัยหนี้มากๆ ในการดำเนินธุรกิจ
สรุปแล้ว ถ้า คุณอยากสร้างพอร์ตการลงทุนที่ทนต่อวิกฤตได้เป็นสำคัญ จงเลือกบริษัทที่เป็นชื่อสามัญประจำบ้าน อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงช้าๆ และมี Strong balance sheet ในช่วงสั้นๆ คุณสมบัติเหล่านี้อาจไม่มีความสำคัญต่อราคาหุ้นในช่วงสั้นแต่มันสำคัญมากถ้ามีวิกฤตรออยู่ข้างหน้า 
ส่วน ที่เขาพูดกันว่า การลงทุนระยะยาวอันตรายเพราะอาจมีวิกฤต ถ้าจะเล่นหุ้นให้ปลอดภัยต้องเล่นสั้นๆ เท่านั้น ผมไม่ค่อยเชื่อเท่าไร เพราะสมัยที่ตลาดหุ้นยังเป็นฟองสบู่อยู่นั้น นักลงทุน 99.99% เล่นสั้นๆ กันทุกคน แต่ก็ไม่เห็นพวกเขาจะรอดพ้นจากวิกฤตเลย  
ป.ล.: ที่ผมเขียนเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าผมคิดว่ากำลังจะมีวิกฤตนะครับ เพราะผมคิดว่าไม่มีครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘