0031: tHeGreeNBaCk

ตั้งแต่ปีค.ศ. 1973 เป็นต้นมา เงินดอลล่าร์ก้าวขึ้นมาทำหน้าที่แทนทองคำหลายอย่าง เงินทุกสกุลอ้างอิงราคา เทียบกับดอลล่าร์ สินค้าโภคภัณฑ์ทั้งหลายก็อ้างอิงราคาเทียบกับดอลล่าร์ ธนาคารกลางของทุกประเทศทั่วโลกก็หันมาเก็บเงินทุนสำรองเป็นเงินดอลล่าร์ มากกว่าทองคำ บทบาทใหม่ของดอลล่าร์ทำให้ความต้องการถือครองเงินดอลล่าร์ เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ไม่ได้มีไว้ซื้อสินค้าที่มาจากสหรัฐอย่างเดียว
เพื่อ ให้เงินดอลล่าร์ในตลาดมีปริมาณมากพอต่อความต้องการ สหรัฐสามารถทำให้เงินดอลล่าร์เพิ่มขึ้นเท่าไรก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องมี สินทรัพย์ใดๆ หนุนหลัง สหรัฐใช้คำว่า ดอลล่าร์หนุนหลังด้วยความน่าเชื่อถือของรัฐบาลสหรัฐฯ (backed by the full faith of the U.S. government) ประเทศที่จะทำเช่นนี้ได้จะต้องเป็นประเทศที่ทั่วโลกเชื่อถือมากๆ เท่านั้น คำว่าเชื่อถือในที่นี้หมายถึง เชื่อถือว่าสหรัฐจะไม่ปล่อยให้เงินดอลล่าร์เสื่อมค่าลง ที่ผ่านมา สหรัฐฯ จึงใช้นโยบาย "ดอลล่าร์แข็ง" มาโดยตลอด ซึ่งทำได้ด้วยการคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับต่ำตลอดเวลาผ่านทางนโยบายอัตรา ดอกเบี้ยและพยายามรักษาความสามารถในการแข่งขันของสินค้าสหรัฐฯ ให้อยู่ใน ระดับสูงเพื่อไม่ให้ขาดดุลการค้ามากเกินไป
นโยบาย ดอลล่าร์แข็งค่อนข้างได้ผลดี ทั่วโลกเกิดความเชื่อถือในเงินดอลล่าร์ ธนาคารกลาง พ่อค้าน้ำมัน นักการเมือง และเศรษฐีทั่วโลก หันมาเก็บสะสมความมั่งคั่งส่วนใหญ่ของตนไว้ในรูปของสินทรัพย์สกุลดอลล่าร์ มากกว่าทองคำ เพราะทองคำเก็บแล้วไม่ได้ดอกเบี้ย ตลอด 30 ปีที่ผ่านมาจึงมีเงินทุนจำนวนมหาศาลไหลเข้าสหรัฐฯ เพื่อมาซื้อสินทรัพย์สกุลเงินดอลล่าร์ไปเก็บไว้ เงินทุนที่ไหลเข้าตลอดเวลา ช่วยทำให้เงินดอลล่าร์แข็งขึ้นอีกทางหนึ่ง
อย่าง ไรก็ตาม นโยบายดอลล่าร์แข็งก็มีผลข้างเคียงด้วยคือทำให้อำนาจซื้อของผู้บริโภคสหรัฐ สูงเกินความเป็นจริง อำนาจซื้อของคนอเมริกันช่วยสร้างอุปสงค์ให้เกิดขึ้นใน ตลาดโลกและกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจโลกเอาไว้ให้เติบโต ประเทศในเอเชียเริ่มหันมาพึ่งการส่งออกไปสหรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายใน ประเทศของตัวเอง ยิ่งส่งออกได้มาก ก็ยิ่งติดใจ ดอลล่าร์แข็งอยู่แล้วไม่พอ ประเทศเหล่านี้ยังช่วยกันกดค่าเงินของตัวเองให้ต่ำลงเพื่อให้ส่งออกได้มาก ขึ้นไปอีก เมื่อใดก็ตามที่ค่าเงินของประเทศเหล่านี้แข็งขึ้นเพราะส่งออกได้ มาก ธนาคารกลางของประเทศเหล่านี้ก็จะรีบขายเงินตัวเองแล้วซื้อพันธบัตรสกุล ดอลล่าร์มาเก็บไว้เพื่อทำให้เงินของตัวเองอ่อน การทำเช่นนี้ก็เหมือนกับปล่อยกู้ให้สหรัฐฯ เอาเงินมาซื้อสินค้าของตัวเอง วงจรอัฐยายซื้อขนมยายจึงเกิดขึ้น คนอเมริกัน กลายเป็นนักบริโภคนิยม และสหรัฐก็เป็นหนี้มากขึ้นเรื่อยๆ   
วงจร นี้เริ่มมีปัญหาขึ้นเมื่อการขาดดุลการค้าของสหรัฐเริ่มอยู่ในระดับที่สูงจน น่าตกใจเพราะสูงถึง 7-8% ของจีดีพี สัญญาณอันนี้ทำให้นักลงทุนเริ่มไม่เชื่อมั่นในเงินดอลล่าร์ ซึ่งนับว่าเป็น เรื่องที่อันตรายเพราะเงินดอลล่าร์อยู่ได้ด้วยความเชื่อถือล้วนๆ และสหรัฐฯ ก็มีหนี้ต่างประเทศมากมายมหาศาล ดังนั้น สหรัฐฯ จึงพยายามแก้ปัญหาการขาดดุลการค้านี้อย่างจริงจังด้วยการส่งสัญญาณว่าจะ ปล่อยให้ดอลล่าร์อ่อนเพื่อจัดการกับปัญหาดุลการค้า นี่เองที่เป็นการลั่นไกให้เกิดการไหลออกของเงินทุนจำนวนมหาศาลจากสหรัฐฯ เพื่อหนีเงินดอลล่าร์อ่อน เงินทุนนี้มีจำนวนมหาศาลเพราะเป็นเงินที่บรรดานัก ลงทุนและเศรษฐีทั้งหลายทั่วโลกสะสมไว้ในสหรัฐมากว่า 30 ปี พวกเขาต้องรีบนำมันออกมาก่อนที่พวกมันจะด้อยค่าลง  
เงิน ดอลล่าร์จะอ่อนไปถึงไหนนั้นคงไม่มีใครทำนายได้แต่เงินดอลล่าร์ที่อ่อนลงใน ช่วงที่ผ่านมายังไม่ได้ทำให้ดุลการค้าของสหรัฐดีขึ้นเลย ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการที่ประเทศในเอเชียไม่ยอมปล่อยให้ดอลล่าร์อ่อน จึงพยายามพยุงอัตราแลกเปลี่ยนของตนกับดอลล่าร์ไว้เพราะกลัวจะกระทบการส่งออก ดุลการค้าของสหรัฐจึงไม่ดีขึ้นสักที นักลงทุนก็ยิ่งย้ายเงินเข้ามายังภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ธนาคารกลางในเอเชียก็กลัวเงินตัวเองจะแข่งก็รีบเข้าไปอุ้มดอลล่าร์เอาไว้ ดุลการค้าของสหรัฐก็เลยไม่ดีขึ้น เป็นวงเวียนเช่นนี้เรื่อยไปไม่จบสิ้น
เรื่องยุ่งๆ นี้จะจบยังไง ผมเองคงไม่มีความสามารถพอที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ท่านนักลงทุนทั้งหลายคงต้องติดตามชมตอนจบกันเอาเองครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘