0028: เมกา

ถ้าไม่นับเครื่องบินรบแล้ว สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำอย่างแท้จริงใน 3 อุตสาหกรรม คือ ซอฟต์แวร์ ไบโอเทค และภาพยนตร์
คุณว่าอะไรทำให้สหรัฐฯ ยิ่งใหญ่ใน 3 อุตสาหกรรมนี้?
ถ้า จะบอกว่าเป็นเพราะโปรแกรมเมอร์ของสหรัฐฯ เขียนโปรแกรมได้เก่ง ก็คงจะไม่ใช่ ทุกวันนี้โปรแกรมเมอร์ในบริษัทซอฟต์แวร์ของสหรัฐฯ เต็มไปด้วยคนอินเดีย ในอุตสาหกรรมไบโอเทคก็เช่นเดียวกัน บริษัทไบโอเทคของสหรัฐฯ นำเข้านักวิทยาศาสตร์จากเอเชียเป็นจำนวนมาก
อุตสาหกรรมทั้ง 3 อุตสาหกรรมนี้ไม่ค่อยจะเหมือนกันเท่าไร แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่เหมือนกันมากก็คือ ทั้ง 3 อุตสาหกรรมนี้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงทางธุรกิจสูงมาก
ธุรกิจ ไบโอเทคต้องใช้เงิน 500 ล้านเหรียญฯ ในการพิสูจน์ให้รัฐบาลเห็นว่ายาตัวหนึ่งปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริง ซึ่งยาแต่ละตัวมีโอกาสที่จะผ่านด่านอรหันต์ของ FDA ได้น้อยมากๆ กว่าจะรู้ว่ายาไม่ผ่านก็ต้องใช้เวลาประมาณ 7 ปี เมื่อไม่ผ่านก็จะไม่สามารถขายได้ ทำให้บริษัทผู้วิจัยยานั้นขาดทุนทันที 500 ล้านเหรียญฯ โดยไม่ได้อะไรกลับมาเลย การผลิตซอฟต์แวร์ก็เช่นเดียวกัน ต้องเริ่มต้นด้วยการจ้างโปรแกรมเมอร์ชั้นดีมาทำ R&D เป็นเวลานานกว่าจะคลอดซอฟต์แวร์เวอร์ชั่นแรกออกมาได้ แต่ซอฟต์แวร์ที่จะประสบความสำเร็จทางการตลาดนั้นมีน้อยมาก เพราะอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์มีลักษณะ winner take all กล่าวคือ สุดท้ายแล้วจะมีแค่ซอฟต์แวร์ยี่ห้อที่มีคนใช้มากที่สุดยี่ห้อเดียวเท่านั้น ที่อยู่รอด ธุรกิจภาพยนตร์ก็เช่นเดียวกัน โอกาสที่หนังเรื่องหนึ่งจะประสบความสำเร็จนั้นไม่แน่นอน และหนังส่วนใหญ่ก็มักจะขาดทุน
ธุรกิจทั้ง 3 ประเภทนี้ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์ได้เลย เพราะความเสี่ยงของธุรกิจอยู่ในระดับที่สูงมากเกินกว่าที่ผลตอบแทนในรูป ของดอกเบี้ยแค่ MLR+ ไม่เพียงพอที่จะชดเชยความเสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์จะไม่ได้รับชำระเงินต้นคืน ได้เลย มิหน่ำซ้ำ ธุรกิจเหล่านี้ยังใช้เงินไปกับเงินเดือนบุคลากรเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไม่มีสินทรัพย์ในการประกอบการเช่น ที่ดิน หรือ โรงงาน เมื่อไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกัน การที่จะอนุมัติวงเงินกู้ก็เป็นไปได้ยาก ธุรกิจทั้ง 3 อย่างนี้จึงต้องพึ่งพาแหล่งเงินในรูปของทุนหรือ Equity เท่านั้น
เคล็ดลับที่ทำให้สหรัฐอเมริกาสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำของโลกใน 3 อุตสาหกรรมนี้ได้ก็เพียงแค่เพราะ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีตลาดทุนที่ดีที่สุดที่สุดในโลก ธุรกิจทั้งหลายจึงสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ทุกรูปแบบและทุกระดับความ เสี่ยงทั้ง ตลาดหุ้น, Venture Capital, Private Equity, Business Angel, Briding finance, LBO, REIT, Derivatives, commodity futures, Asset-Backed Securities, CDO, Securitization, SPV, Hedge Funds, Mutual Funds etc.
ศักยภาพ ของคนไทยกับคนอเมริกันที่จริงแล้วก็ไม่ได้ต่างกัน คนแบบสตีเวน สปิลเบิร์ก ที่เมืองไทยเราก็มี เพียงแต่ สปิลเบิร์กที่อเมริกา 100 คนที่มีไอเดียดีๆ อาจสามารถระดมทุนได้สำเร็จ 10-20 คน ในขณะที่ สปิลเบิร์กที่เมืองไทย 100 คน ไม่มีใครสามารถระดมทุนได้สำเร็จเลยสักคนเดียว ในกรณีของสตีป จอปส์ บิลเกตต์ ก็เช่นเดียวกัน ซิลิคอนแวลเล่ย์ก็สร้างได้ด้วยอาศัยทุนของพวกนักลงทุนที่เรียกว่า Venture Capital หรือผลงานวิจัยเกี่ยวกับไบโอเทคก็เช่นเดียวกัน ข้อได้เปรียบนี้ถ้าเป็นแค่ 1-2 กรณีก็คงจะไม่มีผลอะไร แต่ความได้เปรียบเรื่องทุนติดต่อกัน 50 ปีทำให้ธุรกิจเหล่านี้ในสหรัฐฯ สามารถผงาดขึ้นมาเป็นผู้นำของโลกได้ในที่สุด ส่วนประเทศไทยนั้น ตลอด50 ปีที่ผ่านมา เราพึ่งพาธนาคารพาณิชย์เป็นแหล่งเงินทุนหลักแหล่งเดียว ดังนั้น โอกาสที่ไทยจะประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงๆ เหล่านี้จึงแทบไม่มีเลย ประเทศที่อาศัยธนาคารเป็นแหล่งระดมทุนหลักจะแข่งขันได้แต่ธุรกิจเปิดโรงงานผลิตสินค้าเท่านั้น
มา ช่วยกันพัฒนาตลาดทุนของเราเถิดครับ เลิกคิดกันได้แล้วว่าตลาดทุนไม่สำคัญเพราะไม่ใช่ Real Sector ความคิดเช่นนี้ทำให้หลายอุตสาหกรรมพัฒนาไม่ได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘