0024: ตลาดหุ้นบ้านเรา

ถ้า จะเอาแนวคิดเรื่อง Smart Money มาใช้มองตลาดหุ้นบ้านเรา นักลงทุนกลุ่มที่เป็นพวก SM คงหนีไม่พ้นนักลงทุนต่างประเทศ นักลงทุนต่างประเทศนั้นมีหลายแบบ แบบที่ลงทุนระยะยาวนั้นมีอยู่ไม่น้อย แต่พวกที่เป็น SM คือ นักลงทุนต่างประเทศที่เทรดหุ้นในระยะสั้นๆ เท่านั้น พวกนี้มีอยู่ไม่น้อยเลยที่เป็นพวก Hedge Fund พวกเขาคือผู้ที่กำหนดทิศทางในตลาดหุ้นไทย
ทุกวันนี้ต้องยอมรับความจริงว่า SET Index จะสร้างทิศทางแบบมีนัยสำคัญได้จะอาศัยเงินทุนต่างประเทศเท่านั้น ลำพังนัก ลงทุนสถาบันกับนักลงทุนรายย่อยเองยังไม่มีพลังมากพอที่จะชี้นำตลาดได้ เวลานักลงทุนต่างประเทศไหลเข้ามาซื้อหุ้นไทยทีก็เหมือนมีเงินตกลงมาจากฟาก ฟ้าทำเอานักลงทุนรายย่อยหน้าบานไปตามๆ กัน แต่เวลาเงินไหลออกทีก็ทำเอาบรรยากาศในห้องค้าอึมครึมไปได้เลย 
ใน ต่างประเทศมีกองทุนประเภท Hedge Fund อยู่เป็นจำนวนมากและ Hedge Fund แบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมก็คือ กองทุน Emerging Market พวกนี้นี่แหละคือพวกที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นแถบเอเชีย พวกนี้ใช้คำว่าตลาดเกิดใหม่เป็นจุดขายเพราะให้ความรู้สึกว่ามีความเสี่ยงสูง (ในความคิดของคนอเมริกันต่อให้เป็นหุ้นบูลชิพแต่ถ้าเป็นตะวันออกไกลก็ถือว่า เสี่ยงสูง) จึงน่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงมากได้ (high risk high return) เมื่อโฆษณาไปอย่างนั้นก็ต้องพยายามทำผลตอบแทนในระยะสั้นให้ได้สูงๆ พวกนี้ จึงต้องลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียแบบระยะสั้นไปโดยปริยาย  
ตลาด หุ้นบ้านเรานั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับเม็ดเงินของกองทุนต่างประเทศ มูลค่าตลาดรวมของหุ้นไทยทั้งตลาดนั้นอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านล้านบาทซึ่งเล็กกว่ามูลค่าตลาดของหุ้นของบริษัทไมโครซอฟต์ตัวเดียวที่มี มูลค่าตลาดประมาณ 9 ล้านล้านบาท ($266 bil.) เสียอีก สภาพคล่องของหุ้นจึงเป็นอุปสรรคที่สำคัญสำหรับนักลงทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในบ้านเรา ดังนั้น แค่ กองทุนต่างชาติเหล่านี้ตัดสินใจเพิ่มหรือลดสัดส่วนการลงทุนในตลาดบ้านเรา เพียงแค่นิดๆ หน่อยๆ ก็ส่งผลกระทบกับ SET Index ได้อย่างมีนัยสำคัญ เพราะหุ้นไทยทั้งตลาดใหญ่ยังเล็กกว่าหุ้นในอเมริกาบางตัว
คุณ อาจสงสัยว่าแล้วพวกนี้สนใจปัจจัยพื้นฐานจริงหรือ เพราะดูเหมือนจะเข้าๆ ออกๆ กันแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยขนาดบ้านเราเศรษฐกิจซบเซาขนาดนี้ก็ยังซื้อเอาซื้อ เอาแล้วอย่างนี้จะเรียกว่าเป็นพวก SM ได้อย่างไร? คำตอบก็คือว่า พวกนี้สนใจปัจจัยพื้นฐานที่ไม่เหมือนกับพวกเรา กล่าวคือพวกเราอาจสนใจจีดีพีหรือข่าวสำคัญของหุ้นเป็นตัวๆ เพราะเราลงทุนอยู่แค่ประเทศไทยที่เดียว ในขณะที่นักลงทุนต่างประเทศจะมองการ ลงทุนเป็นประเทศ พวกเขาจะสนใจว่าในชั่วขณะหนึ่งการพักเงินไว้ในประเทศใดจะ ให้ผลตอบแทนในระยะสั้นที่สูงที่สุด (โดยมากจะใช้การเปรียบเทียบส่วนต่างดอกเบี้ยที่แท้จริงของประเทศต่างๆ เป็นหลัก) เมื่อพบโอกาสที่น่าสนใจก็จะรีบเอาเงินเข้าประเทศนั้นโดยที่ไม่ได้คิดจะรอรับ ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนนั้นจริงๆ พวกเขาเพียงแค่ต้องการให้มีเหตุผลในการลาก หุ้นจะได้มีคนซื้อตามก็พอแล้ว เมื่อราคาเพิ่มสูงขึ้นจนสะท้อน yield ที่ควรจะสูงขึ้นแล้วก็จะเทขายทำกำไรจากส่วนต่างของราคาเลย 
นัก ลงทุนต่างชาติเหล่านี้ลงทุนได้แต่เฉพาะหุ้นตัวใหญ่ๆ เท่านั้น (ไม่งั้นตอนขายทิ้งจะออกไม่ได้ เพราะหุ้นไม่มีสภาพคล่อง) ทุกครั้งที่ต้องการเอาเงินเข้าไทยจึงต้องซื้อหุ้น พลังงานและหุ้นแบงค์ทุกทีไปเพราะหุ้นเหล่านี้เท่านั้นที่มีขนาดใหญ่พอที่พวก เขาจะลงทุนได้ แม้บางครั้งหุ้นพลังงานหรือหุ้นแบงก์อาจจะกำลังมีข่าวไม่ดี พวกเขาก็จำเป็นต้องซื้อเพราะไม่มีทางเลือก เราก็เลยเข้าใจผิดกันคิดว่าพวกนี้ลากหุ้นแบบมั่วๆ ไม่สนใจพื้นฐานแต่ที่จริงแล้วไม่ใช่ 
นอก จากนี้ ตลาดหุ้นบ้านเรายังมีความเชื่อปรำปราอีกอย่างหนึ่งว่า พวกนักลงทุนต่างชาติ มักแอบรวมหัวกันทุบหรือลาก SET Index อยู่เสมอ ที่จริงแล้ว การรวมหัวกันของนักลงทุนจำนวนมากในตลาดหุ้นนั้นเป็นเรื่องที่ไม่มีทางเป็นไป ได้เลยเพราะทุกคนย่อมอยากได้เงินของคนอื่น ทุกคนจึงมี conflict of interest ทำให้ฮั้วกันไม่ได้ ที่จริงแล้ว สาเหตุที่นักลงทุนต่างประเทศมักซื้อหรือขายหุ้นไปในทิศทางเดียวกันบ่อยๆ เป็นเพราะ พวกเขามองเห็นสัญญาญเกี่ยวกับดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และเงินเฟ้อแบบเดียวกัน จึงทำให้ตัดสินใจคล้ายๆ กัน พวกเราต่างหากที่ไม่ได้สนใจข้อมูลเหล่านั้นเพราะมัวแต่ไปสนใจประเด็นอื่นๆ แทน อันที่จริง ใครที่ต้องการหากินด้วยการเล่นรอบเป็นหลัก ผมว่าน่าจะเปลี่ยนมาสนใจเรื่องแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยน อัตราเงินเฟ้อ และส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่างๆ เป็นหลัก เพราะข้อมูลเหล่านี้คือสิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศเหล่านี้สนใจจึงเหมาะที่จะ ใช้คาดการณ์พฤติกรรมของนักลงทุนต่างประเทศ ส่วนประเด็นอื่นๆ นั้น ถ้าไม่ใช่เรื่องที่ร้อนแรงมากๆ ในช่วงนั้น ส่วนใหญ่แล้ว นักลงทุนต่างชาติมักไม่ค่อยได้ให้ความสนใจเหมือนอย่างที่พวก เราให้ความสนใจกัน
ตลาดหุ้นที่มี hedge funds เข้ามาลงทุนมากๆ ความผันผวนจะสูงเนื่อง จาก hedge funds ส่วนมากจะใช้ leveraged สูงๆ (กู้เงินมาลงทุนมากๆ) ถ้าลงทุนแล้วขาดทุนจะต้องรีบ cut loss ทันที มิฉะนั้นอาจถึงขั้นล้มละลายได้ถ้าไม่มีเงินจ่ายหนี้ ดังนั้นในช่วงที่ตลาดผันผวนมากกว่าปกติเนื่องจากมีข่าวร้ายเข้ามากระทบตลาด พวก hedge funds จะต้องขายซ้ำเลยยิ่งทำให้ตลาดผันผวนหนักขึ้นไปอีก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็เมื่อเร็วๆ นี้ที่มีข่าวซับไพรม์ในอเมริกา แต่กลายเป็นว่าตลาดหุ้นเอเชียและตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ผันผวนหนักกว่าตลาดหุ้น สหรัฐฯ เพราะตลาดเหล่านี้เป็นที่อยู่ของพวก hedge funds 
เห็นอย่างนี้แล้วใครที่อยากเป็นนักลงทุนระยะยาวก็อย่าเพิ่งท้อใจ ไว้มาคุยกันต่อว่านักลงทุนระยะยาวควรทำตัวอย่างไรในตลาดหุ้นที่ตกอยู่ในสภาพแบบนี้ จริงหรือที่เขาบอกว่า ถ้าทุกคนในตลาดเป็นนักเก็งกำไรกันหมดแล้วเราจะต้องเป็นนักเก็งกำไรด้วย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘