0019: จะมีวิกฤตมั้ย?

ช่วงนี้มีท่านนักลงทุนถามผมว่าจะมีวิกฤตมั้ย?
เรื่องนี้ผมก็ไม่ทราบคำตอบเหมือนกันครับ แต่ผมขอตั้งข้อสังเกตดังนี้
วิกฤตเศรษฐกิจนั้นไม่ใช่สิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ ผมว่าภาพของวิกฤตปี 2540 ยังคงติดตาคนไทยอยู่ก็เลยทำให้เมื่อเกิดอะไรนิดอะไรหน่อยกับระบบเศรษฐกิจเรา ก็คิดว่าจะเกิดวิกฤตไปหมด ราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นอย่างมากเมื่อปีที่แล้วได้ แสดงให้เห็นในระดับหนึ่งแล้วว่าเศรษฐกิจนั้นสามารถทนแรงกระแทกได้ด้วยตัวของ มันเองมากกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดเอาไว้มาก ในความเห็นของผมนั้น ก่อนปี 2540 คนไทยกลัวกันน้อยเกินไป แต่หลังปี 2540 นั้น คนไทยดูเหมือนจะกลัวกันมากเกินไปหน่อยเท่านั้น
ช่วง นี้การค้าภายในประเทศก็ดูจะซบเซาเอามากๆ ก็เลยเกิดความกลัวกันขึ้นมาอีกว่าเรากำลังจะเกิดวิกฤตหรือไม่ เกี่ยวกับเรื่องนี้ ถ้าคุณมาถามผม เผอิญว่าผมเป็นผู้ที่มีความคิดแบบ Monetarist พวก Monetarist เชื่อว่าเศรษฐกิจขาลงเฉยๆ นั้นจะไม่มีทางกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจได้ วิกฤตเศรษฐกิจทุกครั้งมีสาเหตุมาจากนโยบายการเงินที่ผิดพลาดเท่านั้นกล่าว คือมีการปล่อยให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลงอย่างเฉียบพลัน ซึ่งตอนนี้ไม่มีและดูแล้วในอนาคตก็ไม่น่าจะมี ที่สุดแล้วเศรษฐกิจขาลงจะ ต้องกลับมาเป็นขาขึ้นอีกครั้งเมื่อมันลงจนถึงระดับหนึ่งที่ทำให้อุปทานเริ่ม น้อยกว่าอุปสงค์ วัฏจักรเป็นเรื่องปกติของระบบเศรษฐกิจ วัฏจักรไม่ใช่ปัญหา แต่วัฏจักรคือสิ่งที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจเติบโตแบบยั่งยืนได้ในระยะยาว ส่วนรอบนี้จะลงไปลึกมากแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ารอบที่ผ่านมามันถูกอัดฉีด ให้อุปสงค์ขึ้นไปมากจนเกินตัวไปขนาดไหน แต่รับรองว่าการที่เศรษฐกิจเป็นขาลงนั้นไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤต เศรษฐกิจได้อย่างแน่นอน
คำว่าเศรษฐกิจขาลงนั้นที่จริงก็ยังมีการเติบโตอยู่ เศรษฐกิจ ของประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทยนั้นในภาวะปกติควรมีการเติบโตประมาณร้อยละ 5 ต่อปี แต่ถ้าช่วงไหนเศรษฐกิจเป็นขาลงก็อาจจะเติบโตเหลือเพียงร้อยละ 3-4 ต่อปี เท่านั้น แต่ยังไงเสียก็ยังเป็นการเติบโตอยู่ ไม่เหมือนกับวิกฤตเศรษฐกิจซึ่งเป็นการเติบโตแบบติดลบ
ส่วน เรื่องเงินดอลล่าร์อ่อนนั้น ผมคิดว่าคงทำให้กำลังซื้อของชาวอเมริกันในอนาคตลดลง ซึ่งไทยคงได้รับกระทบบ้างแต่คงไม่ถึงขั้นวิกฤตเพราะแม้ว่าไทยจะเป็นประเทศ ที่พึ่งพาการส่งออกเป็นอย่างมาก แต่ทุกวันนี้ เราส่งออกไปสหรัฐน้อยลงกว่าแต่ก่อนมาก เดี๋ยวนี้เราส่งออกไปอาเซียนและจีนมากกว่า ดังนั้นผลกระทบคงเป็นทางอ้อมมากกว่าทางตรงและการที่เงินไทยแข็งค่าขึ้นก็มี ทั้งข้อดีและข้อเสีย คือแม้ว่าเราจะส่งออกได้น้อยลงแต่เราก็นำเข้าได้ถูกลงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันซึ่งเรานำเข้าปีละมากๆ และน้ำมันก็มีราคาแพง การนำเข้าเครื่องจักรที่ถูกลงยังจูงใจให้เกิดการลงทุนในประเทศมากขึ้นอีก ด้วย ดังนั้นการที่ดอลล่าร์อ่อนลงน่าจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภายในประเทศของเราได้ ด้วยเหมือนกัน
ที่จริงแล้วหากมองไปข้างหน้า ผมกลับคิดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีเสถียรภาพที่ดีพอสมควร แม้จีดีพีจะโตน้อยแต่ก็ยังโตอยู่ เงินเฟ้อน่าจะต่ำ ดอกเบี้ยก็น่าจะต่ำ อัตราการว่างงานอาจจะสูงขึ้นได้บ้างแต่ประเทศไทยมีอัตราการว่างงานที่ต่ำมา โดยตลอดเพราะเราเป็นประเทศที่ขาดแคลนแรงงานจึงไม่น่าจะส่งผลเสียมากนัก การเมืองในอนาคตนั้นแม้ว่าอาจจะมีเสถียรภาพน้อยลงแต่นั้นก็อาจจะไม่ใช่ข้อ เสียก็ได้ รวมๆ แล้ว แม้จะไม่ถึงกับสวยหรูแต่โดยมาตรฐานของผมแล้วถือได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ค่อน ข้างจะโอเคทีเดียว ลงทุนในหุ้นได้ครับ
ยามที่ ความมั่นใจในตลาดหุ้นยังกลับมาไม่เต็มร้อยเป็นช่วงเวลาที่ดีเสมอสำหรับนักลง ทุน คนที่จะขาดทุนในภาวะแบบนี้มักได้แก่คนที่เก็งกำไร ตลาดหุ้นอันตรายเมื่อทุกอย่างดูดีไปเสียหมด เหมือนอย่างที่ เซอร์ จอห์น เทมเปิลตัน กล่าวไว้ว่า "ตลาดกระทิงเริ่มต้นจากการมองโลกในแง่ร้าย เติบโตด้วยความลังเลสงสัย อิ่มตัวเพราะการมองโลกในแง่ดี และจบลงเพราะคำเยินยอ"

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘