0015: A Healthy Growth

ใน ระยะสั้น กิจการอาจมีกำไรเพิ่มขึ้นได้โดยไม่ต้องลงทุน ตัวอย่างเช่น อยู่ดีๆ ความต้องการของตลาดก็เพิ่มขึ้นแบบกระทันหัน ถ้าบริษัทบังเอิญมีกำลังการผลิต ส่วนเกินเหลืออยู่มาก บริษัทก็สามารถขายสินค้ามากขึ้นได้ทันทีไม่ต้องมีการ ลงทุนเพิ่มเพื่อขยายกำลังการผลิตก่อน
แต่การ เพิ่มกำไรในระยะยาวนั้นจำเป็นจะต้องมีการลงทุนด้วยเสมอ เช่น ต้องลงทุนเพิ่ม สินค้าคงคลังมากขึ้นเพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่มากขึ้น ต้องซื้อเครื่องจักรเพิ่มขึ้นเพื่อขยายกำลังการผลิต หรือต้องจ้างพนักงานขายเพิ่มขึ้นเพื่อขยายตลาด เป็นต้น การลงทุนกับการเติบโตในระยะยาวจึงเป็นของคู่กัน 
บริษัท มีแหล่งเงินทุนสำหรับขยายกิจการที่สำคัญอยู่ 3 แหล่ง คือ เงินกู้ เงินเพิ่มทุน และกำไรสะสม แต่โดยมากแล้ว บริษัทมักเลือกเอากำไรสะสมมาลงทุนต่อเป็นอันดับแรกเพราะเป็นวิธีที่ทำได้ ง่ายที่สุด การเพิ่มทุนนั้นยุ่งยากมากที่สุดเพราะต้องขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นซึ่งส่วน ใหญ่แล้วผู้ถือหุ้นไม่ชอบการเพิ่มทุนเพราะจะทำให้กำไรต่อหุ้นลดลง (อย่างน้อยก็ในระยะสั้น)
แต่การนำกำไรสะสมกลับ เข้าไปลงทุนในกิจการมากๆ ย่อมหมายถึงเงินปันผลที่น้อยลงด้วย เพราะเงินปันผลมาจากกำไร ถ้าบริษัทเก็บกำไรไว้ลงทุนต่อมากๆ ก็จะปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้น้อย อย่างไรก็ตาม ถ้ากำไรสะสมนั้นถูกไปใช้ลงทุนในโครงการที่ให้ผลตอบแทนที่ดีก็จะนำมาซึ่งกำไร ที่เพิ่มขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งจะทำให้เงินปันผลในอนาคตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การเก็บกำไรไว้ลงทุนต่อแทนที่จะจ่ายเงินปันผลออกมาจึงเป็นเหมือนการอด เปรี้ยวไว้กินหวาน หุ้นเติบโตมักจ่ายเงินปันผลน้อยเมื่อเทียบกับกำไร เพราะต้องเอาเงินไปขยายกิจการมาก ส่วนหุ้นปันผลมักจ่ายเงินปันผลมากเมื่อเทียบกับกำไร แต่ในขณะเดียวกัน การเติบโตของกำไรในระยะยาวก็จะน้อยตามไปด้วย นักลงทุนบางท่านคิดว่าหุ้นยิ่งปันผลมากเท่าไรก็ยิ่งดี ความคิดนี้ไม่ค่อยจะถูกต้องเท่าไรนัก เพราะถ้าปันผลออกมามากๆ บริษัทก็จะไม่มีเงินทุนไว้สำหรับเติบโตหรือมิฉะนั้นบริษัทก็ต้องหาเงินมาลง ทุนด้วยการกู้เงินมากขึ้นหรือไม่ก็เพิ่มทุนซึ่งอาจเป็นทางเลือกที่แย่กว่าก็ ได้
อย่างไรก็ตามมีวิธีที่จะตรวจสอบด้วยว่าการนำกำไรสะสมของบริษัทไปลงทุนเพิ่มนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ตามสูตรดังนี้
g = RR x ROE
โดยที่                               g หมายถึง อัตราการเติบโตของกำไร
                                    RR หมายถึง สัดส่วนกำไรสะสมต่อกำไรทั้งหมด
                                   ROE หมายถึง อัตราส่วนผลตอบแทนผู้ถือหุ้น

ตัวอย่าง เช่น บริษัทที่มีนโยบายจ่ายปันผล 40% ของกำไรสุทธิ แสดงว่าเก็บกำไรไว้ในบริษัท 60% ของกำไรสุทธิหรือ RR = 60% ถ้าบริษัทมี ROE 20% บริษัทควรทำให้กำไรเติบโตได้ในอัตรา 60%x20% หรือ 12% ต่อปีในระยะยาว (โดยไม่ต้องกู้เงินเพิ่มหรือเพิ่มทุน) เป็นต้น
นัก ลงทุนที่ชอบบริษัทที่จ่ายเงินปันผลต่อกำไรสูงๆ เช่น 80% แสดงว่าเก็บกำไรไว้ในบริษัท 20% ถ้าบริษัทนั้นมี ROE 10% บริษัทก็ควรโตให้ได้อย่างน้อย 2% ต่อปีในระยะยาว แต่ถ้าบริษัทโตได้น้อยกว่านั้นหรือไม่โตเลย แม้จะปันผลออกมามากก็ไม่ถือว่าเป็นบริษัทที่ดี
ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของสูตรนี้ก็คือว่า สมมติว่าบริษัทไม่จ่ายปันผลเลยหรือ RR=100% จะพบว่า g = ROE ดังนั้น ทุกบริษัทจึงโตได้มากที่สุด (โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาเงินทุนจากภายนอก) ได้แค่ไม่เกิน ROE ของบริษัทเองเท่านั้น เฉพาะฉะนั้น ถ้าเราได้ยินผู้บริหาร "โม้" ว่าจะโตเฉลี่ยให้ได้ 25% ต่อปีในห้าปี แต่ถ้าเราดูแล้วบริษัทมี ROE แค่ 10% และมีหนี้สูงอยู่แล้วก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าบริษัทคงต้องมีการเพิ่มทุนเกิด ขึ้นในไม่ช้า เพราะเป็นไปไม่ได้ที่บริษัทจะโตในระยะยาวได้มากกว่า ROE ของตัวเอง
ในทำนองเดียวกัน บริษัทที่มี ROE ต่ำมาก เช่น 5% บริษัทพวกนี้กำลัง "ป่วย" เพราะถ้ากำไรจะโตก็ต้องมีการเพิ่มทุนด้วยหรือถ้าไม่อยากเพิ่มทุนก็ ต้องไม่โต ใครคิดจะลงทุนในบริษัทพวกนี้ก็ต้องเตรียมเงินสดสำรองไว้สำหรับ เพิ่มทุนด้วยนะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘