0007: Dollar Cost Averaging

Dollar Cost Averaging หมายถึงการทยอยซื้อหุ้นครั้งละเท่าๆ กันเมื่อคิดเป็นจำนวนเงิน เช่น ถ้าตั้งใจจะซื้อหุ้นสัก 12000 บาท แทนที่จะซื้อครั้งเดียว 12000 บาทเลย ก็อาจจะแบ่งซื้อ 1000 บาทต่อเดือนเป็นเวลาหนึ่งปี เนื่องจากเราซื้อด้วยจำนวนเงินเท่าเดิม ถ้าในระยะเวลาหนึ่งปีนั้นหุ้นตัวนั้นเป็นขาลง เราก็จะได้จำนวนหุ้นมากขึ้นเรื่อยๆ สรุปแล้วเราก็จะได้จำนวนหุ้นมากกว่าการซื้อครั้งเดียว ผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำให้มือใหม่ลงทุนด้วยวิธีนี้เพื่อลดโอกาสที่จะขาดทุน ครั้งละมากๆ หากหุ้นที่ซื้อมีราคาปรับตัวลงอย่างรุนแรง
อย่าง ไรก็ตาม โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี อย่าลืมว่าเมื่อหุ้นเป็นขาลงหนึ่งปีได้ หุ้นก็มีสิทธิ์เป็นขาขึ้นหนึ่งปีได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นวิธีนี้แม้จะทำให้โอกาสในการขาดทุนหนักๆ น้อยลง แต่ก็ทำให้โอกาสที่จะกำไรมากๆ ลดลงด้วย เพราะถ้าเราซื้อครั้งเดียวด้วยเงินทั้งหมด แล้วหุ้นเป็นขาขึ้น เราจะได้กำไรมากกว่าการทยอยซื้อ ด้วยเหตุนี้เมื่อพิจารณาทั้งโอกาส และความเสี่ยงแล้ว วิธี Dollar Cost Averaging จึงไม่ได้ให้ risk-adjusted return ที่แตกต่างไปจากการซื้อทั้งหมดในครั้งเดียว (investors are not better off)
ยิ่งในกรณีที่คุณเชื่อ ว่าหุ้นที่คุณจะซื้อมีโอกาสขึ้นมากกว่าลง เช่น (ขึ้น 70 ลง 30) คุณยิ่งไม่ควรใช้ Dollar Cost Averaging เข้าไปใหญ่เพราะกรณีเช่นนี้กลับทำให้ risk-adjusted return ต่ำลง (ยกเว้นคุณคิดว่าหุ้นที่จะซื้อมีโอกาสลงมากกว่าขึ้นอย่างนี้ DCA จะช่วยได้ แต่ผมว่าถ้าเราคิดว่ามันจะลง เราน่าจะอยู่เฉยๆ มากกว่านะครับ จะเสี่ยงซื้อไปทำไม)
สรุปก็คือ สำหรับนักลงทุนที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการลงทุน วิธี Dollar Cost Averaging จะไม่แตกต่างจากวิธีปกติ ส่วนนักลงทุนที่มีความรู้และพยายามเลือกซื้อหุ้นที่ตนเองคิดว่ามีโอกาสขึ้น มากกว่าลงเท่านั้น ไม่ควรใช้วิธีนี้เลยเพราะจะได้ risk-adjusted return ที่ต่ำกว่าเดิม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘