0006: โอกาสที่ดีทางธุรกิจเป็นอย่างไร?

Tao Zhu Gong เป็นกุนซือในยุคราชวงศ์โจวตะวันออกที่ผันตัวเองมาเป็นพ่อค้า เขาได้นำประสบการณ์ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์มาใช้ในธุรกิจของเขาจนประสบความ สำเร็จและได้กลายเป็นแบบอย่างของหลักการทำธุรกิจของชาวจีน
ครั้ง หนึ่งได้เกิดกบฎน้อยใหญ่ทางตอนเหนือของแคว้นลู เจ้าแคว้นลูจึงได้ออกคำสั่งให้พวกเจ้าศักดินาทั้งหลายออกปราบกบฏ เจ้าศักดินาเหล่านั้นจึงต้องการเงินจำนวนมากเพื่อเตรียมทรัพยากรสำหรับออกรบ พวกเขาจึงเอ่ยปากขอยืมเงินจากบรรดาพ่อค้าคหบดีทั้งหลายรวมทั้ง Tao Zhu Gong ด้วย
พ่อค้าทั้งหลายรู้สึกวิตกกังวลมาก เพราะเกรงว่าหากให้ยืมเงินแล้วเจ้าศักดินาเหล่านั้นแพ้สงครามหนี้ก็จะสูญ พ่อค้าเหล่านั้นถาม Tao Zhu Gong ว่าคิดเห็นอย่างไร Tao Zhu Gong บอกว่าถึงแม้การให้ยืมเงินลักษณะนี้จะมีความเสี่ยงสูงมาก แต่ธุรกิจทุกอย่างก็ต้องมีความเสี่ยง เขายินดีให้เจ้าศักดินาเหล่านั้นยืมเงิน แต่ต้องใช้คืนด้วยเงิน 10 เท่า เขาบอกว่า โอกาสชนะหรือแพ้สงครามเท่ากับ 50:50 แต่ถ้าเขาให้เจ้าศักดินายืมเงินสัก 10 ราย ด้วยผลตอบแทนที่สูงถึง 10 เท่า ขอเพียงแค่มีหนึ่งคนเท่านั้นที่ชนะสงคราม เงินต้นของเขาก็จะไม่สูญ เจ้าศักดินาเหล่านี้มีความสามารถในการใช้คืนหนี้สูงเพราะถ้าชนะสงครามพวกเขา จะได้ครอบครองที่ดินจำนวนมากซึ่งสามารถเก็บค่าเช่านำเงินมาชำระหนี้ได้ เขามองว่านี่เป็นโอกาส
พ่อค้าเหล่านั้นเห็นว่า Tao Zhu Gong จะคิดดอกเบี้ย 10 เท่า จึงเดาว่า Tao Zhu Gong คงรู้สึกไม่มั่นใจว่าจะได้เงินคืนถึงได้คิดดอกเบี้ยสูงขนาดนั้น พ่อค้าเหล่านั้นจึงปฏิเสธเจ้าศักดินาที่เดินทางมาขอยืมเงินและบอกให้ไปหา Tao Zhu Gong ทำให้เจ้าศักดินาทุกคนเดินทางมาขอยืมเงินกับ Tao Zhu Gong แม้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะสูงมากแต่เจ้าศักดินาเหล่านั้นก็ยินดียืมทุกคนเพราะ พวกเขากำลังต้องการเงินอย่างมากและไม่มีพ่อค้าคนใดกล้าให้พวกเขายืม
เมื่อ สงครามสงบมีเจ้าศักดินาชนะสงครามจำนวนมากกว่าที่ Tao Zhu Gong ประเมินไว้มาก Tao Zhu Gong จึงได้รับผลตอบแทนมหาศาลจากการให้ยืมเงินในครั้งนั้น
เรื่อง นี้สอนให้รู้ว่า โอกาสทางธุรกิจทุกชนิดมีความเสี่ยงทั้งนั้นไม่มากก็น้อย โอกาสทางธุรกิจที่ดีไม่ใช่โอกาสที่มีความเสี่ยงน้อยแต่เป็นโอกาสที่มีผลตอบ แทนคาดหวังที่คุ้มค่าเกินความเสี่ยงที่ได้ประเมินไว้อย่างดีแล้ว…

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘