Wednesday, September 27, 2006 เคาะ

คำว่า "เคาะ" แปลตรงๆก็ได้ความหมายว่า การใช้วัตถุมากระทบให้เกิดเป็นเสียง แต่ถ้าพูดในความหมายที่เกี่ยวกับหุ้นแล้ว ต้องย้อนไปในสมัยแรกของตลาดหุ้นไทย ที่การซื้อขายหุ้นยังต้องไปนั่งในห้องค้า แล้วเมื่อส่งคำสั่งซื้อขายก็จะมีคนไปเคาะที่กระดานเป็นการส่งคำสั่ง (ไม่รู้ว่าผิดถูกยังไงนะครับ ผมก็ฟัง-อ่านเค้ามาอีกทีเหมือนกัน ไม่มีโอกาสได้เห็นของจริง) ในปัจจุบันที่ไม่มีการซื้อขายแบบนั้นอีกแล้ว คำว่า "เคาะ" ได้นำมาใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ "ตัดสินใจซื้อ (ขาย) ที่ราคา offer (bid) ที่มีอยู่ โดยไม่มีการมาตั้งซื้อ (ขาย) รอให้เสียเวลา" แล้วทำไมผมต้องเอาคำว่า "เคาะ" มาพูดถึง แล้วมันสำคัญยังไง

สมมติมีหุ้นอยู่ตัวนึงราคา bid-offer อยู่ที่ 5.00-5.05 ถ้าคุณคิดจะซื้อหุ้นตัวนี้จะมีทางเลือกกี่ทาง?
  • ตั้ง ซื้อที่ราคา 5.00 หรือต่ำกว่า : อันนี้ก็เป็นทางเลือกหนึ่งของคนที่ชอบต่อราคา ประมาณว่าจะซื้อทั้งทีขอให้ได้ราคาถูกลงมาซัก 5 สตางก็ยังดี
  • เคาะซื้อทันทีที่ราคา 5.05 : ทางเลือกนี้ก็เป็นของคนที่ใจร้อนขึ้นมาหน่อย เวลาอยากได้อะไรก็ตัดสินใจซื้อทันทีไม่มีการต่อราคา
ถ้าจะขายก็คล้ายๆกัน
  • ตั้งขายที่ราคา 5.05
  • เคาะขายทันทีที่ราคา 5.00
โดยปกติผมจะใช้วิธีเคาะเสมอไม่ว่าจะซื้อหรือขาย เหตุผลลึกๆของการ "เคาะ" ของผมคืออะไรลองมาดูตัวอย่างต่อกันให้จบนะครับ
หุ้น ตัวในตัวอย่างข้างบนที่ผมอยากจะซื้อ ผมได้ลองคำนวณดูแล้วได้ว่าผมมีราคาเป้าหมายอยู่ในใจประมาณ 9 บาท ผมมองว่าถ้าผมมั่วแต่ตั้งซื้อหุ้นตัวนี้โดยขอต่อราคา 0.05 บาทแล้วถ้าไม่มีใครขายให้ผมเลย ผมอาจจะเสียโอกาสในการทำกำไรอีก 4 บาท ทีนี้ลองคิดดูง่ายๆว่าการประหยัดเงินไปได้ 0.05 ต่อหุ้นกับการเสียโอกาสทำกำไรอีก 4 บาทผมจะเลือกแบบไหน นี่เป็นเหตุผลที่ผมจะยอมเคาะซื้อหุ้นในราคาที่แพงขึ้นมานิดหน่อย เพราะการเสียโอกาสทำกำไรที่มากถึง 4 บาทนั้นสูงกว่าเงิน 0.05 บาทที่ผมจะเสียไปมาก
ลอง คำนวณให้เป็นตัวเลขเพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้นอีกหน่อย ถ้าผมซื้อหุ้นตัวนี้ที่ราคา 5 บาท ผมจะได้ผลตอบแทน 80% แต่ถ้าผมซื้อหุ้นได้ที่ราคา 5.05 บาท ผลตอบแทนจะเหลือ 78% ถ้าดูจริงๆแล้วจะเห็นว่าแทบจะไม่ต่างกันเท่าไหร่ เพราะงั้นถ้ามีหุ้นอยู่ในใจแล้ว คำนวณราคาเป้าหมายได้สูงกว่าราคาที่เป็นอยู่พอสมควร ก็ซื้อๆไปเถอะครับ อย่ามัวต่อราคานิดๆหน่อยๆเลย กว่าเราจะหาหุ้นดีๆราคาถูกๆได้ซักตัวไม่ใช่หามาง่ายๆ จะให้เสียโอกาสไปกันการขี้เหนียวนิดๆหน่อยๆเลย
ใน อดีตที่ผ่านมาผมเคยเสียโอกาสทำกำไรกับหุ้นหลายเพียงเพราะมัวตั้งซื้อนี่แหละ ครับ ตอนั้นหุ้น Ticon ราคาประมาณ 6.2 บาทผมคำนวณราคาเป้าหมายแล้วหุ้นน่าจะอยู่ที่ 12 บาท ตอนซื้อผมก็มัวแต่ต่อราคาไปตั้งซื้อที่ 6.15 บาท แล้วเย็นวันนั้นหุ้นก็ไปปิดแถวๆ 6.50 ผมก็คิดเสียดายในใจ วันต่อมาก็ผมก็คิดว่าถ้าลงมา 6.3 จะซื้อแน่ๆ แล้วหุ้นมันก็วิ่งขึ้นเกิดไป 7 บาทกว่า ตอนนั้นก็ทำใจจะซื้อยากครับเพราะเห็นว่ามันขึ้นมากแล้ว แต่สุดท้ายผมต้องไปซื้อหุ้นตัวนั้นที่ราคา 9 บาทกว่าๆ และก็ไม่เสียดายที่ตัดสินใจซื้อไปแม้จะเกิดกว่าราคาที่จะซื้อตอนแรก (6.2) อยู่สูงมาก เพราะหุ้นตัวนั้นนับวันก็ทำรายได้ และกำไรได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันหุ้นซื้อขายกันแถวๆ 17 บาท และก็น่าจะมีแนวโน้มดีอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆ (แต่ผมขายไปหมดแล้วนะครับ เพราะไปเจอหุ้นอื่นที่ดีกว่า) เพราะมัวต่อราคา 5 สตางค์ทำให้กำไรผมลดลงไปตั้ง 3 บาทต่อหุ้นแน่ะ
การ เคาะขายก็มีเหตุคล้ายๆกัน จะมานั่งต่อราคานิดหน่อยไปทำไม ถ้าเราคิดว่าราคาเหมาะสมของหุ้นมันอยู่ต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันอยู่ ไม่มีใครรู้หรอกครับว่าราคามันจะวิ่งไปสู่เป้าหมายเวลาไหน ถ้าเราคิดว่าหุ้นจะลงยังไงก็ต้องขายครับ อย่าขี้เหนียวเลย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘