เปิดตำนาน วิธีการเล่นหุ้นแบบ “เซียนเต่า” The Turtle Trader !! (ตอนที่ 7)

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
เล่นหุ้นแบบเซียนเต่า Turtle trader
วันนี้ต่อกันในเรื่องของการตัดขาดทุนหรือ Stops กัน อีกซักหน่อยเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญและค่อนข้างจะยาวที่สุดครับเป็น อย่างไรนั้นมาว่ากันให้จบเลยดีกว่า โดยวันนี้เป็นเรื่องของการตัดขาดทุนในอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่าเทคนิค The Whipsaw ครับโดยการที่เทคนิคการตัดขาดทุนในรูปแบบนี้ถูกเรียกว่า The Whipsaw ก็เนื่องจากว่ามันจะทำให้เกิดการเทรดที่เป็น Whipsaw บ่อยครับแต่จะทำให้ความเสี่ยงต่อการเทรดหุ้นแต่ละครั้งลดลง

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
เหล่าเซียนเต่า Turtle traders นั้น จะถูกสอนเทคนิคการกำหนดจุดขาดทุนในอีกรูปแบบหนึ่งไว้ด้วยเพื่อเพิ่มศักย์ภาพ ในการทำกำไร แต่อย่างไรก็ตามครับข้อเสียของเทคนิคการหยุดขาดทุนนี้ก็คือว่า มันจะส่งผลให้เกิด การ Stop ที่บ่อยขึ้นเป็นผลทำให้ Ratio ของ Win/loss percentage มันน้อยลง (ซึ่งหากใครใจไม่แข็งพอก็ออาจจะท้อแท้กับการขาดทุนยิบย่อยหลายๆครั้งนั่นเองครับ) เทคนิคนี้เรียกว่า เทคนิคการหยุดขาดทุนแบบ The Whipsaw ครับ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
โดยแทนที่จะกำหนดความเสี่ยงต่อการเทรดหุ้นหนึ่งครั้งไว้ที่ 2% พวกเขาจะกำหนดความเสี่ยงไว้ที่ ½ หรือ 0.5% ของพอร์ทแทนโดยจะกำหนดจุดตัดขาดทุนที่แคบมากๆที่ ½ N ครับ โดยหลักการคือ หากซื้อแล้วหุ้นตกลงมาเป็นระยะ ½ N พวกเขาจะขายออก แต่หากราคากลับไปจุดซื้อเดิมเขาจะซื้อเข้าไปใหม่ครับ และเป็นที่น่าสังเกตุว่ามีคนบางคนในกลุ่มเซียนเต่า The Turtle เท่านั้นที่ใช้เทคนิคนี้ได้เนื่องจากความยากทาง จิตวิทยาของมันนั่นเองครับ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
เมื่อพูดถึงประโยชน์ของการตัดขาดทุนในรูปแบบนี้นั้น ก็ต้องบอกว่าข้อดีคือมันทำให้เรา “ไม่จำเป็นต้องยกจุดตัดขาดทุนเดิมตามขึ้นมา” อีกนั่นเองเนื่องจากว่าเมื่อเพิ่ม Positionเข้าไปเรื่อยๆแล้ว ค่าความเสี่ยงของพอร์ทนั้นจะไม่เกิน 2%ต่อการเทรดหนึ่งครั้ง นั่นเองครับ เพราะขนาด Positionของเราในแต่ละครั้งมันจะเล็กลงไปถึง 4 เท่า…. พอเข้าใจรึปล่าว หากยังไม่เข้าใจมาดูตัวอย่างกันครับ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ตัวอย่างนี้เป็นการเทรดน้ำมันดิบเช่นเคยนะครับ ต่างกันตรงวิธีใช้ Stop หรือจุดตัดขาดทุนแบบ The Whipsaw
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
เป็นการซื้อขายน้ำมันดิบ
คำนวนได้ค่า N = 1.20
ใช้ระบบ 55 days Breakout = 28.30
………………….ราคาซื้อ……………….. จุดตัดขาดทุน
ไม้แรก…………28.30……………………. 27.70
………………….ราคาซื้อ……………….. จุดตัดขาดทุน
ไม้แรก…………28.30……………………. 27.70
ไม้ที่สอง……… 28.90…………………….28.30
………………….ราคาซื้อ……………….. จุดตัดขาดทุน
ไม้แรก…………28.30……………………. 27.70
ไม้ที่สอง……… 28.90…………………….28.30
ไม้ที่สาม……….29.50…………………….28.90
…………………ราคาซื้อ……………….. จุดตัดขาดทุน
ไม้แรก…………28.30……………………. 27.70
ไม้ที่สอง……… 28.90…………………….28.30
ไม้ที่สาม……….29.50…………………….28.90
ไม้ที่สี่………….30.10……………………..29.50
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
เมื่อสังเกตุจะเห็นว่า เมื่อกำหนดค่าความเสี่ยงหรือ N น้อยลงการขาดทุนต่อครั้งก็จะลดลงไป แต่สิ่งที่ตามมาในการเทรดจริงๆก็คือ การเกิด Whipsaw ที่เพิ่มมากขึ้นนั่นเองครับ (ต้องลองเลือกเอาเองครับว่าชอบแบบใหน)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
สุดท้ายนี้เป็นเรื่องของ ประโยชน์จากการใช้การตัดขาดทุนแบบ Turtles นั่นก็คือว่าหากเราจะสังเกตุดีๆ ว่าพวกเขาหาระยะจุดตัดขาดทุนจาก ค่าความผันผวนของตลาดหรือ N ซึ่งมาจาก 20 days Moving Average True Range เมื่อตลาดมีความผันผวนมากค่า N นี้ก็จะมากตามไปด้วย และเมื่อค่า N มากขึ้นแล้วจุดตัดขาดทุนจะกว้างขึ้น ส่งผลให้เมื่อคำนวนหา Position Size ที่จะขาดทุนไม่เกิน 2%ก็จะทำให้ขนาดของ Position จะลดลงไป นั่นจึงส่งผลให้เกิดการกระจายความเสี่ยง และโอกาศไปในตัวครับ เนื่องจากหุ้นที่มีค่าความผันผวนหรือ N มาก ระบบก็จะบังคับให้เราถือมันน้อยลงกว่าหุ้นที่มีค่า N น้อยๆหรือมีความเสี่ยงต่ำนั่นเอง จึงเป็นการ ทำให้ความเสี่ยงและผลตอบแทนของทุกเทรดนั้นเท่ากันไปในตัว ไม่ว่าค่าความผันผวนจะต่างกันเท่าไร และนี่จะทำให้เราไม่เกิดความลำเอียงต่อการเทรดหุ้น ครั้งใดครั้งหนึ่งไปครับ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
เอาล่ะครับ เรื่องของการ “ตัดขาดทุน” หรือ Stop ก็หมดเพียงเท่านี้ ต่อไปจะเป็นเรื่องราวของการหาจังหวะขายหุ้นและปล่อยหุ้น หลังจากมันได้วิ่งทำกำไรมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ส่วนจะเป็นอย่างไร ทำอย่างไรไม่ให้เสียของและปล่อยให้กำไรโตให้ได้มากที่สุดก็คอยติดตามกันต่อที่ แมงเม่าคลับ.คอม นะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘