เปิดตำนาน วิธีการเล่นหุ้นแบบ “เซียนเต่า” The Turtle Trader !! (ตอนที่ 6)
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
สวัสดีครับ ต่ออีกบทไปเลยแล้วกันสำหรับวันนี้กับ Original Turtle Trading Rules บทนี้จะเป็นการพูดถึงวิธีการตัดขาดทุน หรือการควบคุมความเสี่ยงของเหล่าเซียนหุ้น The Turtle Traders กันครับ เรื่องของ Stop เป็นเรื่องที่สำคัญมาเรื่องหนึ่งของระบบการเล่นหุ้นแบบ Turtle Trading System เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามไปเป็นอันขาดเรามาว่ากันต่อครับ
………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
Stop การตัดขาดทุน
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
“เหล่า Turtle Traders หลีกเลี่ยงการขาดทุนอย่างรุนแรงโดยใช้ค่าความผันผวนของตลาด หรือ N มาใช้คำนวนจุดตัดขาดทุน”
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
มีคำกล่าวไว้ว่า “อาจจะมีนักเล่นหุ้นเก๋าเกม อาจจะมีนักเล่นหุ้นที่กล้าหาญ แต่จะไม่มีนักเล่นหุ้นที่กล้าหาญและเก๋าเกม” นักเล่นหุ้นที่บ้าระห่ำไม่มีจุดตัดขาดทุนสุดท้ายจะต้องหมดตัว และเหล่าเซียนเต่า Turtle Trader ทุก คนนั้นใช้ การตัดขาดทุนครับ และสำหรับคนส่วนใหญ่แล้ว มันทำใจง่ายกว่าที่จะหวังพึ่งโชคชะตา ให้นำพาหุ้นที่เราขาดทุนกลับมาเท่าทุนเหมือนเดิม เพราะมันง่ายกว่าการที่ต้องยอมรับว่า การซื้อหุ้นครั้งนี้นั้นผิดพลาด และถอยออกมาจากตำแหน่งนั้นเสีย
ย้ำอีกครั้งให้เข้าใจว่า การถอยออกมาจากการเทรดที่ผิดพลาดเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด! นัก เล่นหุ้นที่ไม่ยอมตัดขาดทุนนั้นจะไม่มีทางประสบความสำเร็จได้ในระยะยาว หากเราสังเกตุการล่มสลายครั้งใหญ่ๆ ของบริษัททางการเงินหรือ การเจ๊งจากการเล่นหุ้น ส่วนใหญ่นั้นจะเห็นได้ว่ามีสาเหตุจากการที่ปล่อยให้การขาดทุนเล็กๆกลายเป็น การขาดทุนครั้งใหญ่ทั้งสิ้น!
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการตัดขาดทุนคือการที่เรามีการวางแผน หาจุดตัดขาดทุนล่วงหน้าก่อนที่เราจะเข้าซื้อขายหุ้นนั้นๆ เราต้องมีวินัยอย่างยิ่งว่าหากราคาเคลื่อนไปถึงจุดจุดนั้นเราต้องถอยหนีออกมา โดยไม่มีข้อยกเว้น ทุกๆครั้ง หากคุณบ่ายเบี่ยง สิ่งที่ตามมาก็คือความหายนะ อย่างแน่นอน ( นี่คือความจริงอย่างยิ่ง หากใครเคยเจ็บตัวหนักๆมาแล้วจะรู้ หรือหากคุณยังไม่เข้าใจให้ลองกลับไปดู Record ที่ผ่านมาของการเล่นหุ้นของคุณ คุณจะพบว่า หากขายไปแต่แรกก็สิ้นเรื่องครับ )
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
การตัดขาดทุนแบบ Turtle Trader
เหล่าเซียนเต่า Turtles นั้นถึงแม้ว่าจะมีการกำหนดจุด “ตัดขาดทุน” ไว้ล่วงหน้าแล้วก็ตามแต่พวกเขาก็จะไม่ใช้การฝากคำสั่งล่วงหน้าไว้กับ โบรคเกอร์ เนื่องจากเหล่า Turtles นั้นมี Position อยู่ เป็นจำนวนมหาศาลพวกเขาจะไม่ต้องการเปิดเผยความต้องการและพอร์ทของพวกเขาออก ไป นั่นจึงทำให้พวกเขาใช้วิธีการมองตลาดระหว่างวันและตัดขาดทุนขณะนั้นด้วยตน เองครับ และสิ่งที่ต้องจำอยู่ในใจเสมอนั่นก็คือ จุดตัดขาดทุนเป็นจุดที่ห้ามต่อรองเด็ดขาด ไม่ว่าครั้งใดๆก็ตาม
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
หลักการคำนวนหาจุดตัดขาดทุนแบบ Turtle Traders
Turtles จะกำหนดจุดตัดขาดทุนโดยอ้างอิงถึงขนาดของ Position ในพอร์ทของพวกเขาครับ จะไม่มีการเทรดครั้งใหนที่พวกเขาจะยอมขาดทุนเกิน 2% ของพอร์ทรวม
พวกเขาจะกำหนดเอาไว้ว่าค่าความผันผวน หรือ ATR หรือ N นั้นจะถูกกำหนดให้ 1N = 1% ของพอร์ทโดยรวม ดังนั้น การที่พวกเขาไม่อนุญาตุให้เกิดการขาดทุนเกิน 2% ของพอร์ทจึงหมายถึงการกำหนดจุด ตัดขาดทุนที่ระยะ 2N นั่นเอง และพวกเขาจะวางจุดตัดขาดทุนไว้ที่ระยะ 2N ข้างใต้ราคาที่พวกเขาได้ซื้อไว้ไม้ล่าสุด ซึ่งนั่นหมายถึง เมื่อมีการเพิ่ม Position เข้าไปใหม่พวกเขาจะยกจุดตัดขาดทุนก่อนหน้านั้นขึ้นมาอีก ½ N เป็นผลทำให้จุดตัดขาดทุนของทุก Position จะอยู่ที่ 2N ของราคาล่าสุดที่พวกเขาซื้อนั่นเอง ( ถ้ายังจำกันได้จากบทที่แล้ว พวกเขาจะเพิ่ม Position ทุกครั้งที่ราคาวิ่งขึ้นไป ½ N หากจำไม่ได้ลองกลับไปอ่านนะครับ )
อย่างไรก็ตามหากในกรณีที่เมื่อเข้าซื้อเพิ่มไปแล้ว ราคาที่ได้กระโดดเกิน ½ N ไป โดยอาจจะเกิดจากตลาดเปิด Gap หรือ ราคาหุ้นวิ่งเร็วมากจนซื้อไม่ทัน จะทำให้การคำนวนมีค่าที่ต่างออกไปจากกรณีแรกครับ พูดไปเดี๋ยวจะงง เราไปดูตัวอย่างกันดีกว่า ผมยกมาจากในหนังสือเลยครับ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
กรณีแรก ( ได้ราคาตามที่คาดหวัง )
เป็นการซื้อขายน้ำมันดิบ
คำนวนได้ค่า N = 1.20
ใช้ระบบ 55 days Breakout = 28.30
………………….ราคาซื้อ………………..จุดตัดขาดทุน
ไม้แรก…………28.30……………………. 25.90
………………….ราคาซื้อ………………..จุดตัดขาดทุน
ไม้แรก…………28.30……………………. 26.50 ( สังเกตุว่าจะถูกยกขึ้นมา ½ N จากคราวที่แล้ว )
ไม้ที่สอง……… 28.90…………………….26.50
………………….ราคาซื้อ………………..จุดตัดขาดทุน
ไม้แรก…………28.30……………………. 27.10 ( สังเกตุว่าจะถูกยกขึ้นมา ½ N จากคราวที่แล้ว )
ไม้ที่สอง……… 28.90…………………….27.10 ( สังเกตุว่าจะถูกยกขึ้นมา ½ N จากคราวที่แล้ว )
ไม้ที่สาม……….29.50…………………….27.10
…………………ราคาซื้อ………………..จุดตัดขาดทุน
ไม้แรก…………28.30……………………. 27.70 ( สังเกตุว่าจะถูกยกขึ้นมา ½ N จากคราวที่แล้ว )
ไม้ที่สอง……… 28.90…………………….27.70 ( สังเกตุว่าจะถูกยกขึ้นมา ½ N จากคราวที่แล้ว )
ไม้ที่สาม……….29.50…………………….27.70 ( สังเกตุว่าจะถูกยกขึ้นมา ½ N จากคราวที่แล้ว )
ไม้ที่สี่………….30.10……………………..27.70
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
หากเกิดกรณีที่สอง นั่นก็คือราคาที่ได้กระโดดออกเกินไปจะเป็นดังนี้
…………………ราคาซื้อ………………..จุดตัดขาดทุน
ไม้แรก…………28.30……………………. 27.70 ( สังเกตุว่าจะไม่ถูกยกขึ้นมา ½ N จากคราวที่แล้ว )
ไม้ที่สอง……… 28.90…………………….27.70 ( สังเกตุว่าจะไม่ถูกยกขึ้นมา ½ N จากคราวที่แล้ว )
ไม้ที่สาม……….29.50…………………….27.70 ( สังเกตุว่าจะไม่ถูกยกขึ้นมา ½ N จากคราวที่แล้ว )
ไม้ที่สี่………….30.10……………………..28.40
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
นั่นก็คือหากเราสังเกตุเราจะพบว่าพวกเขาจะไม่ยก Stop ของ สามไม้ก่อนหน้าขึ้นมาตาม เพราะว่าราคาล่าสุดที่ได้นั้นสูงเกินไปหากยกขึ้นมาตามอาจจะทำให้เมื่อหุ้น พักตัวนั้น ระยะตัดขาดทุนจะแคบเกินไปเป็นผลทำให้เสียของได้ง่ายๆนั่นเองครับ
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
วันนี้ขอจบแค่นี้ก่อนนะครับพรุ่งนี้เราจะพูดถึงเรื่อง Stop กันต่อแต่จะเป็นการตัดขาดทุนอีกรูปแบบหนึ่งของเหล่านักเล่นหุ้นแบบ Turtle traders ซึ่งเรียกว่าเทคนิคการตัดขาดทุนแบบ Whipsaw ครับ แล้วเจอกันใหม่ที่ แมงเม่าคลับ.คอม เช่นเดิมครับ