เปิดตำนาน วิธีการเล่นหุ้นแบบ “เซียนเต่า” The Turtle Trader !! (ตอนที่ 3)



turtle
เอาล่ะครับเรามาว่ากันต่อถึงวิธีการเล่นหุ้นแบบ Turtle Trader ให้จบในบทที่ 3 ซึ่งเป็นเรื่องของการกำหนด Position Sizing และ Units limit ของกลุ่ม “เซียนเต่า” The Turtle trader กันดีกว่าถึงแม้บทนี้จะไม่มีเรื่องของการวิเคราะห์หุ้นทางเทคนิคซักเท่าใหร่ แต่ทนอ่านอีกหน่อยนะครับ อีกนิดเดียวก็จบแล้วแถมยังเป็นเรื่่องสำคัญในการเล่นหุ้นให้สำเร็จด้วยครับ

The importance of Position Sizing ( ความสำคัญของการหา Position Size )
การกระจายความเสี่ยงนั้นมีความสำคัญเพื่อที่จะ กระจายการลงทุนไปยังหุ้นต่างๆ เพื่อจำกัดความเสี่ยงของ Port และเพิ่มโอกาศที่จะเล่นหุ้นถูกตัวให้มากขึ้น ด้วยครับ โดยในการนี้เมื่อเราใช้วิธีนี้แล้วจะทำให้เราสามารถจัดการ Risk/Reward ในหุ้นแต่ละตัวได้อย่างเท่าๆกันด้วย
ระบบTurtle Trading System จะใช้ค่า “ความผันผวน หรือ Volatility” ในการประเมิณความเสี่ยงในการลงทุนแทนที่วิธีธรรมดา (อ่านตอนที่ 2) เพื่อที่จะทำให้ความเสี่ยงในแต่ละการลงทุนที่ถืออยู่สามารถประเมินได้อย่างเท่าๆกันๆ และการทำเช่นนี้ยังสามารถช่วยให้เกิดความน่าจะเป็นที่จะเพิ่มปริมาณการเทรด ที่ถูกต้องได้มากกว่ากว่าเทรดที่ผิดพลาด

อีกประเด็นนึงที่น่าสนใจนั่นก็คือ การกระจายความเสี่ยงนั้น จะยากขึ้นหาก portfolio ของเรามีขนาดที่เล็กลง เนื่องจาก หากเราเล่น option , future หรือ commodity เราต้องเทรดเป็น contract ซึ่งบางครั้งการคำนวน position size ที่ออกมาจะได้ค่า ไม่เต็มจำนวนเช่น
Unit Size = 1% of account / N * dollar point
ในกรณีที่ ค่า N ที่ ได้นำมาคูณกับ มูลค่าต่อจุด ออกมาแล้วไม่เต็มจำนวนเราต้องตัดเลข ลงมา ไม่ไช่ตัดขึ้นนะครับไม่เช่นนั้นจะเกินความเสี่ยงที่เรารับได้นั่นเอง
เช่น ถ้า 1 point คือ 5,000 บาท ค่า N คือ 14.5 เราจะได้ 14.5 * 5000 = 72,500 บาท
จำนวนเงิน 2% ของport 1,000,000 บาท = 200,000 บาท
นำ 200,000 / 72,500 = 2.75862 เราต้องลดลงเหลือ 2 contract เท่านั้นครับ

turtle-trading-results
กราฟแสดง Performance ที่ถูกจำลองขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์จากระบบ Turtle Trading System ตั้งแต่ปี 1990-2003 ( เฉพาะในตลาดที่ U.S )
Unit as a measure of risk (การนำUnit หรือ ปริมาณของการเทรดมาประเมิณความเสี่ยง )
เมื่อ Turtles นำunit มาเป็นหลักพื้นฐานในการหา Position size แล้วและเมื่อการที่แต่ละ unit นั้นได้ถูกปรับแต่งมาเป็นอย่างดีตามค่าความผันผวนของตลาด เราจึงสามารถที่จะนำจำนวน unit มาประเมิณความเสี่ยงของport เราได้เช่นกันครับ
Turtles จะถูกกำหนดกฏของการเทรดเพิ่มเข้ามาเพื่อจำกัดความเสี่ยงจากจำนวนของ unit ตามแต่ละช่วงเวลาและตาม ตลาดที่เข้าเทรดเพื่อเป็นการปกป้อง portในเวลาที่พวกเขาต้องเจอกับ Losing period หรือ Drawndown หรือแปลอีกอย่างตามประสาชาวบ้านว่าช่วง ดวงซวยนั่นเองครับ เช่นเมื่อตลาดเกิดการหักกลับอย่างกระทันหันหรือ การ panic เป็นต้นอย่างเช่นช่วง Black monday ในตลาด อเมริกา หากว่าพวกเขาไม่ทำเช่นนั้นก็จะต้องเจอกับชีวิตที่น่าเศร้าของ เทรดเดอร์นับแสนคนที่ มูลค่าของ Portfolio หายไปหลาย สิบเปอร์เซนท์ในเพียงวันเดียวเฉกเช่นเดียวกัน ครับ

นี่เป็นตาราง limit ที่พวกเขาต้องทำตามครับ

LEVEL                            TYPE                                  MAXIMUM  UNITS
—1———- ตลาดชนิดเดียวกัน ————————– 4 Units—
—2———- ตลาดที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน —————— 6 Units—
—3———- ตลาดที่มีความเกี่ยวเนื่องกันเล็กน้อย ———- 10 Units—
—4———- การเทรดในทิศทางเดียวกัน Long-Short —– 12 Units—

* ในที่นี่หากเราๆที่เล่นหุ้นกันเพียงอย่างเดียว อาจจะมองหรือกำหนดเป็น Sector ขึ้นก็ได้ว่าแต่ละ Sector นั้นเราจะจำกัด Unit หรือ ปริมาณเงินของเราอย่างไรนะครับ หากท่านเล่นทั้ง หุ้นทั้ง future หรืออะไรต่อมิอะไรก็สามารถดูเป็นแนวคิดได้เช่นกันครับ ลองหากันดู

Adjusting Trading Size ( การปรับระดับลดน้ำหนักการลงทุน )
ในการเล่นหุ้นหรือลงทุนนั้น ปฏิเสธ ไม่ได้เลยว่าตลาดหุ้นอาจจะไม่เอื้ออำนวนอยู่เป็นเวลายาวนานหลายเดือน ในช่วงเวลาเหล่านี้ เป็นไปได้มากที่คุณจะต้องขาดทุนอย่างมหาศาล โดยเฉพาะพวก Trend trader หากตลาด Sideway อยู่หลายเดือน นี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องรู้จักลดน้ำหนักการลงทุนลง !
และเมื่อเริ่มมีการทำกำไรก้อนใหญ่ๆได้อีกครั้งแล้ว คุณอาจจะค่อยๆเพิ่มปริมาณการเล่นหุ้นให้มากขึ้นอีกครั้ง พวกกลุ่มเซียนเต่า Turtle ทั้งหลายจะไม่เล่นหุ้นในปริมาณหรือน้ำหนักที่เท่าเดิม หรือเหมือนเดิมทุกครั้ง พวกเขาจะถูกประเมิณโดย Richard Dennis ในทุกๆปลายปีเพื่อ ลดน้ำหนักลง หรือ เพิ่มน้ำหนักขึ้น ตามผลงานของเขา
พวกเซียนเต่า Turtle Trader จะถูกสอนให้รู้จักการลดน้ำหนักการลงทุนลง 20% ของportfolio ทุกครั้งที่เกิดการขาดทุนรวมของ port ถึง 10% เช่น เงิน 1,000,000 เหรียญหากขาดทุน 10% เหลือ 900,000 เหรียญ เขาจะต้องโดนลด port เหลือ 800,000 เหรียญหากเกิดขาดทุนต่ออีก 10% เขาจะต้องปรับ port ลงอีกเหลือเพียง 640,000 เหรียญ นั่นเองถึงแม้ว่าจะดูเหมือนกับทำให้การทำกำไรกลับไปที่เดิมยากขึ้น แต่การทำเช่นนี้เป็นการลดความเสี่ยงจากช่วงเวลา Drawn down period ได้เป็นอย่างดี และช่วยในการลดน้ำหนักการลงทุนในเวลาที่ตลาดไม่เป็นใจได้เป็นอย่างดี
และถึงแม้ว่านี่จะเป็น Method การลด port จัดการความเสี่ยงแบบง่ายๆของพวกเขาก็ตามครับ อาจจะมีวิธีการอื่นที่ดีกว่านี้แต่มันก็ช่วยทำให้พวกเขาอยู่รอดและรักษา Performance ที่สม่ำเสมอมาได้ตลอดเป็นอย่างดีครับ
YouTube Preview Image
ลองฟัง Audio Book บทสัมภาษณ์ Richard Dennis ผู้ให้กำเนิด The Turtle traderจากหนังสือหุ้นชื่อ The Market Wizards ลองฟังดูนะครับ

จบแล้วนะครับบทที่ 3 ของหนังสือหุ้นเล่มนี้ครับ Original Turtle Trading Rules ผมอาจจะแปลตกหล่นขาดๆไปบ้าง และบางช่วงอาจจะแปลตามใจไปหน่อยแต่คิดว่าเนื้อความสำคัญไม่ได้หายไปนะครับ ขอบคุณที่ติดตามเจอกันใหม่ที่ แมงเม่าคลับ.คอม ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘