Tuesday, September 29, 2009 ใครว่า VI ไม่มีจังหวะซื้อขาย

ผมเคยเข้าใจว่าการวิเคราะห์พื้นฐานนั้น ช่วยในการเลือกหุ้น ส่วนการวิเคราะห์เทคนิคนั้นเอาไว้ช่วยดูจังหวะซื้อขาย และผมก็เชื่อว่าหลายๆคนคงมีหรือเคยมีความคิดแบบนี้อยู่ในหัว แต่พอเอาเข้าจริงๆ ผมลงทุนมาเกือบ 7 ปีแล้ว ยังไม่เคยวิเคราะห์เทคนิคมาเป็นจังหวะซื้อขายหุ้นเลยซักครั้ง ความเชื่อผมเปลี่ยนไปแล้ว เพราะผมได้รู้ว่าการวิเคราะห์พื้นฐานแบบ VI ก็สามารถบอกจังหวะการซื้อขายได้ดีไม่แพ้วิธีไหนๆ

ผม เอาที่ผม post ตอบไว้ในกระทู้ที่ Thaivi มาแปะไว้เพื่อให้ได้อ่านกันถ้วนหน้านะครับ ข้อเขียนนี้ถือเป็นการต่อยอดจากบทความเรื่องการบริหาร port style yoyo ที่เคยเขียนเอาไว้ใน Blog มาพักนึงแล้ว

____________

ถาม. คุณ yoyo ใช้อะไรในการดูจังหวะซื้อขายครับ เพราะไม่ได้ดูกราฟหลักการของคุณ Yoyo บอกจังหวะในการลงทุนอย่างไรบ้างครับยกตัวอย่างของจริงที่เคยทำมาแล้วให้ หน่อยได้ไหมครับตัวอย่างในอดีตน่ะครับจะได้ไม่เป็นการชี้นำ

ตอบ. จังหวะซื้อขายของผมเกิดมาจากการประยุกต์ portfolio management ครับ การบริหาร port นั้นทำโดยการถือหุ้นกระจายหลายๆตัวเพื่อลดความเสี่ยง แรกๆผมก็ทำการจัด port เพื่อลดความเสี่ยง แต่ไปๆมาๆ พอจัดไปจัดมาอยู่ๆ ผมก็เห็นว่าเอ๊ะ... ไอ้การจัด port โดยดูจากความถูกความแพงของหุ้นนี่มันช่วยบอกจังหวะซื้อขายให้เราได้ดีมากๆ ซึ่งผมอ่านหนังสือมาหลายเล่ม ฟังสัมมนามาหลายงาน ก็ยังไม่เคยเจอใครที่เอาเรื่องนี้มาเขียนหรือมาพูดเป็นชิ้นเป็นอัน ผมถือว่าเรื่องนี้สำคัญเป็นอันดับ 2 รองจาก Stock Selection เลยครับ

ผมเคยเขียนไว้ใน Blog
www.yoyoway.com "การบริหาร Port style yoyo" ลองไปอ่านดู
ผมจะเอามา Replay ใหม่อีกรอบแบบมีภาพประกอบด้วย เพื่อจะได้เข้าใจง่ายขึ้น


หลักการคร่าวๆคือ
สมมติผมถือหุ้น 2 ตัว คือ
หุ้น A ราคา 10 บาท เป้าหมาย 16
และ B ราคา 10 บาท เป้าหมาย 16
ทั้ง 2 ตัวมี Upside ที่ 60% เท่ากัน



















ผมแบ่งสถานะ port ออกมาเป็น 7 ช่วงเวลา

1. ผมควรจะถือหุ้นทั้ง 2 ตัว ตัวละกี่ % ดีครับ... ใช้ common sense ทั่วไปก็พอจะเดาได้ว่าควรจะถือหุ้นอย่างละครึ่ง เพราะทั้งคู่มี Upside เท่ากัน

2. ที่นี้สมมติว่าหุ้น A ขึ้นไป 12 บาท หุ้น B ลงมาเหลือ 8 บาท ณ จุดนี้หุ้น A จะมีสัดส่วน 60% ในขณะที่ B จะลดเหลือ 40% แต่เมื่อดู upside แล้ว A จะมี upside ที่ 33% ขณะที่ B จะมี 100%ในเมื่อ B มี Upside ที่สูงกว่า A ตั้งเยอะ ทำไมเราจะไม่ถือ B เยอะกว่า A ล่ะครับ...

3. ที่นี้ผมก็จะขายหุ้น A มาซื้อหุ้น B เพื่อปรับสัดส่วนใหม่ สมมติว่าเป็น 30:70

4. เมื่อเวลาผ่านไป สมมติต่ออีกว่าหุ้น A ลดลงมาเหลือ 8 บาท หุ้น B วิ่งขึ้นไปเป็น 12 แทน สัดส่วนหุ้น B ใน port ผมจะยิ่งสูงขึ้นจาก 70 กลายมาเป็น 84% ...

5. แน่นอนครับ ในเมื่อ Upside หุ้น A กลับมาสูงถึง 100 แล้ว B ลดลงเหลือ 33% ผมก็ขายหุ้น B แล้วก็ไปซื้อหุ้น A อีกครั้ง เพื่อปรับสัดส่วนหุ้นใน port ใหม่เป็น 70:30

6. ตลาดหุ้นเล่นตลกกับเราอีกแล้วครับ... หุ้น A เพิ่มขึ้นมาเป็น 10 หุ้น B ลดลงมาเหลือ 10 บาท....

7. ในเมื่อ Upside มันเท่ากับ ผมก็ขายหุ้น A ซื้อหุ้น B จนกลายเป็น 50:50 สุดท้ายผมถือหุ้นไปตั้งนาน ราคาหุ้นมันกลับมายืนที่เดิมอีกแล้วมันน่าเซ็งมั๊ยล่ะ ... แต่เอ๊ะ มาดูมูล port รวมของผมซิครับ ทั้งๆที่ ราคาหุ้นทั้ง 2 ตัวไม่ไปไหนเลย port ผมโตขึ้นมา 40% จาก 1 ล้านบาท กลายเป็น 1.4 ล้านบาท

เห็นมั๊ยครับ ไม่ต้องดูกราฟ ไม่ต้องดู Fund flow ... ใช้หลักการแบบ VI ง่ายๆ ซื้อหุ้นถูกขายหุ้นแพง แม้ว่าหุ้น A และ B มันจะต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมที่ 16 บาทอยู่ตลอดเวลา แต่ความถูกความแพงมันเป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ

เมื่อ A ถูกกว่า B ผมก็ขาย B ซื้อ A ...
เมื่อ B ถูกกว่า A ผมก็ขาย A ซื้อ B ...

เค้าบอกกันว่า VI ถือหุ้นระยะยาว ถือแล้วไม่ขายจนกว่าราคาหุ้นจะเกินพื้นฐาน ... ผมบอกว่าผมขายถ้ามีตัวอื่นที่น่าสนใจกว่า

สุด ท้ายหลักการข้อนี้เลยทำให้หลักการซื้อหุ้นพื้นฐานแบบ VI สามารถบอกจังหวะซื้อขายได้ด้วยตัวมันเอง และช่วยทำให้ port ผมโตได้ แม้ราคาหุ้นโดยรวมอาจจะไม่ได้ไปไหนเลย แบบตัวอย่างข้างต้น
ตัวอย่างนี้ เป็นแบบง่ายๆมีหุ้น 2 ตัว... ปกติถ้าผมจะมีหุ้นประมาณ 4-5 ตัว ก็ใช้หลักการเดียวกันครับ Upside เยอะกว่าก็ควรจะมีสัดส่วนสูงกว่า

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘