Tuesday, November 07, 2006 บทวิเคราะห์จากโบรกเกอร์

วันนี้จะมาเล่ากันเรื่องของบทวิเคราะห์ที่มาจากโบรกเกอร์ต่างๆนะครับ ซึ่ง เป็นแหล่งข้อมูลที่ดีอย่างหนึ่งที่ผมมักจะใช้ช่วยในการตัดสินใจอยู่เป็น ประจำ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะหาบทวิเคราะห์ได้ที่ไหนก็ลองเข้าไปที่เวป www.settrade.com > พิมพ์ชื่อที่สนใจลงไป > แล้ว click ที่ Analyst Concensus ดูก็จะมีรวมบทวิเคราะห์จากโบรกต่างๆให้พอสมควร แล้วแต่ว่าหุ้นตัวไหนเป็นที่นิยมมากเท่าไหร่ (น่าเสียดายที่หุ้นที่ผมชอบเล่นส่วนใหญ่มักจะมีบทวิเคราะห์ให้เลือกน้อย หรือบางตัวก็ไม่มีเลย)

บท วิเคราะห์แบ่งได้ออกเป็นหลายประเภท เช่น บทวิเคราะห์รายวัน บทวิเคราะห์เทคนิค บทวิเคราะห์รายอุตสาหกรรม และบทวิเคราะห์รายตัว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วที่ผมชอบอ่านจริงๆก็จะมีบทวิเคราะห์อุตสาหกรรมกับบท วิเคราะห์หุ้นรายตัวเท่านั้น ...(รายวันก็มีอ่านบ้าง ส่วนบทวิเคราะห์ทางเทคนิคนี่ไม่คิดจะเปิดเลย)

เวลา ที่มีคนแนะนำหุ้นตัวใหม่ๆให้ผมรู้จัก หรือไปอ่านเจอจากเวปบอร์ด ผมก็จะทำการศึกษาหุ้นให้ละเอียดขึ้นจาก 56-1 และงบการเงินจนพอเข้าใจธุรกิจแล้ว หลังจากนั้นสิ่งสำคัญที่ผมจะทำก่อนซื้อหุ้นคือต้องประมาณการรายได้และกำไรใน อนาคตออกมาให้ได้ ซึ่งก็มักจะได้จากข่าวที่ผู้บริหารให้สัมภาษณ์ คาดการณ์เอาเอง และหลายๆครั้งก็จะได้จากบทวิเคราะห์

ซึ่ง บทวิเคราะห์นี่เวลาอ่าน อ่านไปเชื่อเค้า 100% นะครับ เพราะเท่าที่ผมอ่านมาก็มีการคาดการณ์ผิดอยู่บ่อยพอดูเหมือนกัน ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะเชื่อบทวิเคราะห์ได้มากน้อยแค่ไหน? ผมมีวิธีง่ายๆครับ คือลองหาบทวิเคราะห์หลายๆโบรกมาดู ถ้าตัวเลขรายได้ส่วนใหญ่ที่วิเคราะห์ออกมาค่อนข้างใกล้เคียงกันหลายๆโบรก แบบนี้เป็นไปได้สูงว่านักวิเคราะห์เหล่านี้ได้สัมภาษณ์ผู้บริหารเหมือนๆกัน ทำให้ประมาณออกมาได้ใกล้เคียงกัน กรณีแบบนี้ผมจะเชื่อตัวเลขรายได้จากบทวิเคราะห์ดังกล่าวพอสมควร

ผมจะขอสรุปหลักการในการใช้ประโยชน์จากบทวิเคราะห์หุ้นรายตัวเป็นข้อๆนะครับ
  • ถ้าการคาดการณ์รายได้ของหลายสำนักค่อนข้างใกล้เคียงกัน โอกาสถูกก็สูง
  • อย่า เชื่อการคาดการณ์รายได้ในอนาคตเกินกว่า 1 ปีขึ้นไป เท่าที่ดูส่วนใหญ่โบรกจะคาดการณ์ไว้ต่างกันมาก และโอกาสผิดมักจะสูงกว่าโอกาสถูก
  • ตัว เลขค่าใช้จ่ายหรือผลกำไร จะให้ดีก็ไม่ควรเชื่อมากเท่าไหร่ ให้พยายามคิดด้วยตัวเองจะดีกว่าโดยคิดแบบ Conservative ไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย (คิดค่าใช้จ่ายให้เยอะไว้ก่อน คิดกำไรให้ต่ำ)
  • ราคาเป้าหมายของหุ้นในบทวิเคราะห์เป็นข้อมูลที่ "ไม่ควรให้ความสนใจ" มาก เป็นที่สุด ความน่าเชื่อถือต่ำเอามากๆ เพราะวิธีการประเมินมูลค่าหุ้นนั้น อย่างที่เคยบอกไปว่ามีอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียของตัวมันเอง การใช้วิธีที่ต่างกันอาจจะให้ค่าที่ต่างกันเป็นจำนวนมากได้ ปกติผมมักจะใช้ pe ในการประเมินมูลค่าหุ้น แล้วคิดออกมาเป็นช่วงราคาที่เหมาะสมเช่น หุ้น a ควรมี pe 8-10 ประมาณกำไรต่อหุ้นได้ 5 บาท เป้าหมายก็จะอยู่ที่ 40-50 บาท เวลาเข้าซื้อผมจะใช้ราคา 40 เป็นฐาน คิอราคาหุ้นต้องต่ำกว่า 40 พอสมควร (โดยทั่วไปก็จะเอา 1.3 หาร ซึ่งได้ประมาณ 30.7 บาท ถ้าราคาแพงกว่านี้ผมก็ไม่ซื้อ) แต่ถ้าซื้อหุ้นมาแล้วหุ้นมันขึ้นไปเกิน 40 ผมจะยังไม่ขายหุ้นออกไป โดยจะเปลี่ยนเป้าหมายเป็น 50 บาท ถ้าเกิน 50 ก็จะขาย
  • ข้อ สังเกตุอีกอย่างของราคาเป้าหมายในบทวิเคราะห์นั้นมักจะมี Bias (ลำเอียง) จากนักวิเคราะห์ค่อนข้างสูง ถ้าหุ้นตัวไหนไม่เป็นที่สนใจเป้าหมายก็มักจะต่ำ แต่ถ้าหุ้นตัวไหนราคาเริ่มวิ่ง คนเริ่มมาสนใจกันมากขึ้น นักวิเคราะห์มักจะถูกกระแสความนิยมในหุ้นตัวนั้น ทำให้ต้องปรับเป้าหมายเพิ่มขึ้นเสมอ ซึ่งจริงๆแล้วนักวิเคราะห์ที่ดีจะต้องไม่ใช้อารมณ์ของตลาดมามีส่วนในการวิ เคราะห์ ช่วงที่หุ้น KH อยู่แถวๆ 4 บาท ตอนนั้นเป้าหมายส่วนใหญ่ของบทวิเคราะห์ก็จะอยู่ที่ 4.5 พอหุ้นวิ่งเกิน 4.5 เค้าก็ปรับเป้าเป็น 5 บาท พอหุ้นเกิน 5 บาทก็ปรับเป็น 5.6 พอหุ้นทะลุ 6 บาท ก็ปรับเป็น 7 เป็น 8 วนแบบนี้ไปเรื่อยๆ ผมก็ไม่เข้าใจว่าใช่ช่วงเวลาไม่ถึงครึ่งปี ทำไมมูลค่าบริษัทมันเปลี่ยนแปลงได้เร็วขนาดนั้น ปกติมูลค่าของบริษัทนั้นมักจะเป็นตัวเลขที่ไม่ควรจะผันผวนอย่างรวดเร็ว แต่ควรจะแปลเปลี่ยนไปตามแนวโน้มธุรกิจ และความสามารถของบริษัท เพราะฉะนั้นตัวเลขที่เชื่อถือได้น้อยที่สุดในบทวิเคราะห์ก็คือราคาเป้าหมาย นี่เอง
  • บท วิเคราะห์ของบางโบรกก็น่าเชื่อถือได้ บางโบรกก็จะออกแนวมั่วๆซะเยอะ หรือหลายๆครั้งความน่าเชื่อของบทวิเคราะห์ก็จะขึ้นอยู่กับตัวนักวิเคราะห์ ด้วย บางคนก็เก่ง บางคนก็ห่วย แต่จะให้บอกว่าที่ไหนดี ที่ไหนห่วย ผมคงไม่ขอพูดดีกว่า เพราะเดี๋ยวเกิดเค้ามาอ่านเวปผมขึ้นมา ผมจะโดนด่าแม่เอาได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘