Tuesday, August 05, 2008 ข่าวกับหุ้น

การลงทุนกับการอ่านข่าวปกติแล้วก็ถือว่า เป็นของคู่กันอย่างแยกกันไม่ออก เพราะการที่เราจะสามารถวิเคราะห์บริษัท สถานการณ์ คู่แข่งขัน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทั้งในทางที่ดีขึ้นและแย่ลงนั้น ข่าวไม่ว่าจะจากหน้าหนังสือพิมพ์ Internet หรือแม้แต่ข้อมูลจากบทวิเคราะห์จากโบรกเกอร์ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น

แต่ ใครจะเคยคิดบ้างรึเปล่าว่าจริงๆแล้ว การอ่านข่าวนั้นสามารถทำให้ผลตอบแทนของเรานั้นแย่ลงได้เช่นกัน ... สาเหตุก็เพราะว่าปัจจุบันนั้น ผู้คนต่างให้ความสำคัญกับความเร็วของข้อมูลมาก เพื่อจุดประสงค์ที่จะสามารถตัดสินใจในการลงทุนได้อย่างรวดเร็วที่สุด เมื่อการมุ้งเน้นที่ความเร็วเกิดขึ้นเรื่อยๆ ความครบถ้วน ความถูกต้องของข่าวนั้นก็ลดลงเป็นเงาตามตัวด้วยเช่นกัน

ปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่ผมเห็นอยู่เป็นประจำก็คือ
แทน ที่ข่าวจะนำเสนอข้อมูลที่เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของเราในอนาคต ข่าวนั้นกลับมุ่งเน้นแต่การหาสาเหตุของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้ว

ลองมาดูตัวอย่างของข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์รวมถึงข่าวจากโทรทัศน์ดูนะครับ
- วันที่หุ้นลงไปเยอะๆ เช้าวันต่อมา ข่าวอาจจะพาดหัวว่า "หุ้นไทยไหลแรง จากผลกระทบของความกังวลเกี่ยวกับปัญหา Subprime "
- วันที่หุ้นขึ้นเยอะๆ เช้าวันต่อมา ข่าวจะพาดหัวว่า "หุ้นไทยเด้งแรง หลังนักลงทุนคลายความกังวลเรื่องปัญหา Subprime"
ถาม ว่าเราได้ข้อมูลอะไรจากข่าวข้างต้นบ้าง ... ผมว่าแทบจะไม่มีเนื้อหาข่าวอะไรเลย อาจจะมีประโยชน์อยู่บ้างก็คือทำให้คนที่ไม่เคยรู้จักกับคำว่า Subprime (ซึ่งก่อนหน้านี้ผมเองก็เป็นคนหนึ่งในนั้น) นั้นพอจะคุ้นเคยกับคำๆนี้มากขึ้น แต่ในแง่การลงทุนแล้ว ผมว่าข่าวนี้ไม่อ่านยังจะดีกว่า

ตัวอย่างอีกอันที่เห็นได้ชัดก็คือเรื่องของราคาน้ำมัน
- ในช่วงที่ราคาน้ำมันกำลังขึ้นข่าวต่างๆก็พากันเขียนไปในทางที่บอกว่าน้ำมัน นั้นจะขึ้นต่อไปน้ำมันจากปี 50 ที่ยังไม่ถึง $100 พุ่งขึ้นมาเกือบแตะ $150 มีทั้งบทวิเคราะห์ต่างประเทศ ผู้บริหารบริษัทน้ำมัน หรือนักวิเคราะห์ที่พูดให้ฟังกันตาม TV บอกว่าน้ำมันจะขึ้นไปเท่านู้นเท่านี้ บางรายถึงกับบอกว่าน้ำมันจะพุ่งไปสู่ระดับ $250 เหรียญในเวลาอันใคร
- เวลาผ่านจากเหตุการณ์ข้างต้นไปไม่นาน ราคาน้ำมันในตลาดโลกอยู่ดีๆก็เริ่มไหลลง จากระดับ $140 กว่า ลงมาเรื่อยๆจนเหลือ 120 กว่า... ข่าวและบทวิเคราะห์ตลาดสื่อต่างๆก็พากันเปลี่ยนแปลง .. เริ่มมีคนมาบอกว่าน้ำมันจะยืนลงไปต่อ อาจจะเหลือ 100 บทวิเคราะห์จากเลแมนบราเธอร์ก็ออกมาบอกว่า Demand น้ำมันจะลดลงทั่วโลกทำให้ราคาน้ำมันจะต้องลงไปต่อ หรือแม้แต่ประธาน Opec เองก็มาบอกว่าราคาน้ำมันที่เหมาะสมนั้นจะอยู่ที่ระดับเพียงเลข 2 หลักเท่านั้น

ข่าวดี และข่าวร้ายในตลาดนั้นมันมีอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วครับ เพียงแต่ว่าคนจะเลือกหยิบข่าวประเภทไหนมานำเสนอเท่านั้นเอง เมื่อตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้น ข่าวดีจะออกมาเยอะมาก ช่วงตลาดขาลง ข่าวร้ายก็จะเพียบเช่นกัน

จุด ที่อยากชี้ให้เห็นก็คือ การเลือกบริโภคข่าวนั้นเป็นได้ทั้งดาบสองคม ... นักลงทุนที่ซื้อขายหุ้นน้ำมันตามข่าวอาจจะเจ็บตัวอย่างมาก ถ้าอ่านข่าวว่าน้ำมันจะขึ้นๆ แล้วสุดท้ายก็ไปซื้อหุ้นพลังงานเมื่อราคากำลังพุ่งแรงขึ้นไปเรื่อยๆ แล้วสุดท้ายก็ต้องมาขายหุ้นเหล่านี้ทิ้งในการที่ถูกกว่าเดิมมาก เมื่อราคาน้ำมันไหลลง บวกกับข่าวที่ออกมาในแนวทางตรงข้ามกับที่เคยเป็น ...

นัก ลงทุนเน้นคุณค่าที่ดีนั้นจะต้องไม่เป็นคนที่เปลี่ยนตามกระแสไปได้ง่ายๆ การวิเคราะห์ก็ควรจะเลือกวิเคราะห์สิ่งที่ตัวเองเข้าใจ อะไรที่ไม่เข้าใจก็พยายามอยู่ให้ห่างๆ (เช่นเราคาดการณ์ราคาน้ำมันไม่ได้ว่าจะขึ้นหรือลง ก็อย่าไปเล่นหุ้น PTT PTTEP) เลือกบริโภคข้อมูลที่เป็น Fact ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่เราลงทุนอยู่แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยตัวเอง และอย่าให้ข่าวร้ายต่างๆทำให้เราหดหู่และตัดใจขายในราคาที่ถูกกว่าที่ควรจะ เป็น และอย่าให้ข่าวดีที่จะมาในช่วงที่หุ้นกำลังขึ้นเอาๆ มาทำให้เราโลภและซื้อหุ้นในขณะที่ราคามันแพงว่าพื้นฐาน

หมาย เหตุ. บทความนี้ไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อไม่ให้คนไม่ต้องอ่านข่าว ไม่เชื่อข่าว หรือบทวิเคราะห์นะครับ เพียงแต่อยากให้ระวังในการบริโภคข้อมูล อย่าเชื่อทุกอย่างที่ได้อ่านหรือได้ยิน ในขณะเดียวกันก็อย่าเชื่อมั่นแต่ความคิดของตัวเองเพียงอย่างเดียวโดยปฏิเสธ ที่จะรับข้อมูลที่มีประโยชน์

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘