Thursday, August 27, 2009 ลืมต้นทุน

พอดีว่ามีน้องคนนึงส่งข้อความมาถามผม เรื่องการลืมต้นทุน คิดว่ามีประโยชน์เลยเอามาแปะไว้ใน Blog ด้วยดีกว่า .. แฮะๆ อู้อยู่นานมาเขียนซะที
___ Qoute ____
เคย อ่านกระทู้พี่ yoyo เคยทักพี่คนนึง ว่า ทำการบ้านเลือกหุ้นมาดิบดี แล้ว เอาต้นทุนที่ซื้อมาโพสต์ทำไม และบอกว่า ต้นทุนที่ซื้อมาเป็นจุดอ่อนของการเป็น VI ที่ดี

ผมอยากรู้ที่มาที่ไปครับ จะได้เลิกติดนิสัยดูต้นทุนหุ้นสักที

กรณี ที่ผมจะฝึกตัวเองไม่ให้ดูต้นทุนที่ซื้อมา แปลว่า สิ่งที่อนุญาตให้ตัวเองจดลงกระดาษ มีเพียง 1. ชื่อหุ้นที่ซื้อ 2. จำนวนเงินที่ลงทุนไป 3. .... ฯลฯ
___ End qoute_________

VI คืออะไรครับ... คือ การลงทุนที่เน้นมูลค่าเพราะฉะนั้นตัวแปรสำคัญในการลงทุนแนวนี้คือราคาตลาด และ ราคาเหมาะสมถ้าราคาตลาดต่ำกว่าราคาเหมาะสม ก็น่าซื้อหรือถือถ้าราคาตลาดเกินราคาเหมาะสม ก็น่าขาย
สังเกตุดูดีๆครับ ว่ามันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับต้นทุนของเราเลยจริงๆ.. จากนี้สรุปได้ว่าต้นทุนไม่ได้ช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นเลย


แต่ถึงกับเป็นจุดอ่อนเลยเหรอ... อืม เพราะคนส่วนใหญ่ชอบเอาต้นทุนมาเป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจไงครับ

สมมติ ว่าเราซื้อหุ้นตัวนึงมา 7 บาท โดยคิดว่าราคาเหมาะสมคือ 10 บาทซื้อมาปุ๊บหุ้นลงไป 6 บาท แล้วมีข่าวใหม่ๆออกมาทำให้พื้นฐานของหุ้นเปลี่ยนไป เราคำนวณมูลค่าเหมาะสมใหม่ได้ 5 บาท....

กรณีนี้คนส่วนใหญ่ทำไงครับ.... เมื่อหุ้นอยู่ 6 บาท ?
- คนส่วนใหญ่รอครับ รอให้หุ้นถึง 7 บาท (ถึงทุนก่อน) ค่อยขายในขณะที่ VI ที่ดีนั้นจะขายหุ้นทันที เพราะราคามันเกินราคาเหมาะสมอยู่ โดยไม่สนต้นทุน

แล้ว ทำไมคนที่ดูต้นทุนถึงไม่ยอมขายเหรอครับ.. เพราะคนทั่วไปมักจะไม่ชอบยอมรับว่าตัวเองผิด การที่เราซื้อหุ้นมา 7 บาทแล้วขาย 6 บาท นั้นจะรู้สึกผิดหวังทั้งผิดหวังเพราะขาดทุน และผิดหวังเพราะเป็นการยอมรับว่าตัวเองผิด เพราะงั้นคนกลุ่มนี้จึงมักจะยึดคติ "ไม่ขายไม่ขาดทุน" เรียกว่าไม่อยากยอมรับผิดกันเลย เพราะกลัวจะผิดหวัง

ในขณะที่ VI ที่ดีไม่สนใจหรอกครับว่าตัวเองจะขาดทุนรึเปล่า ในเมื่อราคาเกินมูลค่าก็ขาย.. นอกจากนี้ VI ยังเอาเงินก้อนนี้ไปซื้อหุ้นตัวใหม่ที่มีราคาต่ำกว่าที่ควรจะเป็นตัวอื่น

จุด จบของวงจรนี้ก็คือ คนที่ดูแต่ต้นทุนก็ยังคงถือหุ้นที่รอวันจะมีมูลค่าต่ำลง และขาดทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ VI ที่ขาดหุ้นที่ตัวเองรับว่าคิดผิด ไปซื้อหุ้นตัวใหม่แล้วสุดท้ายก็จะสามารถทำกำไรกลับขึ้นมาได้ในระยะยาว

เวลา ผมซื้อขายหุ้นผมจะบันทึกลงไปใน excel ว่าซื้อขายหุ้นอะไร เท่าไหร่ เมื่อใด จุดประสงค์เพื่อ Cross check กับโบรกเกอร์ว่ามีผิดพลาดรึเปล่า และเพื่อเอาไว้บริหารเงินสด ให้เพียงพอไม่พลาดไปซื้อหุ้นทั้งที่ตัวเองไม่มีเงินจ่าย พอดีว่าเวลาผมซื้อหุ้นนั้นผมมักจะซื้อหลายครั้ง ด้วยสาเหตุที่เมื่อผมมีข้อมูลมากขึ้นผมก็ซื้อหุ้นเพิ่ม หรือเวลาขายก็เหมือนกัน.. ผมก็มักจะขายหลายๆ lot เพื่อที่จะแบ่งหุ้นที่ upside น้อยไปซื้อหุ้นที่ upside เยอะ จนทำให้ผมไม่รู้ว่าต้นทุนตัวเองเป็นเท่าไหร่กันแน่.. คือถ้าอยากรู้ก็ต้องมานั่งคำนวณกันจริงๆจังๆละครับ

สรุปว่าในหน้า excel หน้าหลักผมจะบันทึกเฉพาะจำนวนหุ้น ราคาเป้าหมาย Upside สัดส่วนของหุ้นใน port คือจะบันทึกหน้าหลักไว้เฉพาะข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจเท่านั้นครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘