วางหมาก...กระดานหุ้น ตอน เปิดตัว T-EMA

คราวที่แล้ว ผมได้นำเสนอกลยุทธ์การลงทุนแบบใหม่ คือ FTA (Fundamentally Technical Analysis) เป็นกลยุทธ์การลงทุนโดยอาศัยจุดเด่นของการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานมาช่วย ในการสรรหาหุ้นดี มาลงทุน ซึ่งหลักการในการสรรหาหุ้น หรือบริษัทที่น่าลงทุน เหมือนกับหลักการของ “บัฟเฟตต์” ทุกประการ จากนั้นก็อาศัยแนวคิดหลัก หรือเคล็ดวิชาเดียวกับ DSM คือ “ทำอย่างไรให้เงินจำนวนเท่าเดิม มีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นมาได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับเงินปันผลให้มากขึ้น” แต่วิธีการแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยผมจะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค มาช่วยเพิ่มจำนวนหุ้น ตามลิงค์นี้ครับ

http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I3299212/I3299212.html

ใน ตอนนี้ ผมจะนำเสนอเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ผมดัดแปลงขึ้นจาก Basic Technical ซึ่งผมตั้งชื่อว่า “T-EMA” หรือ “The Three Line of Moving Averages” เป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย แต่ทรงประสิทธิภาพ

เครื่องมือ นี้ ผมได้แรงบันดาลใจมาจากงานวิจัยเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคทั้ง 9 ฉบับ ที่ผมได้นำเสนอไปเมื่อเดือน ต.ค.-พ.ย. ปีที่แล้ว

แต่เป็นที่น่า เสียดายว่าฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นฉบับสุดท้าย, เป็นฉบับที่สรุปผลการวิจัยทั้ง 8 ฉบับที่ผ่านมา และเป็นแรงบันดาลใจของผมได้หายไปจากคลังกระทู้เก่าเสียแล้ว (ฉบับอื่น ยังคงอยู่ แต่อาจจะมีไม่ครบทั้ง 8 ฉบับ) ผมจึงขอลงไว้ให้ได้อ่านและเก็บกันอีกครั้ง

นำเสนองานวิจัย EMA 5, 10 (ในที่สุดก็ชนะ)

งาน ฉบับนี้นำ EMA 5, 10 มาทำการทดสอบความสามารถในการทำกำไรเทียบกับการลงทุนแบบ buy-and-hold โดยการใช้ข้อมูลรายวันของ SET Index (ต้องการศึกษาภาพรวมของทั้งตลาด จึงไม่เจาะจงหุ้นเป็นรายตัว) ตั้งแต่วันที่ 14/12/2000 ถึง 23/7/2004 เก็บข้อมูลจาก REUTERS Version Kobra โดยมี Transaction Cost คือ อัตราค่านายหน้า 0.25% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% การคิด Return ใช้วิธี Continuous Compounded Return สัญญาณการซื้อขายของ EMA 5, 10 คือ
EMA Cross คือ พิจารณาที่เส้น EMA 5 และเส้น EMA 10 หาก EMA 5 ตัดเส้น EMA 10 ขึ้น ให้ซื้อ ตัดลงให้ขาย (นั่นคือค่า EMA5 > EMA 10 ให้ซื้อ, EMA5 < EMA10 ให้ขาย) Assumption ในการศึกษาคือ 1.คิดอัตราผลตอบแทนเฉพาะ Capital gain เท่านั้น ไม่นำ Dividend yield มาคิด 2.ช่วง ที่สัญญาณบอกให้ขาย ให้นำเงินนั้นไปลงทุนใน risk free เท่านั้นไม่มีการนำเงินไปทำอย่างอื่น โดย risk free rate ที่ใช้ ใช้ Repo 1 day rate โดยการเก็บข้อมูลจาก DataStream 3. ใช้ราคาปิดมาคำนวณอัตราผลตอบแทน ผลการทดสอบพบว่า EMA 5, 10 ให้อัตราผลตอบแทน 90.75% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 22.69% ต่อปี การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 86.91% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 21.73% ต่อปี สรุปผลการทดลอง เรียงลำดับวิธีการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนจากมากไปน้อยได้ดังนี้ EMA 5, 10 > Buy-and-hold > SSTO 80/20 > EMA 5, 35 > SSTO Cross 80/20 > MACD 12, 26 > EMA 10, 25 > SSTO Cross > SSTO 70/30 > SSTO Cross 70/30 > RSI 14 > RSI 4 > RSI 9 > RSI 20

เปรียบเทียบในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกัน) อย่างมีนัยสำคัญ

นี่ เป็นผลงานการวิจัยฉบับที่ 9 ครับ เมื่อผมเห็นว่า EMA 5, 10 สามารถชนะ buy-and-hold ได้ ผมเลยลองทำงานวิจัยฉบับที่ 10 ต่อ แต่ผมไม่ได้เผยแพร่ เพราะผมคิดไว้แล้วว่า ถ้างานฉบับที่ 10 นี้ สามารถชนะ buy-and-hold ได้อีก ผมจะลองนำ 2 เครื่องมือมาผสมผสานกันดู และจะสร้างเครื่องมือใหม่ ซึ่งจะนำเสนออีกครั้ง ซึ่งเวลานี้ก็พร้อมที่จะนำเสนอแล้วครับ

นำเสนองานวิจัยฉบับที่ 10 EMA 1, 5 (ในที่สุดก็ชนะอีกครั้ง)

สัญญาณการซื้อขายของ EMA 1, 5 คือ
EMA Cross คือ พิจารณาที่เส้น EMA 1 และเส้น EMA 5 หาก EMA 1 ตัดเส้น EMA 5 ขึ้น ให้ซื้อ ตัดลงให้ขาย (นั่นคือค่า EMA1 > EMA5 ให้ซื้อ, EMA1 < EMA5 ให้ขาย) ผลการทดสอบพบว่า EMA 1, 5 ให้อัตราผลตอบแทน 106.68% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 26.67% ต่อปี การลงทุนแบบ buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 86.91% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 21.73% ต่อปี สรุปผลการทดลอง เรียงลำดับวิธีการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนจากมากไปน้อยได้ดังนี้ EMA 1, 5 > EMA 5, 10 > Buy-and-hold > SSTO 80/20 > EMA 5, 35 > SSTO Cross 80/20 > MACD 12, 26 > EMA 10, 25 > SSTO Cross > SSTO 70/30 > SSTO Cross 70/30 > RSI 14 > RSI 4 > RSI 9 > RSI 20

เปรียบเทียบในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา (ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกัน) อย่างมีนัยสำคัญ

เมื่อ ผลการทดสอบออกมาพบว่า EMA1, 5 และ EMA 5, 10 สามารถชนะ buy-and-hold ได้ จึงทำให้ผมเกิดแรงบันดาลใจในการดัดแปลงเครื่องมือ EMA ให้ใช้ผสมผสานกัน 3 เส้น

ผมจึงเริ่มศึกษา EMA อย่างจริงจัง และไปพบงานวิจัยของ R.C. Allen ที่เขียนในหนังสือชื่อ “How to Use the 4-Day, 9 Day and 18 Day Moving Averages to Earn Larger Profits from Commodities” ปี 1974

Allen ได้นำเสนอเครื่องมือใหม่ โดยเขาให้ชื่อว่า 4-9-18-day moving average combination

โดย เครื่องมือนี้จะให้สัญญาณ buying alert (สัญญาณเตือนให้เตรียมพร้อมเข้าซื้อ) เมื่อ EMA4 > EMA 9 และ EMA4 > EMA18 แต่ EMA9 < EMA18 เครื่องมือนี้จะให้สัญญาณ buy signal (สัญญาณให้ซื้อ) เมื่อ EMA4 > EMA9 > EMA18 ซึ่ง Allen เสนอว่า เมื่อใดที่ สัญญาณออกมาเป็นแบบนี้ เป็นการส่งสัญญาณว่า เข้าสู่ภาวะ uptrend

ใน ทางตรงข้าม เครื่องมือนี้จะให้สัญญาณ selling alert (สัญญาณเตือนให้เตรียมพร้อมขายทิ้ง) เมื่อ EMA4 < EMA 9 และ EMA4 < EMA18 แต่ EMA9 > EMA18

เครื่องมือนี้จะให้สัญญาณ sell signal (สัญญาณให้ขาย) เมื่อ EMA4 < EMA9 < EMA18 ซึ่ง Allen เสนอว่า เมื่อใดที่ สัญญาณออกมาเป็นแบบนี้ เป็นการส่งสัญญาณว่า เข้าสู่ภาวะ downtrend อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ John J. Murphy: Technical Analysis of the Futures Markets, 1986 หน้า 248-250 (หาอ่านได้ที่ห้องสมุดศศินทร์ และห้องสมุดคณะบัญชี จุฬาฯ) ดังนั้นผม จึงนำแนวคิดของ Allen มาประยุกต์ต่อ โดยการนำเส้น EMA 1, 5 และ EMA 5, 10 มาผสมผสานกัน ได้ออกมาเป็น EMA 3 เส้น หรือ The Three Line of Moving Averages โดยผมตั้งชื่อว่า “T-EMA” สัญญาณการซื้อ-ขาย ผมตั้งกฎออกมา 3 แบบ ดังนี้ One Way Go – คือซื้อเมื่อ EMA1 > EMA5 > EMA 10 และขายเมื่อ EMA1 < EMA5, EMA1 < EMA10 แต่ EMA5 > EMA10

One Way Back – คือซื้อเมื่อ EMA1 > EMA5, EMA1 > EMA10 แต่ EMA5 < EMA10 และขายเมื่อ EMA1 < EMA5 < EMA10 Two Way – คือซื้อเมื่อ EMA1 > EMA5 > EMA 10 และขายเมื่อ EMA1 < EMA5 < EMA10 จากกฎดังกล่าวจะเห็นว่า One Way Go การเข้าซื้อจะช้ากว่าขาย ควรจะใช้เมื่อตลาดมีแนวโน้มลง คือ เวลาซื้อจะช้า แต่พอขายจะเร็ว จะได้หนีทัน จะสังเกตได้ว่าสัญญาณขายของ One Way Go จะเป็น selling alert ของแนวคิดของ Allen One Way Back การเข้าซื้อจะเร็วกว่าขาย ควรจะใช้เมื่อตลาดมีแนวโน้มขึ้น คือ เวลาซื้อจะเร็ว จะได้ไม่ตกรถไฟ เวลาขายจะช้าหน่อย เดี๋ยวขายหมู จะสังเกตได้ว่าสัญญาณซื้อของ One Way Back จะเป็น buying alert ของแนวคิดของ Allen Two Way การเข้าซื้อเร็วพอๆ กับขาย ควรจะใช้เมื่อตลาดมีแนวโน้มกลางๆ หรือ Side way จะสังเกตได้ว่าสัญญาณซื้อ-ขาย ของ Two Way จะเป็น buy-sell signal ของแนวคิดของ Allen ลองมาดูรูปกัน 3 ภาพนี้ จะเป็นการยกตัวอย่างการใช้กฎ Two Way คือ จะซื้อเมื่อ EMA1 > EMA5 > EMA 10 และขายเมื่อ EMA1 < EMA5 < EMA10 เส้นสีน้ำเงินคือ EMA1 เส้นสีเขียวคือ EMA5 เส้นสีเหลืองคือ EMA10 รูปที่ 2 รูปที่ 3 เมื่อ ผมคิดกฎการซื้อขายทั้ง 3 แบบ คือ One Way Go, One Way Back และ Two Way ได้แล้ว ขั้นต่อมา ผมก็ทำงานวิจัยชิ้นที่ 11 ขึ้น ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และสิงค์โปร์ มีรายละเอียดและผลการศึกษาดังนี้ นำเสนอผลการวิจัย T-EMA 1, 5, 10 งาน ฉบับนี้นำ T-EMA 1, 5, 10 มาทำการทดสอบความสามารถในการทำกำไรเทียบกับการลงทุนแบบ buy-and-hold โดยการใช้ข้อมูลรายวันของ Index ในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน 5 ประเทศ ดังนี้ SET Index ตั้งแต่วันที่ 14/12/2000 ถึง 23/7/2004 เก็บข้อมูลจาก REUTERS Version Kobra โดยมี Transaction Cost คือ อัตราค่านายหน้า 0.25% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% การคิด Return ใช้วิธี Continuous Compounded Return KLSE Composite ตั้งแต่วันที่ 12/9/2002 ถึง 23/7/2004 เก็บข้อมูลจาก REUTERS Version Kobra โดยมี Transaction Cost คือ อัตราค่านายหน้า 0.50% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% การคิด Return ใช้วิธี Continuous Compounded Return PSE Composite ตั้งแต่วันที่ 8/5/2002 ถึง 23/7/2004 เก็บข้อมูลจาก REUTERS Version Kobra โดยมี Transaction Cost คือ อัตราค่านายหน้า 0.75% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% การคิด Return ใช้วิธี Continuous Compounded Return JKSE Composite ตั้งแต่วันที่ 8/5/2002 ถึง 23/7/2004 เก็บข้อมูลจาก REUTERS Version Kobra โดยมี Transaction Cost คือ อัตราค่านายหน้า 0.50% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% การคิด Return ใช้วิธี Continuous Compounded Return ST Composite ตั้งแต่วันที่ 30/9/2001 ถึง 23/7/2004 เก็บข้อมูลจาก REUTERS Version Kobra โดยมี Transaction Cost คือ อัตราค่านายหน้า 0.25% และภาษีมูลค่าเพิ่ม 3% การคิด Return ใช้วิธี Continuous Compounded Return Assumption ในการศึกษาคือ 1.คิดอัตราผลตอบแทนเฉพาะ Capital gain เท่านั้น ไม่นำ Dividend yield มาคิด 2.ใช้ราคาปิดมาคำนวณอัตราผลตอบแทน ผลการทดสอบพบว่า SET Index One Way Go ให้อัตราผลตอบแทน 92.03% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 23.01% ต่อปี One Way Back ให้อัตราผลตอบแทน 90.66% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 22.67% ต่อปี Two Way ให้อัตราผลตอบแทน 89.35% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 22.38% ต่อปี buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 86.91% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 21.73% ต่อปี KLSE Composite One Way Go ให้อัตราผลตอบแทน 10.32% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 5.16% ต่อปี One Way Back ให้อัตราผลตอบแทน 19.70% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 9.85% ต่อปี Two Way ให้อัตราผลตอบแทน 17.54% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 8.77% ต่อปี buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 18.39% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 9.20% ต่อปี PSE Composite One Way Go ให้อัตราผลตอบแทน 20.10% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 10.05% ต่อปี One Way Back ให้อัตราผลตอบแทน 16.02% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 8.01% ต่อปี Two Way ให้อัตราผลตอบแทน 19.06% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 9.53% ต่อปี buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 14.00% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 7% ต่อปี JKSE Composite One Way Go ให้อัตราผลตอบแทน 57.80% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 28.90% ต่อปี One Way Back ให้อัตราผลตอบแทน 55.96% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 27.98% ต่อปี Two Way ให้อัตราผลตอบแทน 53.42% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 26.71% ต่อปี buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 44.49% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 22.25% ต่อปี ST Composite One Way Go ให้อัตราผลตอบแทน 9.36% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 4.68% ต่อปี One Way Back ให้อัตราผลตอบแทน 10.44% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 5.22% ต่อปี Two Way ให้อัตราผลตอบแทน 3.86% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 1.93% ต่อปี buy-and-hold ให้อัตราผลตอบแทน 10.36% ของช่วงเวลาศึกษา หรือ คิดเป็น 5.18% ต่อปี สรุปผลการทดลอง เรียงลำดับวิธีการลงทุนที่ให้อัตราผลตอบแทนจากมากไปน้อยได้ดังนี้ SET Index One Way Go > One Way Back > Two Way > Buy-and-hold
KLSE Composite
One Way Back > Buy-and-hold > Two Way > One Way Back

PSE Composite
One Way Go > Two Way > One Way Back > Buy-and-hold

JKSE Composite
One Way Go > One Way Back > Two Way > Buy-and-hold

ST Composite
One Way Back > Buy-and-hold > One Way Go > Two Way

จากผลการทดสอบ จะเห็นว่า T-EMA สามารถชนะ Buy-and-hold ได้ ทั้ง 5 ประเทศ

โดยส่วนตัว หากผมนับคลื่นไม่ออก ผมก็อาศัย T-EMA เป็น Model Trade เพื่อใช้ทำ FTA ซึ่งก็ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ

หาก ต่อไปผมขี้เกียจนับคลื่น ก็คงใช้เครื่องมือนี้ร่วมกับเครื่องมืออื่นเป็น Model Trade เพราะใช้ง่ายดีครับ แต่ทรงประสิทธิภาพ และผมคงจะทำวิจัยใหม่ทุกๆ 5 ปี เพื่อความมั่นใจในการนำไปใช้

ตอนนี้คงหยุดเพียงเท่านี้ หวังว่าคงจะเข้าใจ T-EMA กันมากขึ้น หากลองใช้ดูแล้วผลเป็นอย่างไร บอกกล่าวกันด้วยนะครับ

ขอให้จอมยุทธ์ทุกท่าน อยู่รอดปลอดภัยในยุทธภพนี้ด้วยเทอญ

“แมงเม่าของเมื่อวันวาน คือ เซียนหุ้นของพรุ่งนี้”

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘