Sunday, July 16, 2006 OEM

ในตลาดหุ้นไทยมีหุ้นอยู่จำพวกหนึ่งที่นับว่ามีจำนวนมากในตลาด หุ้นกลุ่มนี้ผมเรียกว่ากลุ่ม OEM (original equipment manufacturer) หุ้น OEM นี้เป็นธุรกิจที่มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง รับจ้างผลิตสินค้าให้คนอื่น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นการรับจางผลิตสินค้าให้กับสินค้าที่มี Brand ของพวกบริษัทข้าม หุ้น OEM นี้กระจายอยู่ในหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น กลุ่มยานยนต์ กลุ่มชิ้นอิเล็กทรอนิก ชิ้นส่วนอุตสาหกรรมและเครื่องจักร ฯลฯ หุ้นกลุ่มนี้แม้ว่าจะอยู่กระจายกันออกไปในหลายธุรกิจ แต่มักจะมีลักษณะความคล้ายคลึงกันหลายประการ ลองมาดูลักษณะทั่วไปของหุ้นกลุ่มนี้กันดู
- ไม่มีแบรนด์เป็นของตัวเอง อาศัยผลิตให้สินค้าแบรนด์ดังต่างๆ เพราะฉะนั้นการวิเคราะห์ตัวธุรกิจเราจะต้องเข้าใจลึกลงไปถึงแบรนด์ที่เป็น ลูกค้าของบริษัทด้วย สมมติบริษัท A มีลูกค้ารายใหญ่เป็นรถยนต์ยี่ห้อ B ยอดขายของ B ลดลงเรื่อยๆ แนวโน้มรายได้ของหุ้น A ก็น่าจะลดลงตาม
- คู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันมักจะมีขนาดเล็ก หลายราย และบริษัท OEM มักจะมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับลูกค้า จุดนี้เป็นความเสี่ยงที่สำคัญมากๆอย่างหนึ่งของหุ้น OEM เพราะการที่ลูกค้ามีขนาดใหญ่กว่าตัวเองมาก ทำให้อำนาจการต่อรองของลูกค้ามีสูงกว่าเรา และบริษัทมักจะโดนบีบให้ลดราคาให้ลูกค้า แล้วส่วนใหญ่ก็ต้องลดราคาให้เพราะกลัวว่าจะลูกค้าจะหันไปใช้ของคู่แข่งราย อื่น เพราะฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นราคาที่เติบโตขึ้นแต่กำไรของบริษัท อาจจะลดลงได้

เพราะฉะนั้นก่อนที่จะลงทุนในหุ้น OEM นั้นต้องมีความระวังมากเป็นพิเศษ และจะให้ดีต้องเข้าใจอุตสาหกรรมหลักของลูกค้าเยอะๆ แต่ ที่พูดมานี่ก็ไม่ได้หมายความว่าหุ้น OEM จะแย่ไปซะหมดนะครับ ในตลาดหุ้นก็ยังพอมีหุ้น OEM บางตัวที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากหุ้นตัวอื่นๆ เช่น
  • หุ้น STANLY (หุ้นยอดฮิตของ VI ในอดีต) ถึงแม้จะเป็น OEM แต่มีข้อแตกต่างคือบริษัทนี้มีส่วนแบ่งการตลาดของโคมและไฟรถเกือบ 100% ทำให้อำนาจการต่อรองนั้นไม่ได้ตกไปอยู่กับลูกค้ามากเท่ากับหุ้น OEM ที่มีส่วนแบ่งการตลาดน้อยๆ ที่ผ่านมาเป็นเวลาหลายปี STANLY ก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในช่วงหลังๆมานี้จะโตด้วยอัตราที่ลดลงกว่าในอดีตมาก
  • หุ้น SNC เริ่มจากเป็นผู้ผลิตท่อทองแดงในแอร์บ้าน แล้วหลังจากนั้นก็ขยายธุรกิจเพิ่มไปผลิตชิ้นส่วนแอร์รถ ชิ้นส่วนตู้เย็น แม่พิมพ์ ไมโครเวฟ หม้อหุงบข้าว บริษัทนี้ก็มีลักษณะที่แตกต่างจาก OEM ทั่วไปคือส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทก็สูงมากเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ในสินค้าบางประเภทเช่น compressor ส่วนแบ่ง 100% ชิ้นส่วนแอร์บ้าน แอร์รถก็มีส่วนแบ่งเกือบ 100% เพราะแต่เดิมไม่มีธุรกิจชิ้นส่วนท่อแอร์อยู่ แต่ SNC เป็นผู้เริ่มที่จะรับงานชิ้นส่วนมาจากลูกค้าทำให้คู่แข่งหลักของ SNC ก็คือลูกค้า ถ้า SNC สามารถชักชวนลูกค้าให้ยกสายการผลิตมาให้บริษัทได้เพิ่มขึ้น โอกาสที่คู่แข่งใหม่เข้ามาก็แทบจะไม่มีเลย อำนาจการต่อรองของลูกค้าจึงมีไม่มาก นอกจากนี้SNC ยังมีจุดเด่นคือบริษัทยังอยู่ในช่วงเติบโตสูงอยู่ ยังมีโอกาสที่สามารถโตในระดับ 30% ติดต่อกันได้อีกนานพอสมควร
หุ้น OEM เป็นหุ้นที่ต้องระวังในการลงทุน แต่ถ้าใครอยู่ในธุรกิจเดียวกับหุ้นตัวนั้นๆ แล้วเข้าใจอุตสาหกรรมนั้นๆดี โอกาสในการลงทุนหุ้น OEM ก็ยังมีอยู่ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘