Sunday, February 18, 2007 ปัญหาของค่าเงิน

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราเป็นอีกปัจจัย สำคัญอย่างหนึ่งในการเลือกซื้อหุ้น ... เพราะในบ้านเรามีธุรกิจมากมายที่พึ่งพาการนำเข้าหรือส่งออก โดยเฉพาะหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ ผมว่าเกือบครึ่งได้รับผลกระทบจากค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไปบ้างไม่มากก็น้อย ... ลองยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆนะครับว่าธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์นั้นกระทบอย่าง ไรบ้าง

ในอดีตช่วงที่มีการลอยตัวค่าเงินบาท ค่าเงินบาทนั้นอ่อนค่าลงจาก 25บาท/us มาเป็น 40-50 บาท/us หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการอ่อนตัวของค่าเงินก็คือหุ้นที่มีรายได้เป็นเงิน us เพราะสมมติว่าขายของเป็น us แต่เดิมขายได้ 1 us เอามาแลกเป็นบาทได้ 25 พอค่าเงินบาทลอยตัว ขายของได้ 1 us เอาไปแลกได้ 50 บาท .. กำไรเพิ่มขึ้นแบบทันตาเห็น ...
ในขณะเดียวกันธุรกิจที่ซวยก็คือธุรกิจนำ เข้าสินค้าโดยจ่ายเงินเป็น us และบริษัทที่มีหนี้เป็น us เพราะแต่เดิมซื้อของหรือเป็นหนี้เค้า 1 us ก็เอาเงินบาท 25 บาท ไปแลกแล้วจ่าย แต่พอค่าเงินเปลี่ยน ต้องเอา 50 บาทไปแลกเป็น us .. แบบนี้ก็เจ๊งเห็นๆเหมือนกัน มีหลายบริษัทที่ปิดตัวไปเพราะไปกู้หนี้เป็น us มาแล้วสุดท้ายหนี้มันก็เหมือนเพิ่มมาอีก 1 เท่าตัว ไม่มีปัญญาจ่าย

การ เปลี่ยนแปลงค่าเงินนั้นมีผลกระทบทั้งทางบวกกับหุ้นกลุ่มนึง และก็มีผลทางลบได้เช่นกัน .. อยู่ที่เราจะต้องเลือกหุ้นให้ถูก ในทุกวิกฤตก็มีโอกาสเสมอ ...

ในช่วงนี้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมาแม้จะไม่ มากเหมือนตอนลอยตัวค่าเงินบาท แต่ก็นับได้ว่ามีผลกระทบไม่น้อยเหมือนกัน คือจาก 40 บาท/us มาเป็นประมาณ 36บาท/us คิดเป็นเงิน us แข็งค่าขึ้นประมาณ 10% ดังนั้นกลุ่มที่ซวยหน่อยก็คือพวกที่ส่งออก ส่วนพวกที่ได้ประโยชน์ก็พวกที่นำเข้ากับพวกที่มีหนี้สินเป็น us (หุ้นที่มีหนี้สินเป็น us นี่ผมจะข้ามไป เพราะคงได้ประโยชน์ไม่เต็มที่เท่าไหร่ เพราะถ้ามีหนี้สินเป็น us แต่ไม่มาก ก็จะไม่ได้ประโยชน์เท่าไหร่จากค่าเงิน แต่ถ้ามีหนี้มากๆ ถึงจะได้ประโยชน์จากค่าเงิน ผมเองก็ไม่ชอบอยู่ดี เพราะบริษัทหนี้เยอะๆนี่เสี่ยง)

ที่เอามาเขียนในที่นี้อยากจะเตือน ให้ระวังหุ้นที่ส่งออกให้มากหน่อยครับ .. เพราะผมเคยเห็นบางคนเข้าใจผิดเมื่อคิดถึงผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น .. โดยผมจะยกตัวอย่างที่มีการเข้าใจผิดให้ดูนะครับ

หุ้น a มีรายได้จากการส่งออกไป us 100% ในปีล่าสุดมีรายได้ประมาณ 100 ล้าน ต้นทุนทางตรงประมาณ 70 ล้าน (หรือมี gross margin ประมาณ 30%) ค่าใช้จ่ายขายและบริหาร 10 ล้าน สมมติว่าไม่มีเงินกู้ เลยไม่มีดอกเบี้ย .. บริษัทจะเสียภาษีจากกำไรก่อนภาษีที่ 20 ล้านบาท เป็นจำนวนเงิน 6 ล้าน เหลือเป็นกำไรสุทธิ 14 ล้าน

สมมติ us อ่อนลง (บาทแข็ง) จาก 40 มาเป็น 36 หรือประมาณ 10% ที่ผมเคยเห็นคนคิด เค้าบอกว่าเงินบาทแข็ง 10% กำไรก็น่าจะลดลงประมาณ 10% เหมือนกัน ดังนั้นกำไรจาก 14 ล้านจะเหลือ 12.6 ล้าน ซึ่งก็ไม่ได้ลดลงมาก หุ้นที่ราคาถูกอยู่ก็ยังคงถูกอยู่ดี ทำให้บางคนยังละเลยผลกระทบส่วนนี้ไปบ้าง (บางคนก็อาจจะไม่ได้คำนวณออกมาเป็นตัวเลขเลยด้วยซ้ำ แค่คิดเอาในใจว่ารายได้ลดลง 10% ก็คงไม่เดือดร้อนอะไรเท่าไหร่)

ถ้า คิดให้ละเอียดจริงๆต้องคิดแบบนี้ .. บริษัทมีรายได้ 100 ล้าน ถ้าบาทแข็งขึ้น 10% รายได้จะหายไปประมาณ 10% เหลือ 90 ล้าน แต่ต้นทุนยังเท่าเดิม เพราะต้นทุนเป็นเงินบาท ดังนั้นต้นทุนทางตรงยังคงเป็น 70 ล้านอยู่ดี จะเหลือกำไรขั้นต้น 20 ล้าน หักค่าขายและบริหาร 10 ล้าน เหลือกำไร 10 ล้าน หักภาษีอีก 3 ล้านเหลือกำไรสุทธิ 7 ล้าน --- จะเห็นว่าจากกำไร 14 ล้าน เงินบาทแข็งขึ้น 10% นี่ทำให้กำไรหายไป 50% เลยทีเดียว .... ดังนั้นถ้าใครถือหุ้นที่มีรายได้หลักเป็น us อยู่ก็ต้องระวังตัวไว้บ้างเหมือนกันนะครับ ผมเองเสียดายหุ้นหลายตัวเหมือนกัน .. เห็นว่าเป็นหุ้นที่ดูแล้วธุรกิจน่าจะดีมาก แต่มาคิดตรงที่รายได้เป็น us นี่แหละ .. เสียดายจริงๆ

บริษัทบางแห่งมีรายได้หลักเป็น us ก็จริง แต่ก็มีต้นทุนหลักเป็น us ด้วยเช่นกัน .. แบบนี้จะทำให้ผลกระทบจากค่าเงินนั้นหักล้างไปได้บ้าง แต่ก็ยังไม่สามารถลดได้เต็มที่อยู่ดี ต้องดูด้วยว่าสัดส่วนต้นทุนที่เป็น us ประมาณเท่าไหร่ของต้นทุนทางตรง แล้วก็คิดปรับรายได้กับต้นทุนไปตาม step จะได้กำไรสุทธิออกมา ... อย่ามองข้ามผลกระทบตรงนี้ไปนะครับ .. ผมว่าเรื่องใหญ่ไม่ใช่เล่น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘