Sunday, February 04, 2007 vi กับ หุ้นปันผล

หลายคนที่เพิ่งเข้ามาศึกษาการลงทุนแบบ VI ได้ไม่นานอาจจะคิดว่าการลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือนักลงทุนระยะยาวจริงๆแล้วคือการซื้อหุ้นที่มีปันผลดี ... ความคิดนี้ผมว่าก็มีส่วนถูกอยู่ไม่น้อย เพราะหุ้นที่ VI ส่วนใหญ่เล่นก็มักจะเป็นหุ้นที่มีปันผลจริงๆ มากบ้างน้อยบ้างคละกันไป แต่ถ้าถามว่าการซื้อหุ้นปันผลดีคือการลงทุนแบบเน้นคุณค่ารึเปล่าผมก็คงต้อง ตอบว่าไม่ใช่

การลงทุนแบบเน้นคุณค่าใจความสำคัญคือ "การซื้อหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง" ส่วนวิธีในการหามูลค่านั้นก็มีมากมายหลายวิธี และก็ไม่มีวิธีไหนที่ถูกต้อง 100% ด้วย ถ้าให้ยกตัวอย่างการวิธีวิเคราะห์ความถูกแพงของหุ้นแบบง่ายๆก็มีหลักอยู่ 3 ตัว คือ P/E, P/BV และ Dividend Yield ถ้าวิเคราะห์แบบยากหน่อยก็คือวิธี DCF (Discountก Cashflow) ซึ่งจะเห็นได้ว่าจาก 4 วิธีที่กล่าวมามีการประเมินมูลค่าที่เอาเงินปันผลเข้าไปเกี่ยวด้วยอยู่ 2 วิธีคือ P/BV และ DCF ที่ใช้ Dividend discout ดังนั้นก็ไม่แปลกที่หลายๆครั้งหุ้นที่มีปันผลดีมักจะเป็นหุ้นที่ราคาถูกไป ด้วย

บางครั้ง หุ้นที่มีปันผลดีอาจจะไม่ใช่หุ้นที่มีราคาถูก
ในขณะเดียวกัน หุ้นที่มีราคาถูกก็อาจจะมีปันผลต่ำหรือไม่มีปันผลเลยด้วยซ้ำไป

หุ้น ที่ปันผลดีแต่ไม่ได้เป็นหุ้นราคาถูกก็อาจจะยกตัวอย่างเช่นหุ้นที่มีกำไร พิเศษ เพียงชั่วครั้งชั่วคราวที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ หุ้นพวกนี้บางครั้งจะจ่ายเงินปันผลออกมาก้อนใหญ่ทำให้อัตราส่วนปันผลต่อราคา นั้นสูงจนดึงดูดนักลงทุนได้ แต่จริงๆแล้วตัวธุรกิจอาจจะไม่ได้ดีอะไรมาก ราคาหุ้นก็ไม่ได้ถูก

ตัวอย่างที่เห็นได้ก็คือหุ้น CHUO บริษัทมีการขายบริษัทร่วมออกไปบางส่วนทำให้ได้เงินก้อนใหญ่มา บริษัทจึงจ่ายเงินปันผลออกมาเป็นจำนวนมากทำให้ Yield ของหุ้นนั้นสูงจนดูเหมือนว่าเป็นหุ้นราคาถูก

หรือบริษัทอีกประเภทก็ อาจจะได้แก่บริษัทที่มีบริษัทแม่ที่ถือหุ้นอยู่กำลังลำบาก ทำให้บริษัทนั้นๆ ต้องจ่ายเงินปันผลออกมาเป็นจำนวนมากกว่าปกติ บางครั้งมีการจ่ายปันผลเกินกว่ากำไรที่ทำได้ซะอีก การทำเช่นนี้ก็จะทำให้ Yield นั้นเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน แต่ถามว่าหุ้นนั้นมีราคาถูกรึเปล่า ผมว่าคนจะเรื่องกัน การที่จะดูว่าหุ้นนั้นมีราคาถูกหรือแพงก็ควรจะดูว่าเงินปันผลที่จ่ายนั้นสูง แค่ไหน (Yiled สูงแค่ไหน) และพิจารณาเพิ่มไปอีกข้อว่า แล้วบริษัทจะสามารถจ่ายปันผลสูงในระดับดังกล่าวได้นานแค่ไหน เป็นการจ่ายปันผลเยอะๆเพียงครั้งเดียวหรือว่าเป็นการจ่ายปันผลที่เกิดจากการ ดำเนินงานหลักของบริษัทแบบระยะยาวจริงๆ

ส่วนหุ้นที่มีราคาถูกจะแต่มี ปันผลอยู่ในระดับที่ต่ำหรือไม่มีปันผลเลย ที่เห็นได้ชัดเจนก็อาจจะหมายถึงหุ้นที่มีการเจริญเติบโตดีทำให้ต้องการเก็บ เงินสดไว้ในการขายธุรกิจของบริษัท อัตราการจ่ายปันผลของบริษัทพวกนี้เท่าที่เห็นมักจะอยู่ในระดับ 30% ของกำไร หุ้น Stanly ในอดีตประมาณ 3-5 ปีที่แล้ว ก็ถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มนี้ คือบริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ค่อนข้างสูง บริษัทจึงมองว่าการที่บริษัทเก็บเงินสดไว้มากขึ้นจะทำให้มูลค่าของบริษัท นั้นเพิ่มขึ้นได้ดีกว่าการจ่ายเงินปันผลออกมา การพิจารณาหุ้นประเภทนี้จะเห็นว่าเป็นหุ้นที่มีคุณภาพดี การเติบโตสูง ถึงแม้ว่า Yield อาจจะไม่สูง แต่อาจจะเป็นหุ้นที่มีราคาถูกมากๆก็ได้เมื่อนักลงทุนยอมแลกเงินปันผลที่จะ ได้ในวันนี้กับการเติบโตของกำไรในอนาคต

ปกติเวลาผมตัดสินใจซื้อหุ้น ซักตัวนึง ปันผลนั้นแทบจะไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจความถูกความแพงของหุ้นเลย ผมแค่ต้องการรู้ว่าธุรกิจของบริษัทนั้นจะเติบโตสูงในระดับไหน ราคาที่ผมซื้อนั้นเทียบกับผลกำไรที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นเป็นอย่างไร ปันผลที่ได้มานั้นถือว่าเป็นของแถมครับ ...

ปล. การลงทุนในหุ้นที่มีเงินปันผลมีข้อดีอยู่ประการหนึ่งก็คือ หุ้นประเภทนี้เวลาหุ้นลงจะลงไม่มากนัก เพราะมักจะมีนักลงทุนส่วนหนึ่งเมื่อเห็นว่า Yield นั้นเพิ่มสูงขึ้นก็จะเข้ามาซื้อพวกนี้เก็บเอาไว้รับปันผล สำหรับคนที่ลงทุนใหม่ๆยังไม่สามารถวิเคราะห์ได้ดีการเลือกหุ้นที่มีปันผลจะ ทำให้ความเสี่ยงขาลงลดลงได้บ้าง แต่ถ้าธุรกิจของหุ้นที่ซื้อมากำลังแย่ หุ้นเริ่มลง อย่าใช้เหตุผลในการไม่ยอมขายหุ้นทิ้งโดยบอกว่า "ขายไปตอนนี้ก็ขาดทุน คิดซะว่าถือไว้รับปันผล" เพราะหุ้นที่ธุรกิจขาลงนั้น ต่อให้มีปันผลยังไง ราคาหุ้นมันมักจะลงแรงกว่าปันผลที่จะได้มาเสมอ เพราะฉะนั้นต่อให้เป็นหุ้นปันผลเอง ถ้าเห็นว่าธุรกิจไม่ดี ยังไงก็ต้องขาด เป็นคำตอบสุดท้าย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘