Saturday, July 29, 2006 การวัดราคาหุ้นด้วย P/E ratio

การประเมินราคาที่อย่างที่ได้บอกไว้ใน คราวที่แล้วแบ่งได้เป็น 2 วิธีหลักๆ วิธี discount นั้นผมไม่ค่อยได้ใช้งานเท่าไหร่ แต่ผมก็ไม่ได้บอกว่าเป็นวิธีที่ไม่ดี เพราะถ้านักลงทุนสามารถที่จะประมาณและคาดการณ์อนาคตได้ค่อยข้างแม่นยำ วิธี discount เป็นวิธีที่ให้คำตอบได้ดีมาก ใครสนใจการประเมินแบบ discount แนะนำให้อ่านหนังสือ วัดมูลค่าหุ้นด้วยตัวคุณเอง เขียนโดย คุณสุมาอี้ (นามแฝง) ผมเองเพิ่งอ่านจบไปเมื่อกี้นี้เอง อ่านเข้าใจง่ายและมีตัวอย่างการวิเคราะห์หุ้นของจริงๆให้เห็นหลายรูปแบบ รอซื้อได้ตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป (ตอนนี้ยังไม่มีวางจำหน่าย ถ้าอยากอ่านเร็วๆจริงๆแนะนำให้ไปที่ http://thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=18989)

คราว นี้เรากลับมาพูดถึงวิธี Relative กันบ้างดีกว่า ติดค้างกันไว้นานแล้ว (ช่วงนี้สอบอยู่ รายงานก็เยอะครับ อาจจะ update ช้าลงบ้าง ไม่ว่ากันนะ)
วิธี Relative ที่ผมใช้บ่อยที่สุดคือ P/E ratio โดยที่ P คือ ราคาหุ้น ในขณะที่ E คือกำไรต่อหุ้น ความหมายของ ความหมายของ p/e มองได้ง่ายๆ คือ จำนวนปีที่จะคืนทุนโดนสมมุติว่ากำไรคงที่ตลอด เช่น เราซื้อหุ้นราคา 10 บาท กำไรต่อหุ้น 2 บาท เพราะฉะนั้นถ้ากำไรของบริษัทยังคงที่ไปตลอด การลงทุนครั้งนี้ก็จะมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 5 ปี ดังนั้นถ้าสมมติว่าหุ้นทุกตัวในตลาดมีกำไรคงที่ตลอด หุ้นที่น่าซื้อที่สุดคือหุ้นที่ pe ต่ำที่สุด หรือมีระยะเวลาคืนทุนต่ำที่สุดนั้นเอง

แต่ ชีวิตจริงมันไม่ง่ายอย่างที่เราสมมตินะซิ กำไรของหุ้นในตลาดนั้นมีทั้งเพิ่มขึ้น ลดลง หรือคงที่ ด้วยอัตราที่แตกต่างกันไป เลยเป็นที่มาว่าหุ้นแต่ละตัวจะมี pe ที่เหมาะสมไม่เท่ากัน ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆ ข้างล่างนี้
  • หุ้น a มีกำไรคงที่ตลอดมี
  • หุ้น b มีแนวโน้มกำไรเติบโต
  • หุ้น c มีแนวโน้มกำไรลดลง
  • หุ้น d มีกำไรผันผวนเอาแน่เอานอนไม่ได้
สมมติ หุ้นทั้ง 4 ตัวมี pe เท่ากับ 6 เหมือนกันหมด ถ้าให้เลือกหุ้นได้ตัวเดียวเราควรจะซื้อหุ้นตัวไหน จริงๆแล้วคงตอบได้ไม่ยากว่าหุ้น b น่าจะเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด เพราะถ้ากำไรไม่โตก็ใช้เวลา 6 ปีในการคืนทุน ถ้ากำไรโตขึ้นด้วยเวลาคืนทุนก็น่าจะสั้นกว่า 6 ปี แต่ถ้าถามกลับกันว่าหุ้นตัวไหนที่ไม่ควรซื้ออย่างมาก ก็น่าจะเป็นหุ้น c เพราะระยะเวลาคืนทุนน่าจะยาวกว่า 6 ปีเป็นแน่ หรือดีไม่ดีอาจจะไม่มีโอกาสคืนทุนเลยก็ได้ถ้าบริษัทกำไรลดลงจนกลายเป็นขาด ทุนไปเลย ส่วนหุ้น a นั้นแม้ว่าจะไม่ใช่การลงทุนที่ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ใช้เวลาคืนทุนประมาณ 6 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการลงทุนที่แย่เท่าไหร่ ถ้าเปลี่ยนโจทย์ให้สามารถลงทุนได้ 2 ตัว หุ้น a ก็น่าจะอยู่ในตัวเลือกด้วยได้
แต่ ปัญหาอยู่ที่หุ้น d นี่แหละครับ จะว่าน่าซื้อหรือว่าไม่น่าซื้อตอบยากเหลือเกิน เพราะกำไรมันเอาแน่เอานอนไม่ได้ เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง บางปีอาจจะขาดทุนมาก บางปีอาจจะพลิกมาเป็นกำไรมาก ในความเป็นจริงแล้วหุ้นที่อยู่ในตลาดมีหุ้นกลุ่มนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เพราะฉะนั้นข้อแนะนำข้อแรกสำหรับการใช้วิธีวิเคราะหู้นด้วย pe อย่างแรกคือ หลีกเลียงการใช้ pe กับหุ้นที่มี ธุรกิจ รายได้ หรือกำไรที่ผันผวน (จริงๆวิธีดัดแปลงนำไปใช้ก็พอมีอยู่ แต่ในเบื้องต้นยังไม่เอามาพูดดีกว่า เดี๋ยวจะพากันงงไปซะก่อน)
ตอน นี้เราพอจะเข้าใจแนวคิดคร่าวๆของการวัดมูลค่าหุ้นด้วย pe กันบ้างแล้ว ถ้าลองย้อนกลับไปอ่านที่ผมวิเคราะห์หุ้น ilink เอาไว้จะเห็นว่าผมกำหนด pe ที่เหมาะสมของหุ้น ilink เอาไว้ที่ 8 สมมติว่ากำไรที่จะเกิดในปี 49 นี้คิดเป็น e เท่ากับ 1.2 ต่อหุ้น ราคาเหมาะสมก็เอา 8 คูณกับ 1.2 ก็ได้ 9.6 บาท ดูแล้วง่ายเหลือเกิน แต่จริงๆแล้วกว่าที่จะกลายมาเป็น pe ที่ 8 กับ e (กำไรในอนาคต ณ สิ้นปี 49) ที่ 1.2 ก็มีที่มาที่จะเอามาคุยกันได้พอสมควร ติดตามตอนต่อไปครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘