Saturday, August 09, 2008 หุ้น Market Share น้อยๆ

หุ้นพวกนี้ก็จะมีคุณสมบัติโดยรวมตรงข้าม กับหุ้น Share สูงๆ คือความมั่นคงนั้นไม่มาก โอกาสเจ๊งและหายไปจากอุตสาหกรรมมีสูงกว่า แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตได้สูงกว่าหุ้นที่ Share สูง

หุ้น ที่มี Share อยู่ในตลาดต่ำๆ นั้นมีให้เลือกเยอะมาก แต่หุ้นพวกนี้จะน่าสนใจได้นั้นจะต้องมีจุดเด่นบางประการที่จะทำให้กลายเป็น หุ้นที่คุ้มค่าน่าลงทุนได้ คือจะต้องทำให้เรามั่นใจได้ว่าหุ้นพวกนี้จะสามารถแย่ง Share มาจากคู่แข่งรายอื่นๆได้ โดยอาจจะเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ (มีอย่างใดอย่างหนึ่งโดดเด่นมากๆ หรือมีหลายๆข้อรวมกันเลยยิ่งดี)
- มีสินค้าที่ดีกว่าคู่แข่งอย่างชัดเจน
- มีการตลาดที่โดดเด่น
- มีต้นทุนที่ต่ำกว่า
- มีการบริการที่ดีกว่า

สมมติ บริษัท A เป็นบริษัทรับจ้างผลิตสินค้าให้กับลูกค้า ซึ่งบริษัทมีการจัดการที่ดีทำให้บริษัท A นั้นมีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งจึงส่งผลให้ราคาขายของ A นั้นต่ำกว่าคู่แข่งอยู่ประมาณ 10% ในขณะที่คุณภาพและบริการของบ. A นั้นอยู่ในระดับเดียวกับคู่แข่ง และมี Share อยู่ประมาณ 5% ของตลาดเท่านั้น

เพราะ ฉะนั้นถ้าลูกค้ามีความมั่นใจในบริการ คุณภาพของสินค้า และความมั่นคงในการส่งมอบสินค้า ก็มีโอกาสสูงที่ลูกค้านั้นจะต้องการให้บริษัท A ผลิตสินค้าให้มากขึ้น (เพราะราคาถูกกว่า) จนทำให้กำลังการผลิตของบริษัท A นั้นมักจะเต็มที่อยู่เป็นประจำ

- เมื่ออุตสาหกรรมอยู่ในช่วงที่เติบโต A ก็จะได้ Order เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ขึ้นอยู่กับกำลังการผลิตของ A ถ้า A ขยายกำลังการผลิตเรื่อยๆ) ทำให้บริษัทนั้นมีรายได้เพิ่มขึ้น
- แม้เวลาที่อุตสาหกรรมอยู่ในช่วงหดตัว บริษัท A ก็มักจะสามารถคงระดับรายได้เดิมไว้ได้ หรืออาจจะขยายตัวได้ด้วยซ้ำ เนื่องจากในช่วงที่อุตสาหกรรมกำลังแย่ ลูกค้าก็ต้องการที่จะลดต้นทุน ทำให้ Order จากคู่แข่งก็ย้ายมาลงบริษัท A ได้เรื่อยๆ

การ เติบโตของรายได้ของบริษัทที่ Share น้อยๆที่มีความได้เปรียบต่อคู่แข่งอย่างชัดเจน มักจะขึ้นอยู่กับความสามารถในการผลิตของบริษัทเป็นหลัก ถ้าบริษัทสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เรื่อยๆ ไม่ว่าอุตสาหกรรมจะอยู่ในภาวะใด บริษัทก็ยังเติบโตได้เรื่อยๆ หุ้นพวกนี้แหละครับ ที่ผมชอบที่สุด

ตัวอย่างบริษัทที่มี Share น้อยๆแต่ความได้เปรียบชัดเจนดูนะครับ 2 บริษัทดูนะครับ

1. MCS บริษัทนี้รับจ้างผลิตโครงสร้างเหล็กที่รับแรงแผ่นดินไหว ลูกค้าหลักก็คือบริษัทก่อสร้างในญี่ปุ่น MCS นั้นขายโครงสร้างเหล็กราคาต่ำกว่าคู่แข่งในญี่ปุ่นประมาณ 10-15% และคุณภาพเทียบเท่ากัน ทำให้บ.ก่อสร้างนั้นส่ง Order มาให้ MCS จนมี Backlog ข้ามปีอยู่เป็นประจำ ในขณะที่ขนาดอุตสาหกรรมเหล็กโครงสร้างประเภทนี้ในญี่ปุ่นนั้นใหญ่มากๆ MCS มี Share อยู่ไม่กี่ % เท่านั้น เพราะฉะนั้นการลงทุน MCS นั้นเราแทบไม่ต้องไปสนใจภาวะตลาดเหล็กก่อสร้างในญี่ปุ่นว่าจะโตหรือหดเท่า ไหร่เลย

2. บริษัท UEC บริษัทนี้ก็รับจ้างผลิตถังความดันให้กับอุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเคมี ซึ่งขนาดของตลาดนั้นใหญ่พอสมควร บริษัทสามารถผลิตถังความดันได้ในมาตราที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าและมี ต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งในต่างประเทศพอสมควร ลักษณะก็จะคล้ายๆกับ MCS คือลูกค้าก็ส่ง Order ให้ UEC เรื่อยๆ

ณ ปัจจุบัน ปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งที่แตกต่างของหุ้นทั้ง 2 ตัวคือ..
- MCS นั้นมี Capacity ที่ค่อนข้างเต็ม และไม่สามารถขยายได้มากเท่าไหร่ ผู้บริหารเคยบอกไว้ว่าปริมาณที่บริษัทจะขยายได้แล้วมีต้นทุนที่เหมาะสมนั้น อยู่ที่ประมาณ 4-5 หมื่นตัน ตรงนี้ผมไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดถึงขยายมากกว่านี้ไม่ค่อยได้ อาจจะมาจากสาเหตุของพื้นที่โรงงานที่เต็มและที่บริเวณใกล้เคียงไม่สามารถหา ซื้อได้
- UEC เมื่อปี 2 ปีก่อนหน้านี้ก็มี Capacity ที่ค่อนข้างเต็มเหมือนกัน ทำให้บางงานบริษัทก็รับงานที่ต้องไปผลิตที่ไซต์งานของลูกค้า (เพราะในโรงงานเต็มแล้ว) แม้จะมีกำไรที่ต่ำกว่า แต่บริษัทก็ได้มีการขยายกำลังการผลิตสร้างโรงงานเพิ่มใหม่ทำให้ ณ ปัจจุบันกำลังการผลิตของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้น รายได้ของบริษัทก็จะเติบโตได้อีก

ถ้า เปรียบเทียบกันเฉพาะแนวโน้มการเติบโตของทั้ง 2 บริษัท UEC จะน่าสนใจกว่ามาก ... นอกจากว่า MCS จะสามารถขยายกำลังการผลิตให้เพิ่มขึ้นได้อีก โดยไม่ทำให้ความได้เปรียบต่อคู่แข่งนั้นเปลี่ยนแปลงไป MCS จะกลับมาเป็นหุ้นที่น่าสนใจขึ้นอีกเยอะเลยครับ

หมาย เหตุ 1. การวิเคราะห์ข้างต้นนั้นพิจารณาเฉพาะแนวโน้มการเติบโตของรายได้เท่านั้น ยังไม่ได้คำนึงถึงผลกำไร บางบริษัทรายได้โตแต่ต้นทุนโตเร็วกว่าทำให้กำไรแทนที่จะเพิ่มตามรายได้ก็ กลับมาลดลง หุ้นแบบนี้ก็ไม่น่าสนใจเหมือนกัน... หรือแม้ว่าบริษัทจะมีรายได้โต กำไรโต แต่ถ้าราคาหุ้นแพงเกินไป ก็ซื้อไม่ลงเหมือนกัน

หมาย เหตุ 2. การขยายกำลังการผลิต บริษัทนั้นอาจจะต้องใช้เวลาในการก่อสร้าง และเมื่อโรงงานเครื่องจักรติดตั้งเสร็จแล้ว บริษัทยังมักจะต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการปรับระบบการผลิต รวมถึงการรอ Order จากลูกค้าในการเพิ่มยอดขาย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นชั่วคราว ซึ่งเราก็ควรจะวิเคราะห์ไปด้วยว่าช่วงที่บริษัทขยายกำลังการผลิตนั้นใช้ระยะ เวลามากแค่ไหนที่จะทำให้ Capacity ใหม่นั้นถึงจุดคุ้มทุน ไม่งั้นเราอาจจะไปซื้อหุ้นเอาตอนบริษัทขยายกำลังการผลิตและมีต้นทุนพิเศษ เกิดขึ้นมากมายแต่รายได้ยังเข้ามาไม่ทัน ทำให้กำไร Drop ลงหุ้นก็เลยลง ... แต่กรณีแบบนี้ก็มักจะเป็นจังหวะการลงทุนที่ดีได้เหมือนกัน เพราะกำไร Drop ลงราคาหุ้นลดลงจากการขยายกำลังการผลิตนั้นเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นชั่วคราว หุ้นพวกนี้เมื่อเวลาผ่านไปกำไรกลับมาอยู่ในสภาพเดิม ราคาหุ้นก็มักจะดีดกลับขึ้นมาได้ไม่ยากครับ

สรุปย่อๆนะครับ ...
- หุ้นที่มี Share ต่ำๆ นั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะล้มหายตายจาก
- แต่ก็มีโอกาสที่จะเติบโตได้สูงเช่นกัน ถ้าบริษัทนั้นมีความได้เปรียบในการแข่งขันเป็นพิเศษ
- หุ้นที่มี Share ต่ำๆ และมีความได้เปรียบในการแข่งขัน จะน่าสนใจเมื่อบริษัทนั้นมีแนวโน้มที่จะขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง ในขณะความได้เปรียบในการแข่งขันนั้นไม่ได้ลดลง
- อย่าลืมวิเคราะห์ความถูกความแพงของหุ้นด้วยนะครับ หุ้นดีแต่ราคาแพงนั้นไม่ใช่การลงทุนที่ดีครับผม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘