แนะวิธีเลือก RMF-LTF

บลจ. ทิสโก้แนะ เทคนิคการลงทุน LTF ดูประเภทกองทุนที่เหมาะสมกับผู้ลงทุน ถ้าต้องการเงินระหว่างทาง อาจเลือกกองทุนที่จ่ายเงินปันผล แต่ข้อด้อย อาจต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% ส่วนกองทุนไม่จ่ายปัน ผู้ลงทุนต้องถือหน่วยยาว และรับเงินก้อนตอนครบสัญญา ด้าน RMF การลงทุนขึ้นกับความเสี่ยงที่รับได้

นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส หัวหน้าธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทิสโก้ (บลจ.) ในเครือ บง. ทิสโก้ (TISCO) กล่าวในงานเสวนา “เทคนิคการลงทุนอย่างคุ้มค่าใน LTF และ RMF” ว่าส่วน LTF ก่อนลงทุน ผู้ลงทุนต้องพิจารณาความต้องการ และประเภทกองทุนที่เหมาะสม สำหรับ LTF (Long Term Equity Fund) มีทั้งกองทุนแบบจ่ายเงินปันผล และไม่จ่ายปันผล

“ต้องถามว่าผู้ลงทุน ต้องการเงินใช้ระหว่างทางที่ลงทุนหรือไม่ ซึ่งถ้าต้องการ ก็ลงทุนในประเภทที่จ่ายเงินปันผล แต่ข้อแม้ของกองทุนนี้ คือเมื่อรับเงินปันผลแล้ว จะต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย 10% ส่วนของผู้ลงทุนที่ไม่ต้องการเงินระหว่างทาง ก็เลือกกองทุนแบบไม่จ่ายปันผล” นายธีรนาถกล่าว

นายธีรนาถกล่าวว่า คงไม่สามารถบอกได้ ว่ากองทุนแบบจ่ายปันผล หรือไม่จ่ายปันผล แบบไหนดีกว่ากัน เพราะขึ้นกับวัตถุประสงค์ และความต้องการผู้ลงทุน ประเภทไม่จ่ายปันผล ผลตอบแทนระหว่างทาง จะเก็บไว้ และนำไปลงทุนต่อ เมื่อถือจนครบสัญญา ผู้ลงทุนจะได้รับเงินเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งเงินที่ได้นี้ ไม่ต้องเสียภาษี

เนื่อง จากกองทุน LTF มีนโนบายลงทุนหุ้นไม่ต่ำกว่า 65% ของพอร์ตรวม เพราะฉะนั้น กองทุนประเภทนี้ สามารถลงทุนหุ้นเต็ม 100% หรือไม่เต็มก็ได้ สิ่งสำคัญการพิจารณาข้อนี้ คือถ้า LTF ที่ลงทุนหุ้น 100% การแกว่งตัวของกองทุนดังกล่าว ค่อนข้างรุนแรง กล่าวคือ เมื่อหุ้นขึ้นแรง ผลตอบแทนการลงทุนได้เต็ม100% แต่เมื่อหุ้นลงแรง ผลตอบแทนก็ลงแรงเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตาม-ส่วนการลงทุน

“เทียบกับ LTF ที่ลงทุนในหุ้นไม่เต็ม 100% เวลาหุ้นขึ้น ผลตอบแทนขึ้นก็ไม่เต็ม100% แต่ถ้าหุ้นลงกองทุน ก็ได้รับผลกระทบไม่มาก” นายธีรนาถกล่าว

ส่วน RMF (Retirement Mutual Fund) เนื่องจากผู้ลงทุนต้องถือหน่วยยาวต่อเนื่องกัน 5 ปี และครบอายุ 55 ปี ดังนั้น สิ่งสำคัญของการลงทุน RMF คือแต่ละปี ผู้ลงทุนต้องวางแผนการออม อีกทั้ง RMF มีนโยบายการลงทุนหลากหลาย ตั้งแต่ลงทุนหุ้น ตราสารหนี้ และแบบผสม ดังนั้น ผู้ลงทุนอาจจัดพอร์ตแบ่งเงินลงทุนแต่ละกองทุน

“พอร์ ตการลงทุนของแต่ละคนอาจแตกต่างกัน ซึ่งอายุก็เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณา เช่น ถึงอายุน้อย อาจรับความเสี่ยงได้มาก ก็เลือกลงทุนกองทุนหุ้น แต่ถ้าอายุมากหน่อย อาจรับความเสี่ยงไม่ไหว ก็เลือกลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ ใน-ส่วนที่มากกว่าการลงทุนหุ้น” นายธีรนาถ กล่าว

ข้อดีของการลงทุน RMF คือเป็นกองทุนยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ตามภาวะความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กล่าวคือ ช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวน นักลงทุนไม่มั่นใจกองทุนหุ้น สามารถปรับนโยบายลงทุนกองทุนตราสารหนี้ได้

นายธีรนาถกล่าวว่า การลงทุน LTF-RMF เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องจ่ายภาษี โดยเฉพาะกลุ่มบุคคลที่ต้องเสียภาษีมาก ดังนั้น ผู้ลงทุนที่เกษียณอายุ และไม่ต้องเสียภาษี มีกองทุนรวมประเภทอื่น ๆ ให้เลือก ซึ่งไม่จำเป็นต้องลงทุน LTF-RMF ที่มีข้อจำกัด และมีเงื่อนไขถือหน่วย

การ เลือกลงทุน LTF ผู้ลงทุนอาจไม่มั่นใจภาวะตลาดหุ้นปัจจุบัน ซึ่งผันผวนค่อนข้างมาก หากต้องถือหน่วยลงทุนถึง 5 ปีปฏิทิน ยิ่งสร้างความกังวลเพิ่มขึ้น กรณีนี้ นายสาธิต บวรสันติสุทธิ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกองทุนรวม บลจ. กสิกรไทย ในเครือธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ยกตัวอย่างว่า ถ้ามีเงิน100 บาท ลงทุน LTF และได้ลดหย่อยภาษี 30% เท่ากับต้นทุนจริง ๆ 70 บาท ที่เหลือ เป็นผลประโยชน์ของผู้ลงทุน ขณะเดียวกัน ถ้าตลาดหุ้นไม่ตกลง 30% ผู้ลงทุนก็ไม่ขาดทุน

“ปัจจุบัน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ประมาณ 660 จุด ถ้าต้องตกลงไปถึง 30% ก็ประมาณ 460 จุด ซึ่งมองแล้ว ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ตลาดหุ้นไม่น่าตกลงมากขนาดนั้น อีกทั้งLTF เป็นการลงทุนในระยะยาว ดังนั้น ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะเป็นช่วงขาขึ้นมากกว่า” นายสาธิตกล่าว

นายสาธิตกล่าวอีกว่า การลงทุน LTF จะมีทั้งแบบจ่ายปันผลและไม่จ่ายปันผล ซึ่งโดยหลัก เขามองว่าลงทุนกองที่ไม่จ่ายปันผล ดีกว่า เพราะเงินส่วนผลตอบแทน จะนำไปลงทุนต่อเนื่อง ซึ่งถ้าช่วงนั้นหุ้นขึ้น ก็รับผลประโยชน์เต็มที่ ขณะที่กองทุนที่จ่ายปันผล ต้องขายหุ้นเพื่อคืนผลตอบแทน อาจทำให้เสียจังหวะการลงทุนได้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘