การเปรียบเทียบหุ้นด้วย Relative Strength ComparativeComparative

โดยทั่วไปแล้วถ้าต้องการเลือกซื้อหุ้นเพียงตัวเดียวจากกลุ่มอุตสาหกรรม ใดๆ เข้าพอร์ตนั้น ควรจะเลือกซื้อหุ้นตัวที่ทำกำไรให้กับนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรได้มากที่สุด หรือหุ้นที่เป็น outperform ของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ นั่นเอง คำถามคือ แล้วเราจะมีวิธีดูได้อย่างไรว่าหุ้นตัวไหน outperform

การเลือกซื้อหุ้นนั้น อันดับแรกที่ควรพิจารณาคือปัจจัยพื้นฐานของหุ้น ไม่ว่าจะเป็นผลการดำเนินงาน รายรับ รายจ่าย กำไร หนี้สิน เงินปันผล ฯลฯ รวมทั้งการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน เช่น P/E ROA ROE และ P/BV เป็นต้น ซึ่งการวิเคราะห์หุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานนี้จะช่วยในการกรองหุ้นที่ไม่ดีออกไป
แต่ในบางครั้งนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรอาจต้องการเลือกหุ้นจากหุ้นที่กรอง ด้วยปัจจัยพื้นฐานมาแล้ว หรือเลือกซื้อหุ้นที่เป็นจะทำกำไรได้มากที่สุดจากสภาวะตลาด หรือหุ้นทำกำไรให้ได้มากที่สุดในกลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่งๆ เครื่องมือหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการเปรียบเทียบหุ้นเหล่านี้ได้ก็คือ Relative Strength
Relative Strength คืออะไร และคำนวณได้อย่างไร
Relative Strength ในที่นี้เป็นคนละตัวกับ Relative Strength Index หรือ RSI ที่นักวิเคราะห์กราฟรู้จักกันดี โดยการคำนวณ Relative Strength นั้นทำได้ง่ายๆ โดยนำราคาหุ้นที่ต้องการเปรียบเทียบมาหารกับราคาของหุ้น ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ หรือดัชนีกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องการใช้เป็นตัวอ้างอิง ดังนั้นการคำนวณ Relative Strength จะต้องใช้ราคาหุ้น 2 ตัว หรือราคาหุ้นกับดัชนีต่างๆ มาคำนวณรวมกัน ไม่สามารถที่จะคำนวณจากหุ้นเพียงตัวเดียวได้ เนื่องจากเป็นการคำนวณค่าเพื่อเปรียบเทียบนั่นเอง
ในการเปรียบเทียบหุ้นด้วย Relative Strength นั้น จะไม่ได้ให้ความสำคัญกับตัวเลขผลลัพธ์ที่ได้ แต่จะเป็นการพิจารณาจากแนวโน้มของกราฟ Relative Strength โดยถ้าแนวโน้มของกราฟเป็น uptrend หมายความว่า หุ้นที่ต้องการเปรียบเทียบนั้น outperformed หรือทำกำไรให้ได้มากกว่าเมื่อเทียบกับหุ้น หรือดัชนีที่ใช้อ้างอิง ในทางกลับกันถ้าหากกราฟของค่า Relative Strength ที่ได้เป็น downtrend หมายความว่า หุ้นที่ต้องการเปรียบเทียบนั้น underperformed หรือทำกำไรให้ได้น้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ้น หรือดัชนีที่ใช้อ้างอิง
การเปรียบเทียบหุ้นด้วย Relative Strength ด้วย Relative Strength Comparative ใน MetaStock
โปรแกรมที่ใช้ในการวิเคราะห์หุ้นโดยทั่วไปนั้น จะมีเครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณค่า Relative Strength มาให้อยู่แล้ว โดยในตัวอย่างนี้จะเป็นการใช้ MetaStock ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบหุ้น ปตท. (PTT) กับ ปตท.สผ. (PTTEP)
ขั้นแรกให้ทำการเปิดกราฟ PTT ขึ้นมาตามปกติ จากนั้นให้เลือก Relative Strength Comparative จาก Indicator Quicklist

จากนั้นให้ลาก Relative Strength Comparative จาก Indicator Quicklist มาใส่ในกราฟ
โดยจะมี pop-up ให้เลือกหุ้นหรือดัชนีที่ต้องการใช้ในการอ้างอิง

โปรแกรมจะแสดงกราฟของ Relative Strength (เส้นสีแดง) โดยหากดูแนวโน้มของ Relative Strength (เส้นแนวโน้มสีน้ำเงิน) จะเห็นว่าเป็น downtrend แสดงว่าในช่วงนั้นหุ้น PTT underperformed เมื่อเทียบกับ PTTEP นั่นก็คือ ถ้าเราถือหุ้น PTTEP ในมูลค่าที่เท่ากันกับ PTT ในช่วงเวลาดังกล่าว หุ้น PTTEP จะทำกำไให้มากกว่า ดังนั้นหากจะเลือกหุ้นหนึ่งในสองตัวนี้เข้าพอร์ต เราก็ควรจะเลือก PTTEP ซึ่งจะทำกำไรให้เราได้มากกว่า

การเปรียบเทียบหุ้นด้วย Relative Strength นั้น เราควรที่เปรียบเทียบหุ้นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน อยู่ในธุรกิจและกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยไม่ลืมที่จะพิจารณาปัจจัยพื้นฐานของหุ้นนั้นๆ เปรียบเทียบกันด้วย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘