จำกัดความเสี่ยงด้วย Position Sizing

โดยได้มีการดัดแปลงต้นฉบับในส่วนที่อ้างถึง Turtle Trading เนื่องจากในความเห็นผมนั้น Position Trading ของ Turtle Trading นั้น
มีส่วนที่แตกต่างกับที่คุณซีเคพูดถึง ดังรายละเอียดนี้ Turtle Trading – Markets and Position Sizing
วัตถุประสงค์ของ position sizing คือหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมความเสี่ยง (risk management)
โดยการกำหนด exposure หรือหน้าต่างความเสี่ยงไว้ในปริมาณที่เราควบคุมได้และยอมรับได้
พูดเป็นภาษาชาวบ้านคือ ควบคุมให้ “ขาดทุนไม่เกิน XX เปอร์เซ็นต์” นั่นเองครับ
ระบบที่ดี คือระบบที่ได้กำไร
ระบบที่ได้กำไร ไม่ได้หมายความว่าจะขาดทุนไม่ได้
ระบบที่ได้กำไรมากกว่า ขาดทุนเป็นระยะเวลายาวนานคือระบบที่ดี
ไม่มีระบบใด perfect สมบูรณ์พร้อม
ไม่มีใครที่ไม่เคยพลาด
ดังนั้น risk management จึงเป็นหัวใจของการลงทุนทุกรูปแบบ
Position Sizing
A) กำหนด Position Sizing จากราคา
หลักการคือ เมื่อราคาเปลี่ยนแปลง (ลดลงถ้า long หรือ เพิ่มขึ้นถ้า short)
ถึงจุดที่จะต้องตัดสินใจ stop loss (ขายเมื่อ long หรือ ซื้อคืนเมื่อ short)
จะต้องขาดทุนไม่เกิน threshold ที่เราตั้งไว้
เช่น ถ้าตั้งกฎไว้ว่าการเปิด position หนึ่งครั้ง จะขาดทุนได้แค่ 1% ของมูลค่าพอร์ท
วิธีการคำนวณว่า จะ long หรือ short ได้แค่ไหน
ก็คือใช้วิธีคำนวณย้อนกลับ จากจุดนี้ครับ
สมมุติว่า:
* พอร์ทผมมีขนาด 1 ล้านบาท
* ผมเล่น trading สำหรับหุ้นตัวนึง ราคาปัจจุบัน 100 บาท
* ผมตั้งกฎขาดทุนที่ 2% ของพอร์ทต่อการเข้าซื้อ 1 ครั้ง
ถ้าสมมุติระบบของเรา กำหนดให้ stop เมื่อราคาลงไป
95 บาท (หลุด low เก่าหรืออะไรก็แล้วแต่)
นั่นก็คือ เราจะขาดทุน 5.5% (รวมคอมฯ)
ในการ stop loss
เนื่องจากเราตั้ง เป้าว่า จะขาดทุนต่อการเปิด position
ไม่เกิน 2% ต่อครั้ง แสดงว่าเราซื้อหุ้นได้แค่ 2/5.5
ของทั้งพอร์ท คือ 36% ของ 1 ล้านบาท
หรือ 360,000 บาท หรือ 3,600 หุ้นนั่นเอง
เพราะเมื่อเราคำนวณกลับ
3,600 x 100 บาท + คอมฯ = 360,808.92 บาท
เมื่อ cut loss ที่ 95 บาท
3,600 x 95 บาท – คอมฯ = 341,231.53 บาท
รวมแล้ว ขาดทุน 19,577.39
หรือ ไม่เกิน 2% จาก 1 ล้านบาทนั่นเอง
เพื่อให้ complicate มากขึ้น
เราสามารถกำหนด ให้มีการเข้าซื้อแบบปิรามิดได้
เช่น ซื้อครั้งแรก 100 ขาย cut loss ที่ 95
ซื้อครั้งที่สอง ถ้าขึ้นไป 105 ยก stop loss ขึ้นมาที่ 99
ถ้าสมมุติเราซื้อแล้ว 3,600 หุ้น และราคามันวิ่งไป 105
เราก็ต้องซื้อ lot ที่สอง ทีนี้ จะซื้อเท่าไหร่ครับ
ที่จะทำให้ขาดทุนไม่เกิน 20,000 บาท เหมือนเดิม
เมื่อราคาหล่นกลับมาที่ 99 บาท
จะได้ว่า จำนวนหุ้นที่เราจะซื้อได้ใน lot สองที่ 105 บาท
คือ 2,200 หุ้น
#1 : 3,600 x 100 บาท + คอมฯ = 360,808.92 บาท
#2 : 2,200 x 105 บาท + คอมฯ = 231.519.06 บาท
รวมถือ 5,800 หุ้น ทุน 592,635.82 บาท
ถ้า ต้องขาย stop loss ที่ 99 บาท
5,800 x 99 – คอมฯ = 572,909.77 บาท
คือ ขาดทุน 592,635.82 – 572,909.77 = 19,418.20 บาท
หรือไม่เกิน 2% จากวงเงินเล่นหุ้น 1 ล้านบาทนั่นเอง
ที่เขาเรียก Pyramid Buying เพราะจะเห็นว่า
ยิ่งซื้อขึ้นไปสูง จำนวนหุ้นจะยิ่งน้อยลงครับ
B) กำหนด Position Sizing จากวงเงินซื้อ
อันนี้ง่ายกว่าแบบ A เยอะครับ และเป็นแบบที่ผมใช้อยู่
เราเริ่มด้วยสมมุติฐานเดียวกัน คือ
* พอร์ทมีขนาด 1 ล้านบาท
* เล่น trading สำหรับหุ้นตัวนึง ราคาปัจจุบัน 100 บาท
* ตั้งกฎขาดทุนที่ 2% ของพอร์ทต่อการเข้าซื้อ 1 ครั้ง
ถ้าเราต้องการตั้งซื้อเป็น 4 ครั้ง
ก็กำหนดเลยครับ ว่าซื้อได้ครั้งละไม่เกิน 250,000 บาท
และ stop loss เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลงแล้ว ขาดทุน
2 หมื่นบาท (รวมคอมฯ ด้วย)
ที่ราคา 100 บาท ก็เริ่มซื้อ 2,400 หุ้น
จุด stop คือ 92.50 บาท
ที่ราคา 105 บาท ซื้อ #2 ที่ 2,300 หุ้น
จุด stop คือ 98 บาท
ที่ ราคา 110 บาท ซื้อ #3 ที่ 2,200 หุ้น
จุด stop คือ 103 บาท

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘