อัตราส่วนทางการเงิน ความสัมพันธ์ระหว่าง P/E P/BV และ ROE

วันนี้ก็จะขอยกเรื่องอัตราส่วนทางการเงินขึ้นมาทบทวนอีกสักครั้ง หลังจากได้เคยนำบทความเรื่อง การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio Analysis) มาลงไว้ เพราะตัวผมเองก็ยังสับสนกับอัตราส่วนพวกนี้อยู่บ่อยๆ ถ้าผมเขียนหรือเข้าใจอะไรผิดไปก็รบกวนช่วยแนะนำโดยการคอมเม็นต์ไว้ก็ได้ครับ

หลัง จากคราวที่แล้วได้แนะนำหนังสือ คัมภีร์สุดยอดนักลงทุน (THE LITTLE BOOK that BEATS the MARKET) ที่นำเสนอสูตรสำเร็จการลงทุนซึ่งใช้อัตราส่วนทางการเงิน 2 ตัวคือ P/E และ ROA ในที่นี้จะขอทบทวนอีกครั้งว่าอัตราส่วนทั้ง 2 ตัวนี้มีความหมายอย่างไร
P/E (Price/Earning per Share) หรืออัตราส่วนระหว่างราคาหุ้นและกำไรต่อหุ้น ถ้าสมมติให้กำไรของบริษัทคงที่ตลอดหรือไม่มีการเติบโตเลย ค่า P/E จะหมายถึงระยะเวลาที่ใช้ในการคืนทุน เช่น ถ้าเราซื้อหุ้นราคา 10 บาท โดยหุ้นนั้นมีค่า P/E อยู่ที่ 5 เท่า หมายความว่ากำไรต่อหุ้นเท่ากับ 2 บาท เมื่อเราถือหุ้นนี้ไป 5 ปี กำไรต่อหุ้นจะเท่ากับ 2 x 5 คือ 10 บาท ซึ่งเท่ากับราคาต้นทุนที่เราซื้อนั่นเอง ค่า P/E นี้ยิ่งต่ำยิ่งดีครับ เพราะผู้ลงทุนสามารถคืนทุนได้เร็ว
ROA (Return On Assets) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรจากสินทรัพย์ของบริษัท โดยคำนวณจาก Net Income/Total Assets โดยสินทรัพย์สุทธิ (Total Assets) ของบริษัทนั้นประกอบด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นและส่วนของหนี้สิน ค่า ROA นี้ยิ่งสูงยิ่งดี เพราะแสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการทำกำไรสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าสินทรัพย์ ที่ลงทุน หากค่า ROA ของบริษัทต่ำกว่า 5% นักลงทุนมืออาชีพมักจะไม่ให้ความสนใจกับบริษัทนั้น
นอกจากอัตราส่วนสอง ตัวที่กล่าวถึงในหนังสือคัมภีร์สุดยอดนักลงทุนแล้ว ลองมาดูอัตราส่วนตัวอื่นที่นักลงทุนแบบเน้นคุณค่านิยมใช้ในการเลือกหุ้นกัน

ROE (Return on Equity) เป็นตัวที่บ่งบอกถึงความสามารถของบริษัทในการนำเงินลงทุนของผู้ถือหุ้นไปทำ ให้งอกเงยได้ในอัตราผลตอบแทนเท่าไหร่ ซึ่งคำนวณจาก Net Income/Equity ค่า ROE นี้ยิ่งสูงยิ่งดี โดยนักลงทุนมืออาชีพจะมองหาหุ้นที่มีค่า ROE สูงกว่า 12-15% อย่างต่อเนื่องหลายๆปี

หากนำค่า ROA และ ROE มาพิจารณาแล้วจะพบว่าอัตราส่วนทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันคือเป็นตัวบ่งบอก ความสามารถในการทำกำไรของบริษัท จุดแตกต่างกันที่สำคัญของอัตราส่วนทั้งสองจะอยู่ที่หนี้สินของบริษัท เนื่องจาก Assets = Equity + Liabilities ดังนั้นจากสูตรการหาค่า ROA และ ROE จะเห็นว่าถ้าบริษัทไม่มีหนี้สินค่าหรือ Liabilities มีค่าเท่ากับ 0 เราจะคำนวณค่า ROA ได้เท่ากับ ROE แต่หากบริษัทมีหนี้สินเยอะอาจทำให้ค่า ROA ที่ได้มีค่าต่ำในขณะที่ ROE มีค่าเท่าเดิม ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรระวังหากพิจารณาเฉพาะค่า ROE ที่สูงๆโดยไม่พิจารณาถึงหนี้สินของบริษัท

อัตราส่วนอีกตัวที่นิยมนำมาใช้ในการเลือกหุ้นคุณค่าและจะพูดถึงเป็นตัวสุดท้ายในวันนี้ก็คือ
P/BV (Price/Book Value) โดย Book Value คิดมาจาก Equity/Number of Shares โดยทั่วๆไปแล้วค่า P/BV นี้ยิ่งต่ำยิ่งดี ตัวเลขมาตราฐานที่มักจะใช้เป็นฐานก็คือ 1 เท่า หากสามารถซื้อหุ้นที่มีค่า P/BV น้อยกว่า 1 ได้ก็หมายความว่าเราสามารถซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีของบริษัท

หลัง จากได้ทบทวนอัตราส่วนทางการเงินที่นักลงทุนหุ้นคุณค่านิยมใช้ในการพิจารณา เลือกหุ้นที่จะซื้อกันแล้ว คราวหน้าหากมีโอกาสเราลองมาดูความสัมพันธ์ของอัตราส่วนพวกนี้กันดู

---------------------------------------------------------------

สวัสดี ครับ หลังจากคราวที่แล้วที่กล่าวถึงอัตราส่วนทางการเงินไปคือ P/E ROA ROE และ P/BV ตามที่หนังสือ ทั่วๆไปให้ความหมายไว้ ในวันนี้เราลองมาลงรายละเอียดของ P/E P/BV และ ROE กันอีกสักนิดนะครับ คิดว่าจะทำให้เห็นภาพมากขึ้น
สูตรการคำนวณของอัตราส่วนทางการเงินที่กล่าวถึงคือ

P/E = Price/EPS = Price/(Net Profit/Number of Share)
P/BV = P/BV = Price/(Equity/Number of Share)
ROE = Return/Equity = (Net Profit/Equity)

จากสูตรด้านบน เมื่อมาดูความสัมพันธ์ของสูตรแต่ละตัวจะได้ว่า
P/BV = P/E x ROE

ทีนี้เมื่อเราลองพิจารณาหลักการเลือกซื้อหุ้นทั่วไปที่มักจะแนะนำให้ซื้อหุ้นที่มีค่า P/BV และ P/E ต่ำๆ แต่ค่า ROE สูงๆ

ซึ่งเมื่อดูจากสูตรความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทั้งสามแล้ว จะเห็นว่ามีส่วนที่ขัดแย้งกันอยู่คือ
หากหุ้นมีค่า ROE สูง ค่า P/BV ก็จะต้องสูงตามไปด้วย ทีนี้จะเลือกหุ้นยังไงดีล่ะ

ถ้า คุณเป็นนักลงทุนในแนวเบนจามิน เกรแฮม (Benjamin Graham) ซึ่งเน้นลงทุนในหุ้นที่มีราคาถูกก็คงจะต้องเลือกหุ้นที่มีค่า P/BV ต่ำและ P/E ต่ำ

แต่ถ้าคุณเป็นนักลงทุนในแบบของวอร์เรน บัฟเฟตต์แล้วล่ะก็ คุณคงจะเลือกลงทุนในหุ้นที่มีค่า P/E ไม่สูงมากนัก และมีค่า ROE ที่สูงอย่างต่อเนื่อง (ROE อย่างน้อย 12% ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี) ซึ่งก็คือหุ้นของบริษัทที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

ปํญ หาในการดูแต่ผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นสูงๆ ก็คือส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นสามารถลดลงได้หากบริษัททำการจ่ายเงินปันผลให้แก่ ผู้ถือหุ้นหรือการซื้อหุ้นคืนจากตลาด ซึ่งจะทำให้ ROE ของบริษัทสูงขึ้น ดังนั้นนักลงทุนจึงควรดูผลตอบแทนต่อเงินลงทุนทั้งหมดเพิ่มเติม โดย
Return On Total Capital (ROTC) = EBIT/(Equity + Debt)
นักลงทุนควรที่จะมองหาบริษัทที่มี ROTC ที่ต่อเนื่องและสม่ำเสมออย่างน้อย 12% ขึ้นไป
สุดท้ายนี้เราลองย้อนมาดูกันหน่อยว่าเมื่อไหร่ที่เราควรจะเลือกซื้อหุ้นของบริษัทที่มี P/BV ต่ำและ ROE ต่ำ

เมื่อ นักลงทุนไม่มีความรู้หรือไม่มีเวลาติดตามข่าวสารการลงทุนอย่างต่อเนื่อง การลงทุนในหุ้นที่มี P/E และ P/BV ต่ำหลายๆตัว (อย่างต่ำสัก 10 ตัว) เป็นหลักการลงทุนที่มีการพิสูจน์มาระดับหนึ่งแล้วว่าให้ผลตอบแทนที่ชนะตลาด ได้

เมื่อเจอหุ้นที่มีพื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นหุ้นตัวหนึ่งที่มีค่า P/BV ต่ำ และในอดีตอาจจะมีผลกำไรที่ไม่ค่อยดีทำให้มีค่า ROE ต่ำอยู่นาน แต่ถ้าเรามีข้อมูลเพียงพอว่าบริษัทมีพื้นฐานที่เปลี่ยนไปเช่นมีการลงทุนใน โครงการบางอย่างที่ได้ผลดีมากและสามารถสร้างกำไรในอนาคตได้เป็นกอบเป็นกำ ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ ROE ในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้น หุ้นแบบนี้โอกาสที่จะกำไรหลายๆเท่าต้วนั้นมีสูงมาก ซึ่งหุ้นพวกนี้เห็นได้บ่อยๆในกลุ่มธุรกิจวัฏจักร ที่อยู่ในช่วงต่ำสุดของ Cycle และกำลังมีแนวโน้มที่ดี

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘