Monday, October 01, 2007 การวิเคราะห์ตัวเลขและคุณภาพ

การวิเคราะห์เลือกหุ้นที่จะซื้อลงทุนใน แนว vi นั้นผมแบ่งออกมาได้เป็น 2 แบบ คือ แบบที่เน้นการวิเคราะห์ตัวเลขและแบบที่เน้นการวิเคราะห์คุณภาพของธุรกิจเป็น หลัก

คน ที่วิเคราะห์แบบตัวเลขเป็นหลักนั้นจะไม่ค่อยมองที่ตัวธุรกิจมากเท่าไหร่นัก โดยสิ่งที่นักลงทุนประเภทนี้สนใจคือตัวเลขผลกำไรคาดการณ์ ตัวเลขสินทรัพย์ภายในงบดุล โดยจะซื้อเฉพาะหุ้นที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าที่คำนวณได้เท่านั้น นักลงทุนแบบนี้ก็มีตัวอย่างที่ชัดเจนมากก็คือเกรแฮม บิดาแห่งการลงทุนแนว vi ผู้เขียนหนังสือ The Intelligence Investor โดยจะซื้อหุ้นที่เน้นว่าถูกไว้ก่อนเรื่องคุณภาพไม่ใช่สิ่งสำคัญนักเพราะมี ความเชื่อว่าคุณภาพนั้นเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ การตีมูลค่านั้นยากเกินไป

นัก ลงทุนอีกพวกหนึ่งกลับมองในมุมที่ต่างกันออกไป คือเค้าจะให้ความสำคัญกับตัวธุรกิจเป็นอย่างมาก จะวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่หุ้นนั้นแข่งขันอยู่ วิเคราะห์ความได้เปรียบเชิงแข่งขันของหุ้น พวกถึงความสามารถของผู้บริหารว่ามากน้อยแค่ไหน ถ้าเลือกหุ้นที่มีคุณภาพที่ดีอยู่ในอุตสาหกรรมที่ดีและมีผู้บริหารที่ดีแล้ว โอกาสประสบความสำเร็จกับการลงทุนก็มีสูงมาก นักลงทุนที่อยู่ในกลุ่มนี้ก็คือ Philip Fisher ผู้เขียนหนังสือ Common stock Uncommon Profit

ใน ความคิดเห็นของผม ผมว่าการลงทุนแนว vi ให้สมบูรณ์แบบนั้นจะต้องประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ทั้งตัวเลขและคุณภาพควบคู่ กันไป ซึ่งก็เป็นที่มาของการลงทุนแบบผสมซึ่งมีตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือ warren buffett ซึ่ง buffett บอกว่าการลงทุนของเค้านั้นเกิดจากการผสม เกรแฮม 80% และ fisher 20% (แต่ผมว่าจริงๆแล้วสไตล์การลงทุนของ buffett นั้นน่าจะเป็น เกรแฮม 20 แล้ว fisher 80 มากกว่า เค้าอาจจะยกย่องเกรแฮมในฐานะอาจารย์คนแรกของเค้ามากไป)

การ วิเคราะห์หุ้นนั้นผมจะเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ด้านคุณภาพก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าหุ้นมีคุณภาพที่ดี ถึงจะค่อยมาตรวจสอบด้านตัวเลขว่าหุ้นแพงเกินไปหรือไม่ แต่ถ้าคุณภาพของธุรกิจไม่ดีเท่าที่ควร เราก็ไม่จำเป็นต้องเสียเวลามาวิเคราะห์ทางด้านตัวเลขต่อ การใช้หลักการวิเคราะห์ทั้ง 2 ด้านควบคู่กันจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าเราจะได้หุ้นที่ดีในราคาที่ไม่แพง และการลงทุนนั้นจะมีโอกาสขาดทุนต่ำและโอกาสกำไรเป็นกอบเป็นกำก็จะมีมาก

"ซื้อหุ้นคุณภาพดีที่ราคาเหมาะสม ดีกว่าการซื้อหุ้นคุณภาพต่ำที่ราคาถูก"

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘