Monday, August 14, 2006 การวัดราคาหุ้นด้วย P/E ratio 3

ในการเลือกซื้อหุ้นเราต้องเทียบระหว่าง ราคาที่เราจะจ่ายกับคุณภาพของหุ้น ยิ่งหุ้นมีคุณภาพสูง pe ที่เหมาะสมของหุ้นนั้นๆก็ควรจะสูงไปด้วยการประเมินคุณภาพของหุ้น ผมมองว่าเป็นศิลปะ ไม่มีสูตรตายตัวในการคิดออกมาเป็นตัวเลข เพราะคุณภาพนั้นมันวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก ก็อาศัยใช้ประสบการณ์ฝึกดูไปเรื่อยๆก็พอจะได้ไอเดียว่าหุ้นประเภทไหนควรมี pe เท่าไหร่

โดยผมจะมี check list คร่าวๆในใจ เอาไว้ประเมินคุณภาพของหุ้นดังนี้
  • การเติบโตของรายได้: แนวโน้มอุตสาหกรรม, ความสามารถของคู่แข่ง, ความสามารถในการเพิ่มยอดขายของบริษัท
  • ความสามารถในการควบคุมต้นทุน: อำนาจต่อรองเทียบกับ supplier, ความสามารถในการผลักภาระไปให้ลูกค้า
  • ความผันผวนของรายได้และกำไร: ยิ่งผันผวนมาก ผมมองว่าคุณภาพจะค่อนข้างต่ำ
  • ผู้บริหาร: ความซื่อสัตย์, ความขยัน, ความเก่ง (ต้องระวังผู้บริหารที่ขี้โม้เก่งนิดนึง เพราะเราอาจจะคิดว่าฝีมือดีทั้งที่จริงๆแล้วอาจจะไม่ได้เรื่องเลยก็ได้)
  • โครงสร้างการเงินของบริษัท: หนี้สินเทียบกับส่วนทุน, หนี้สินเทียบกับกำไร, เงินสดที่เหลืออยู่หักด้วยหนี้สิน
  • ฯลฯ

จาก ปัจจัยต่างๆข้างต้นที่เป็นตัววัดคุณภาพ ลองพยายามประเมินออกมาให้ได้ว่าหุ้นที่เราวิเคราะห์นั้นอยู่ในกลุ่มไหน แล้วลองเอามาเทียบกับหุ้น 5 กลุ่มข้างล่างที่ผมเขียนเอาไว้
  • หุ้นที่มีคุณภาพแย่ (หุ้นเกรด F) กิจการที่ขาดทุน หนี้สินเยอะๆ หรือกำไรเอาแน่เอานอไม่ได้ปีนึงกำไรปีนึงขาดทุน หรือพวกที่ผู้บริหารไว้ใจไม่ได้ พวกนี้ไม่ต้องประเมิน pe หรอกครับอย่าไปซื้อมันเลยดีกว่า
  • หุ้นที่มีคุณภาพกลางๆ (หุ้นเกรด C) หนี้สินกลางๆ รายได้และกำไรไม่ค่อยเติบโต หรือเติบโตช้าไม่เกิน 5% ต่อปี pe ควรจะอยู่แถวๆ 5-6
  • หุ้นคุณภาพดีพอใช้ (หุ้นเกรด B) หนี้ไม่มาก รายได้ไม่ผันผวนโตอย่างสม่ำเสมอ กำไรในอนาคตเติบโตระดับ 5-15% ต่อปี pe น่าจะประมาณ 6-9
  • หุ้นคุณภาพดี (เกรด A) หนี้น้อย หรือไม่มีเลย รายได้โตอย่างต่อเนื่อง กำไรในอนาคตคาดว่าจะโตในระดับ 15% ขึ้นไป pe เหมาะสมประมาณ 9-12
  • หุ้นสุดยอด (Super stock) หนี้น้อยหรือไม่มี รายได้มั่นคงมากและโตขึ้นอย่างสม่ำเสมอ กำไรโตขึ้นในระดับ 20-30% ผู้บริหารเก่ง ขยัน ซื่อสัตย์ แนวโน้มธุรกิจดี มีอำนาจในการต่อรองต่อ supplier สูง อยู่ในอุตสาหกรรมที่ไม่แข่งขันกันเรื่องราคาเป็นหลัก สามารถผลักภาระให้ลูกค้าได้ ฯลฯ พวกหุ้นชั้นยอดพวกนี้ pe ตั้งแต่ 12 ขึ้นไปจนถึง 20

ตัวเลขที่แสดงเป็นเพียงแค่ Guideline คร่าวๆเท่านั้นนะครับ อย่าไปคิดว่าเป็นสูตรตายตัวอะไร ที่แบ่งออกมาเป็นกลุ่มแบบนี้ผมว่าเข้าใจง่ายดี อ่าน Blog วันนี้แล้วจำเกรดของหุ้นไว้ด้วยก็ดีนะครับ เผื่อในอนาคตผมอาจจะยกเกรดเหล่านี้มาใช้ในสื่อสารให้เข้าใจได้ตรงกัน
ปล. ตามการประเมินมูลค่าหุ้นด้วย pe ก็ยังมีข้อจำกัด และข้อควรระวังหลายประการ ซึ่งจะเอามาพูดกันต่อในคราวหน้านะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘