ทฤษฎีแกน GANN THEORY
GANN THEORY เป็นผลงานของ W.D. DAN เน้นความสัมพันธ์ของ “ราคา” กับ “เวลา” โดยมองว่าระดับของราคา หรือระดับ SUPPORT และ RESISTANCE มาจากพฤติกรรมของผู้ลงทุน ซึ่งอาจกำหนดโดยใช้เปอร์เซ็นต์เป็นเครื่องวัด โดยระดับที่จะเป็น RESISTANCE และ SUPPORT จะอยู่ที่ 100% จากจุดสูงสุดและต่ำสุดที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านั้น และหลังจาก 100% การเคลื่อนไหวของระดับราคา จะค่อย ๆ ลดลงเป็นลำดับ เป็น 50%, 25% และ 12.5%
W.D.GANN ได้นำเทคนิค 2 ชนิด มาประกอบในการสร้าง GANN THEORY โดยเทคนิคแรก เน้นความสัมพันธ์ของราคา กับ เวลา เรียกว่า GANN’S GEOMETRIC ANGLE ส่วนอีกเทคนิคใช้แสดงระดับ SUPPORT และ RESISTANCE เรียกว่า PERCENTAGE RETRACEMENT
GANN’S GEOMETRIC ANGLE
ความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงระหว่างราคากับเวลา เป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎี GANN ในเรื่องของมุมทางเรขาคณิต (GEOMETRIC ANGLES) ซึ่งเราจะเรียกว่าเส้น GANN’S GEOMETRIC ANGLES ซึ่งก็คือ การลากเส้นแนวโน้มจากจุดสูงสุด หรือต่ำสุดในอดีต ซึ่งเส้นที่สำคัญที่สุดจะเป็นเส้นแนวโน้มที่ลากออกมา แล้ววัดมุมได้ 45 องศา ซึ่งจะเขียนแทนด้วยเครื่องหมาย 1 X 1
PRICE ANGLE ที่ใช้ใน GANN มีดังนี้
1 x 8 = 82.5 องศา 1 x 4 = 75 องศา
1 x 3 = 71.25 องศา 1 x 2 = 63.25 องศา
1 x 1 = 45 องศา 2 x 1 = 26.25 องศา
3 x 1 = 18.75 องศา 4 x 1 = 15 องศา
8 x 1 = 7.5 องศา
ตัวเลขตัวแรก จะหมายถึง “เวลา” และตัวหลัง จะหมายถึง “ราคา” ดังนั้น 1 x 1 หมายความว่า เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป 1 ช่วงเวลา (อาจเป็น วัน, สัปดาห์ หรือเดือน) ระดับราคาจะเปลี่ยนไป 1 ช่วงเวลา ถ้าเส้นแนวโน้มนี้เป็นเส้น UPTREND ราคาก็เปลี่ยนแปลงสูงขึ้น ถ้าเป็นเส้น DOWNTREND ราคาก็เปลี่ยนแปลงลดลงถ้าเป็น 1X2 หมายความว่า เวลาเปลี่ยนไป 1 ช่วงเวลา ราคาเปลี่ยนไป 2 ช่วงราคา ถ้าเป็น 2x1 หมายความว่า เวลาเปลี่ยนไป 2 ช่วงเวลา ราคาเปลี่ยนไป 1 ช่วงราคา
นอกจากนั้น GANN ยังใช้มุม 45 องศา ในทางเรขาคณิตมาประกอบในการดูความสัมพันธ์ระหว่างราคากับเวลา โดยมองว่าเส้นทแยงมุม 45 องศา เป็นเส้นกั้นระหว่าง BULLISH กับ BEARISH คือ ตลาดจะยังคงเป็นตลาด BULL ถ้าเส้นราคาอยู่เหนือเส้นทแยงมุม 45 องศา ที่วิ่งขึ้นและตลาดจะเป็นตลาด BEAR ตราบที่เส้นราคาอยู่ต่ำกว่าเส้นทแยงมุม 45 องศา ที่วิ่งลง การทะลุเส้นทแยงมุม 45 องศา ดังกล่าว จะแสดงถึงแนวโน้มของราคาที่เปลี่ยนไป
PERCENTAGE RETRACEMENT
GANN แบ่งการเคลื่อนไหวของราคาเป็น 10 ส่วน ดังนี้
1/8 = 12.5% 2/8 = 25%
1/3 = 3.3% 3/8 = 37.5%
4/8 = 50% 5/8 = 62.5%
2/3 = 67% 6/8 = 75%
7/8 = 87.5% 8/8 = 100%
แต่ละเส้นเปอร์เซ็นต์ จะเป็นระดับ SUPPORT และ RESISTANCE ของราคาที่เคลื่อนไหวขึ้นลง เส้นเหล่านี้จะเป็นเส้นในแนวนอน
การวิเคราะห์แนวโน้มโดยใช้ GANN THEORY
การวิเคราะห์แนวโน้มนั้น GANN จะใช้เทคนิคทั้งสองอย่างที่กล่าวมาข้างต้นประกอบกันโดย
ขั้นแรก จะเริ่มจากการลากเส้นตรงในแนวนอนแบ่งช่วงราคาระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุด ออกเป็น 8 ส่วน ได้แก่ 1/8 2/8 3/8 4/8 … 8/8 โดยเส้นที่มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะเป็นเส้น 4/8 หรือ 50% และ 3/8 (38.2%) กับ 5/8 (61.8) หรือ FIBONACCI NUMBER
นอกจากนี้ GANN ยังได้แบ่งช่วงราคา ณ ระดับ 1/3 แบะ 2/3 อีก 2 ส่วน ซึ่งถึงว่าเป็นระดับที่มีความสำคัญต่อการวิเคราะห์เช่นกัน
โดยการวิเคราะห์ด้วยเส้นเหล่านี้ ในแนวโน้มขึ้นจะถือเป็น SUPPORT และในแนวโน้มลงจะถือเป็น RESISTANCE
ขั้นที่สอง จะเป็นการสร้างเส้น GEOMETRIC ANGLES จุดสำคัญของการเริ่มต้นลากเส้น GANN’S BEOMETHIC ANGLES คือ เมื่อเริ่มมองเห็นยอด PEAK หรือ BOTTOM ของราคาในอดีต ก็ลากเส้น 1x1 ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น UPTREND หรือ DOWNTREND จากนั้นก็ลากเส้นอื่น ๆ ขึ้นประกอบการพิจารณาต่อไป
หลักการวิเคราะห์
ณ ระดับราคาต้นเดือน FEB. ซึ่งเป็นยอด PEAK ให้ลากเส้น DOWNTREND LINE 1X1 จะเป็นระดับ RESISTANCE จนกระทั่งระดับราคาหุ้นทะลุเส้นนี้ขึ้นมา เมื่อต้นเดือน APR. จึงถือว่าราคาเริ่มเปลี่ยน TREND และจากจุด BOTTOM เมื่อกลางเดือน MAR. ถ้าเราลากเส้น UPTREND 1X2 และ 1x1 ดังนั้นในช่วงที่ราคาเริ่มเปลี่ยน TREND จะมี SUPPORT LINE อยู่ที่เส้น 1x2 จนกระทั่งกลางเดือน APR. เมื่อราคาลงมาต่ำกว่าเส้น SUPPORT 1x2 ระดับ SUPPORT ต่อไปจึงเป็นเส้น 1x1
ในช่วงเดือน JAN.-FEB. ซึ่งเราจะเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นมาอย่างรวดเร็วมาก ถ้าเราลากเส้น GANN LINES ตั้งแต่จุดเริ่มต้นเดือน JAN เป็นเส้น UPTREND จะเห็นว่าแนวโน้มส่วนใหญ่อยู่บนเส้น 1x4 ซึ่งถือว่าขึ้นมาเร็วเกินไป ระดับที่เหมาะสมควรอยู่บนเส้น 1x1 ราคาจึงเริ่มปรับตัวลง และที่มุม A ซึ่งเป็นมุมที่ใกล้เคียง 90 องศา นับว่าเป็นจุด SUPPORT ที่สำคัญ ระดับราคาจึงเริ่มเปลี่ยนแนวโน้มขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง