วางหมาก...กระดานหุ้น ตอน เจาะลึกกลยุทธ์ FTA

คราวที่แล้ว ปฐมบทแห่งการลงทุน 3 ว่าด้วยเรื่อง “จะเลือกเป็นนักลงทุนแบบใด?” คำถามนี้ คำตอบอาจจะบ่งบอกได้จาก “แนวทางในการบริหารพอร์ทการลงทุนของตน” ซึ่งผมได้เสนอสูตร 5-4-1 นั่นก็คือ VI (Value Investing) 50%, FTA (Fundamentally Technical Analysis) 40% และ VS (Value Speculating) 10% ตามลิงค์นี้ครับ

http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I3271246/I3271246.html

ตอน นี้เรามาเจาะลึกกับกลยุทธ์ FTA กันว่าเป็นอย่างไร เหมาะกับใคร มีกฎอะไรบ้าง และผลกระทบจากการที่ใช้ผิดพลาดเป็นอย่างไร และตัวอย่างการใช้

FTA คืออะไร?
FTA (Fudamentally Technical Analysis) เป็นกลยุทธ์การลงทุนโดยอาศัยจุดเด่นของการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐานมาช่วย ในการสรรหาหุ้นดี มาลงทุน ซึ่งหลักการในการสรรหาหุ้น หรือบริษัทที่น่าลงทุน เหมือนกับหลักการของ “บัฟเฟตต์” ทุกประการ (หากจำไม่ได้ให้กลับไปอ่านวางหมาก...ตอนที่ 3) แต่อาจจะไม่เข้มงวดเท่าก็ได้ และที่เพิ่มเติมคือ จะต้องเป็นบริษัทที่นิยมเทรดกันพอสมควร คือให้มีระลอกคลื่น เพื่อที่จะได้ทำ FTA ได้ โดยดูที่มูลค่าการซื้อขายตามลิงค์นี้

http://www.set.or.th/static/market/mainboard.html

จาก นั้นก็อาศัยแนวคิดหลัก หรือเคล็ดวิชาเดียวกับ DSM คือ “ทำอย่างไรให้เงินจำนวนเท่าเดิม มีจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นมาได้ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับเงินปันผลให้มากขึ้น” แต่วิธีการแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยผมจะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค มาช่วยเพิ่มจำนวนหุ้น

ใช้เครื่องมือทางเทคนิคอะไร มาประยุกต์ใช้กับ FTA?
เครื่อง มือทางเทคนิคที่ผมใช้เป็นอาวุธหลักคือ ทฤษฎีคลื่นอีเลียต, Fibonacci Retracement, เส้นแนวรับแนวต้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เส้น Trend line และ เส้น EMA ค่าต่างๆ

อาวุธรองที่ผมใช้เป็นประจำคือ MACD, แท่งเทียน, Patterns และเครื่องมือ Basic Technical ที่ผมดัดแปลงขึ้น คือ T-EMA (ซึ่งผมจะนำมาเผยแพร่ในตอนต่อไป)

FTA จะใช้อาวุธใดก็ได้ ขอให้เป็นอาวุธที่ใช้ถนัด และเหมาะสำหรับผู้ใช้ ซึ่งอันนี้ผู้ที่ใช้เครื่องมือจะรู้เอง

ความรู้ทางด้านการวิเคราะห์ทางเทคนิค เข้าไปดูที่ลิงค์นี้

http://inv2.asiaplus.co.th/abn/web/thai/investor_learning.jsp

FTA เหมาะกับใคร?
1. คนที่อยากมีอิสรภาพทางการเงินจากการ “ลงทุน” ในหุ้น คือมุ่งหวังที่จะรับผลตอบแทนจากปันผล (Dividend Yield) มากกว่าผลตอบแทนในรูปส่วนต่างราคา (Capital Gain) แต่ก็ยังชื่นชอบการซื้อ-ขายหุ้นโดยการใช้เครื่องมือทางเทคนิคจับจังหวะเข้า ทำการซื้อ-ขาย
2. คนที่มีองค์ประกอบทั้ง 5 ครบแล้วเท่านั้น นั่นคือ คัมภีร์ยุทธ์ อาวุธ กระบวนท่า เคล็ดวิชา และการฝึกฝน (ทั้งทางด้านบุ๋นและบู๊)
3. คนที่ชอบการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐาน และสนุกกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค
4. คน “เล่นหุ้น” ที่เป็นนักพนันดัมมี่ โป๊กเกอร์ เก้าเก ที่อาศัยความรู้ ไหวพริบ ประสบการณ์ การคาดการณ์ การวิเคราะห์คู่แข่ง ฯลฯ ที่อยากปรับพฤติกรรมมาเป็น “นักลงทุน”
5. คนที่มี “เงินเย็น” เหลือเก็บบางส่วนจากงานที่ทำ
6. คนที่มีวินัยในการลงทุน ซื้อ-ขายตาม “Model Trade” ที่คิดว่าเหมาะสำหรับตน
7. คนที่อยากเป็นเจ้าของกิจการ ในบริษัทที่ตนเองชื่นชอบ
8. นักลงทุนระยะยาว ยาวมาก ยาวโครตๆๆ

FTA ไม่เหมาะกับใคร?
1. คนที่มุ่งหวังที่จะรับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคา (Capital Gain) มากกว่าผลตอบแทนจากปันผล (Dividend Yield)
2. คนที่ไม่ชอบการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐาน
3. คนที่ไม่ชอบหรือไม่ยอมรับการวิเคราะห์ทางเทคนิค
4. คนที่มีองค์ประกอบทั้ง 5 ไม่ครบ
5. คน “เล่นหุ้น” ที่เป็นนักพนันป๊อกเด้ง ไฮโล ที่อาศัยดวงอย่างเดียว
6. คนที่นำ “เงินร้อน” มา “เล่นหุ้น” (รวมทั้งพวกที่กู้เงินมาเล่นด้วย)
7. คนที่อยากรวยทางลัดจาก “ตลาดหุ้น” หรือ “ยุทธภพ”
8. คนที่ลงทุนระยะสั้น สั้นมาก สั้นโคตรๆๆๆ

ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางปัจจัยพื้นฐาน หรือทางเทคนิคเลย จะใช้ FTA ยังไง?
ก็ทำให้ตัวเองรู้ซักทีสิครับ!!! 555 คือ ต้องทำให้องค์ประกอบทั้ง 5 ครบซะก่อน

ไม่มีเวลาศึกษามานั่งอ่านหรือศึกษา ให้ครบองค์ประกอบทั้ง 5?
จัดสรรเวลาว่างเพียงวันละ ครึ่งช.ม. หรือ หนึ่งช.ม. ก่อนเข้านอน ทำให้คุณสามารถเกษียณก่อนกำหนดได้ เป็นการ “ลงทุน” ที่คุ้มค่ามาก

ต้องทำงานหนักทุกวัน กลับบ้านเหนื่อยอยากพักผ่อน ไม่มีเวลามานั่งอ่านหรือศึกษาแบบเด็กๆ เตรียมสอบหรอก?
คุณ อยากทำงานหนัก กลับบ้านเหนื่อย ไปตลอดชีวิตหรือเปล่าล่ะครับ? หรืออยากทนเหนื่อยแค่เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง และสบายในวันข้างหน้า เลือกเอาก็แล้วกัน

อายุมากแล้ว ทำ FTA ตัวเองก็ไม่ได้ใช้ ทำไปทำไม?
อย่าง น้อยก็ยังมีมรดกเป็นหุ้นของบริษัทดีๆ ไว้ให้ลูกหลานน่า ยังดีกว่าไม่มีอะไรให้ หรือมีหนี้ให้ช่วยล้างต่อหลังจากตัวเองตายไม่ใช่หรือ?

ชอบความสนุกเร้าใจของการเก็งกำไร ทำ FTA มันสนุกเร้าใจหรือเปล่า?
เวลา ได้หุ้นเพิ่มขึ้นมาสะใจโครตๆ เลยล่ะครับ เพราะนอกจากจะได้จำนวนหุ้นเพิ่มแล้ว โอกาสรับเงินปันผลในอนาคตตามจำนวนหุ้นที่เพิ่มก็สูงขึ้นด้วย
เวลาได้หุ้น น้อยลงกลับไม่ค่อยเสียใจเท่าไหร่ (จะเกิดขึ้นไม่บ่อย ถ้ามี “วินัย” ในการใช้ Model Trade) ก็เพราะว่าที่ขายออก 20%เพื่อที่จะซื้อคืนในต้นทุนที่ต่ำกว่ามันกลับเป็นขายหมู (คือขายออก 20% แต่หุ้นดันรีเบาวน์ ช้อนซื้อคืนไม่ได้) นั่นก็แสดงว่าอีก 80% ที่เหลืออยู่ในพอร์ทเราได้กำไรเพิ่มขึ้นอีกแนะ จะเสียใจทำไมอ่ะ

ชอบพนันอ่ะ สนุกดี โอกาสรวย 50-50?
ก็ ลองมาเล่นพนันแบบใช้กึ๋นอย่างเล่นดัมมี่ โป๊กเกอร์ เก้าเก แทนเล่นไพ่ป๊อกเด้ง ไฮโล ดูบ้างสิครับ โอกาสมันมากกว่า 50-50 แน่นอน ซึ่งไม่ได้อาศัยดวงอย่างเดียว

ทำ FTA แล้วหยุดกลางคันได้ไหม?
ได้ ครับ หากคุณทำ FTA แล้วเห็นว่าได้จำนวนหุ้นมากพอควรแล้ว จะเลิกทำแล้วถือยาวๆ เป็น VI ต่อไปก็ได้ หรือ อยากลองหันมาทำ DSM ดูบ้างก็ย่อมได้ เพราะแนวคิดหลักเดียวกัน

เป็น Day Trader จะลองทำ FTA ดูบ้างได้ไหม?
ได้สิครับ คุณก็อาจจะประยุกต์ใช้กราฟ Intra day มาจับจังหวะเข้าซื้อ-ขาย ตามที่คุณถนัด ว่าแต่คุณมีองค์ประกอบครบทั้ง 5 หรือยังล่ะ

ตอนที่แล้วคุณหมากเขียวยกตัวอย่างคลื่นอีเลียต ประยุกต์ใช้กับ FTA ซึ่งเข้าใจยาก ไม่ถนัด จะใช้เครื่องมืออื่นได้หรือเปล่า?
แนว คิด FTA ประยุกต์ใช้ได้กับทุกๆ เครื่องมือ ที่คุณคิดว่าเป็น “Model Trade” ที่เหมาะกับคุณ เมื่อคุณค้นพบแล้ว ก็ใช้มันอย่างมีวินัย ทำตัวเองให้เป็น “Trader Machine”

ทำยากนะ ไอ้ “Trader Machine” เนี่ย?
เข้าองค์ ประกอบ 5 ไงล่ะครับ ฝึกฝน ฝึกฝน และฝึกฝน ท่องไว้ และปฏิบัติตาม ผมเริ่มศึกษาคลื่นอีเลียต และปริ๊นทกราฟ SET และหุ้นรายตัวหลายๆ ตัวมานั่งนับคลื่น “ทุกวัน” วันละ 10-20 นาทีเท่านั้นเอง พอมีสัมมนาที่โบรกจัดที ผมก็จะคัดกราฟเด็ดๆ ที่ผมนับแล้วคิดว่านับได้ Make sense ที่สุดไปให้นักวิเคราะห์ท่านหนึ่งซึ่งถนัดเรื่องคลื่นมาก พิจารณาดูว่าเป็นอย่างไร (นักวิเคราะห์ท่านนี้ผมนับถือเป็นอาจารย์ของผมท่านหนึ่ง) ผมฝึกแบบนี้อยู่เกือบปี จนมั่นใจและลองมาใช้จริง
จำไว้ว่าในโลกนี้มัน “No Free Lunch” ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ หรอกครับ

แนะนำดีจัง (ปากดีจริง จริง) พอร์ทลงทุนของคุณหมากเขียวกำไรหรือขาดทุนอ่ะ? (เป็นคำถามที่ส่งมาทางอีเมล ผมตอบที่นี่ละกัน)
ช่วง แรกๆ ที่เข้ามาในตลาด องค์ประกอบไม่ครบทั้ง 5 แถม EGO สูง ไม่ดูเทคนิคเลย เพราะคิดว่ามันเป็น Voodoo Finance เอาความรู้ที่เรียน Finance ตอนป.โทจากตำรามาใช้อย่างเดียว ผลปรากฎว่าขาดทุน เพราะเข้าไม่ถูกจังหวะ (ผมเริ่มเข้า “ยุทธภพ” ตอนตลาดปักหัวลงพอดีเลย) แถมขี้ตื่นกลัว และโลภอีกต่างหาก

หลังจากเปิดใจ ทำตัวเป็น “ถ้วยชาที่มีน้ำอยู่ครึ่งใบ” รับน้ำชาที่ค่อยๆ รินเติม และรินเติมมาเรื่อยๆ ศึกษาแนวคิดจากเพื่อนๆ พี่ๆ ในสินธร ทั้งคุณเด่นศรี พี่คลาย เครียด คุณเฟ่ยหง คุณMudley คุณอยากเชือก คุณซีเค พี่ Pretty ฯลฯ อีกมากมายกล่าวถึงแทบไม่หมด จนได้แนวคิดการลงทุนคือ FTA และเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุนใหม่ จัดพอร์ทใหม่ จนเงินที่ขาดทุนไปก็ค่อยๆ คืนทีละนิดทีละนิด จนขาดทุนน้อยลงแล้วครับ (ช่วงแรกผมขาดทุนมากประมาณ 56%) แต่ตอนนี้มันไม่สำคัญสำหรับผมหรอกครับว่าผมจะกลบขาดทุนได้เมื่อไหร่ ผมสนแต่ว่าเข้าซื้อ-ขายจังหวะใดถึงจะทำให้จำนวนหุ้นผมเพิ่มขึ้นได้มากกว่า

คุณอายุเท่าไหร่อ่ะ FTA จะน่าเชื่อถือเหรอ? (เป็นคำถามที่ส่งมาทางอีเมล ผมขอตอบที่นี่ละกัน)
อายุสำคัญขนาดไหนล่ะครับ ถ้าผมอายุน้อยแสดงว่าผมความรู้น้อยหรือเปล่า? หรือถ้าผมอายุเยอะแล้วผมจำเป็นต้องมีความรู้มากหรือ?
ประสบการณ์ ในตลาดผมไม่เยอะครับ ถือว่าน้อยมากหากเทียบกับผู้รู้หลายๆ ท่าน ผมจึงอาศัยเก็บข้อมูลในอดีตมาหลายๆ ปี หลายๆ ประเทศ ทำเป็นงานวิจัยชิ้นเล็กๆ เพื่อทดสอบดู ปลายปีที่แล้วใครที่เคยอ่านงานวิจัยเครื่องมือที่ผมนำเสนอคงจะพอจำได้ นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานวิจัยที่ผมทำเท่านั้น (ผมจะพูดถึงอีกครั้งในตอนหน้า)
น้อง Mudley อายุน้อยกว่าผม แต่แนวคิดยอดเยี่ยม ผมนับถือเป็นอาจารย์ผมท่านหนึ่งเหมือนกัน
น้อง Moonzonezturn เพิ่งเรียน ป.ตรี ปี 3 แต่มี Model Trade ที่คิดค้นขึ้นเอง ถือว่ายอดเยี่ยมเช่นกัน

ต้องนั่งดูกราฟหุ้นทุกวันหรือเปล่า ไม่มีเวลามานั่งเปิดคอมอ่ะ?
ผม ไม่ได้เป็น Day Trader ผมใช้กราฟระดับ 1 ปีเป็นหลัก ทำ FTA แต่ละครั้งประมาณ 3-4 อาทิตย์ต่อตัวต่อครั้งเท่านั้นครับ หากสัญญาณเครื่องมือยังไม่อยู่ในช่วงส่งสัญญาณ ก็ไม่จำเป็นต้องดูทุกวันก็ได้

ทำ FTA ควรมีหุ้นอยู่ในพอร์ทกี่ตัว?
หุ้น ในพอร์ทผมมีอยู่ 5 ตัวเท่านั้นเอง ผมคิดว่ามันเป็น “ลูก” น่ะครับ มีเยอะดูแลไม่ไหว เอาน้อยๆ แต่ดูแลทั่วถึงดีกว่า อีกหน่อยมันจะได้ “ดูแล” ผมได้ตอนแก่
VI มีอยู่ 2 ตัว
FTA มีอยู่ 2 ตัว
VS มีอยู่ 1 ตัว

ผลจากการใช้ FTA?
1. ได้เป็นเจ้าของกิจการ ในบริษัทที่ตนเองชื่นชอบ
2. อิสรภาพทางการเงิน จากปันผลที่เพิ่มขึ้นๆ จากจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นๆ
3. สุขกาย สบายใจจากการ “ลงทุน” ในหุ้น หุ้นขึ้นก็ Happy หุ้นลงก็สบายใจ

กฎการลงทุนของ FTA (แบบใช้คลื่นอีเลียต)
1. ห้ามขาดทุน คือให้ซื้อที่จุดเริ่มต้นของภาวะตลาดกระทิง นั่นคือซื้อที่จุดเริ่มต้นของคลื่น 1 ย่อย ของคลื่น 1 ใหญ่
2. ถ้าขาดทุน ให้ขาย 20% ที่แนวรับแรกที่เส้นราคามันหลุดลงไปทันที และขายทุก 20% เมื่อทะลุแนวรับต่อไปลงไป
3. ให้ไปซื้อคืนที่แนวรับที่เส้นราคาไม่สามารถลงต่อไปได้ คือโดนปุ๊บ กระเด้งทันที ด้วยเงินทั้งหมดที่ขายออกไป
4. หากกำไร ถ้าเป็นภาวะตลาดกระทิง คลื่น 1-5 ย่อย ขึ้นยังไงก็ไม่ขาย จะขายก็ต่อเมื่อ
4.1 หมดคลื่น 5 ย่อย ในคลื่นลูก 1, 3, และ5 ใหญ่ แล้วไปซื้อคืนที่คลื่น C ย่อย ในคลื่นลูก 2 และ 4ใหญ่
4.2 ชนแนวต้านเส้นขนาน 2 ครั้งแล้วไม่ผ่าน คืออาจจะเกิดการฟอร์มตัวเป็น Double Top (ถือว่าเป็นคลื่นล้มเหลว ซึ่งอยู่ในกฎอีเลียต)
4.3 สิ้นสุดภาวะตลาดกระทิง คือที่คลื่น 5 ย่อย ของคลื่น 5 ใหญ่
5. ภาวะตลาดหมี คลื่น 1-5 ย่อย ลงยังไงก็ไม่ซื้อ จะซื้อก็ต่อเมื่อ
5.1 หมดคลื่น 5 ย่อย ในคลื่นลูก A และ C ใหญ่ และไปขายที่คลื่น C ย่อย ของคลื่น B ใหญ่
5.2 ชนแนวรับเส้นขนาน 2 ครั้งแล้วไม่ผ่าน คืออาจจะเกิดการฟอร์มตัวเป็น Double Bottom
5.3 สิ้นสุดภาวะตลาดหมี คือที่คลื่น 5 ย่อย ของคลื่น C ใหญ่

กฎ ข้อ 2 และ 3 เกิดจากการวิเคราะห์กฎข้อ 1 ผิด เพราะคิดว่าราคากลับตัวเป็นภาวะกระทิงแล้ว พอขาดทุน จึงให้แก้ไขด้วยวิธีดังกล่าว จนกว่าจะมองลูกคลื่นถูกภาวะ แล้วค่อยเริ่มนับคลื่นใหม่

และการซื้อขายในแต่ละครั้ง ให้ซื้อขาย 20% เท่านั้น (ผมใช้แบบนี้ ท่านจะใช้สูตรอื่นก็ไม่ว่ากัน)

หากท่านไม่ถนัด หรือไม่ชอบใช้คลื่นอีเลียต ซึ่งเป็นหนึ่งใน Advance Technical

ดัง ที่กล่าวแล้วว่า FTA สามารถประยุกต์ใช้กับ Basic Technical ได้มากมายหลายเครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็น MACD, SSTO, RSI, EMA ฯลฯ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้จะเซทค่าเป็นเช่นใด ดังนั้นจึงมีกฎการซื้อขายแบบใช้เครื่องมือ Basic Technical ดังนี้

กฎการซื้อขายของ FTA (แบบใช้เครื่องมือ Basic Technical)
1. ห้ามขาดทุน คือให้ซื้อตามสัญญาณทางเทคนิคที่เครื่องมือที่คุณเลือกใช้ส่งสัญญาณ “ซื้อ” หรือเป็น “Golden Cross” เท่านั้น
2. ถ้าขาดทุน คือสัญญาณของเครื่องมือที่ใช้ให้ “ซื้อ” เป็น “Failure Cross” ให้ขาย 20% เมื่อสัญญาณของเครื่องมือที่คุณเลือกใช้ส่งสัญญาณให้ “ขาย” และขายทุก 20% เมื่อทะลุแนวรับต่อไปลงไป
3. ให้ไปซื้อคืนตามสัญญาณทางเทคนิคที่เครื่องมือที่คุณเลือกใช้ส่งสัญญาณ “ซื้อ” ด้วยเงินทั้งหมดที่ขายออกไป
4. ให้ซื้อตามสัญญาณทางเทคนิคที่เครื่องมือที่คุณเลือกใช้ส่งสัญญาณ “ซื้อ” เท่านั้น คือทำตัวให้เป็น Trading Machine
5. ให้ขายตามสัญญาณทางเทคนิคที่เครื่องมือที่คุณเลือกใช้ส่งสัญญาณ “ขาย” เท่านั้น คือทำตัวให้เป็น Trading Machine

ขอหลักการใช้งานจริงของFTA ด้วย เนื่องจากว่าVI และDSM มีคนเอามาให้ดูแล้ว?
ผม จะขอยกตัวอย่างการใช้ FTA โดยการใช้กราฟ SET เท่านั้นนะครับ ไม่ขอลงลึกไปถึงหุ้นรายตัว โดยตัวอย่างที่จะยก ผมจะใช้คลื่นอีเลียต ซึ่งเป็น Advance Technical เป็นตัวอย่างแรก และตามด้วย Basic Technical โดยผมใช้ MACD 12, 26 มาให้ดูเป็นตัวอย่าง

ภาพนี้เป็นภาพ SET เมื่อตอนเดือน 7 ปีที่แล้ว เส้นสีเขียวคือ EMA10 สีแดงคือ EMA25 และสีเหลืองคือ EMA200 จากกฎลงทุนของ FTA แบบคลื่นข้อ 1 ผมต้องซื้อที่จุดเริ่มต้นของภาวะตลาดกระทิง โดยตอนนั้นผมเข้าใจว่าคลื่น C ลูกแรก เป็นจุดสิ้นสุดของภาวะหมีแล้ว ผมจึงรอหลังจากนั้นสองวันเพื่อรอการฟอร์มตัวของแท่งเทียนเมื่อเห็นว่ารี บาวน์แน่แล้วจึงเข้าซื้อ

แต่ปรากฏว่าคลื่นลูกที่ผมเข้าใจว่าเป็น คลื่น 1 ย่อยของภาวะตลาดกระทิง กลับกลายเป็นคลื่นต่อของภาวะหมี ผมจึงต้องขายออก 20% ตามกฎข้อ 2 คือให้ขายที่แนวรับแรกที่เส้นราคามันหลุดลงไปทันที นั้นคือแนวรับเส้น EMA 10 และ 25 (จากภาพจะเห็นได้ว่า วันเดียวแท่งเทียนก็หลุดแนวรับทั้งสองไปแล้ว และภาพนี้เกือบๆ จะเป็น Double Top ด้วย ซึ่งตรงตามกฎข้อ 4.2 ยังไงก็ต้องขายออก) และมาขายออกอีก 20% เมื่อพ้นแนวรับ EMA200 (ตอนนี้ผมขายออกไปแล้ว 40%)

จากนั้นก็รอมาจนฟอร์มตัวมาเป็นคลื่น C ลูกสอง



ภาพ นี้ต่อจากภาพที่แล้ว พอผมสันนิษฐานว่าคลื่น C น่าจะสิ้นสุด ผมรอให้แท่งเทียนฟอร์มตัวสองวัน เมื่อแน่ชัดว่ารีบาวน์ ผมก็เข้าซื้อคืนด้วยเงิน 40% ตามกฎข้อ 1

พอสุดคลื่น 1 ผมก็รอให้แท่งเทียนฟอร์มตัวสองวัน เมื่อแน่ชัดว่าปรับฐาน ก็ขายออก 20% ตามกฎ 4.1

พอสุดคลื่น 2 ผมก็รอให้แท่งเทียนฟอร์มตัวสองวัน เมื่อแน่ชัดว่ารีบาวน์ ผมก็เข้าซื้อด้วยเงิน 20% ตามกฎ 4.1



ภาพนี้ทำให้ผมแน่ใจแล้วว่า คลื่น1, 2 ที่ฟอร์มตัวนั้น SET ได้กลับเข้าสู่ภาวะตลาดกระทิงอีกครั้ง

ตอน นี้เรามาถึงคลื่น 3 แล้ว ผมก็รอจังหวะขายอยู่ พอดีมีช่วง SET ลงแรงอยู่วันหนึ่ง ถ้าผมใจร้อนอาจจะขายไปก็ได้ แต่ผมยึดตามหลัก คือรอให้แท่งเทียนมันฟอร์มตัวสองแท่งเสียก่อนให้แน่ใจ ซึ่งปรากฏว่ามันไปต่อ ผมก็รอจนคิดว่าน่าจะสุดคลื่น 3 จากนั้นรอแท่งเทียนฟอร์มตัวสองวัน เมื่อแน่ใจว่าปรับฐานจึงขายออก 20% ตามกฎ 4.1



ภาพ นี้ผมผิดพลาด เพราะผมคิดว่าคลื่น 4,b เป็นคลื่น 5 ผมเข้าซื้อหลังจากสุดคลื่น 4,a ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นคลื่น 4 ด้วยเงิน 20% ตามกฎ 4.1 แต่พอซื้อปุ๊ป มันก็ลงเลย

ตอนนี้ผมเลยรู้ตัวแล้วว่า วิเคราะห์พลาด มันเป็นคลื่น 4 แบบมี a,b,c สอดไส้ต่างหาก ผมเลยทยอยขายออก 20%หลังจากราคาทะลุแนวรับ EMA10 ขายอีก 20% เมื่อทะลุแนวรับ EMA25 ในวันต่อมา และขายออก 20% เมื่อทะลุแนวรับ EMA200 (ตอนนี้ผมขายออกไปแล้ว 60%)

และผมก็รอให้มันฟอร์มตัวให้ครบ a,b,c ของคลื่น 4 และรอแท่งเทียนฟอร์มตัวสองวัน และทำการเข้าซื้อด้วยเงิน 60% ตามกฎ 4.1



ต่อมาผมก็รอไปจนกว่ามันจะสุดคลื่น 5 ซึ่งตามทฤษฎีคลื่น ควรจะอยู่สูงกว่าคลื่น 3 ช่วงนี้ผมไม่จำเป็นต้องมานั่งดูกราฟทุกวันก็ได้

ผมรอไปจนคิดว่าคลื่น 5 น่าจะสิ้นสุด รอแท่งเทียนฟอร์มตัวสองวัน และขายออก 20%

ตาม ทฤษฎีคลื่น มันควรจะปรับฐานเป็น a,b,c ดังนั้นเมื่อสุดคลื่น x ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นคลื่น a ผมจึงไม่ได้ซื้อคืน ปรากฏว่า ผมพลาด มันเป็นคลื่นต่อหรือคลื่นขยายต่างหาก คือ 5 x 1 ผมจึงพลาดโอกาสในการซื้อคืนในช่วงคลื่นต่อนี้

พอผมมั่นใจว่ามันเป็น คลื่นต่อแล้ว พอสุดคลื่น 1 ผมรอแท่งเทียนฟอร์มตัวสองวัน และขายออก 20% (ตอนนี้ผมขายออกไปแล้ว 40% เพราะ 20% แรก ผมยังไม่ได้ซื้อคืน)



สังเกต ที่คลื่น 1 จะเห็นว่า มันรีบาวน์มาสองวัน คือแท่งเทียนสองแท่ง แต่แท่งสองมันเกิดโดจิ ซึ่งเป็นสัญญาณไม่น่าไว้วางใจ ผมจึงไม่ซื้อคืนเพราะสัญญาณซื้อไม่ชัดเจน ซึ่งก็เป็นจริงตามคาด มันเกิดฟอร์มตัวเป็น Double Top ตามกฎ 4.2 ผมจึงขายออก 20% (ตอนนี้ผมขายออกไปแล้ว 60%)

ต่อมาเป็นคลื่น 2,a ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นคลื่น 2 ผมรอแท่งเทียนฟอร์มตัวสองวัน และซื้อคืนด้วยเงิน 60% ตามกฎ 4.1 วันต่อมาขึ้นแรงมาก จนมาถึงคลื่น 2,b ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นคลื่น 3 แต่ปรากฏไม่ใช่ มันเป็นคลื่น a,b,c ยัดไส้อยู่ในคลื่นลูก 2 ต่างหาก ผมขายออก 20% เมื่อทะลุแนวรับ EMA10 และ 25 ในวันเดียวกัน และขายอีก 20% เมื่อทะลุ EMA200 (ตอนนี้ผมขายไปแล้ว 40%)

ผมรอให้คลื่นฟอร์มตัวครบ a,b,c ของคลื่น 2 และรอแท่งเทียนฟอร์มตัวสองวัน และเข้าซื้อคืนด้วยเงิน 40%



ภาพ นี้ ผมซื้อแล้วผมก็ปล่อยรอจนกว่าให้ยอดของคลื่น 3 มันสูงกว่าคลื่น 1 ดังนั้นช่วงที่ยังไม่เกินนี้มันปรับตัวกี่ครั้งผมก็ไม่ขาย เพราะยึดตามกฎ 4.1

จนกระทั่งรอมาจนถึงยอดคลื่น 3, III ซึ่งพอแตะเส้น Fibonacci Retracement ปุ๊บกระเด้งทันที ผมเลยรอแท่งเทียนฟอร์มตัวสองวัน แล้วขายออก 20%

พอมาถึงคลื่น 3, V ซึ่งผมเข้าใจว่ามันเป็นคลื่น 4,b ผมเลยไม่ได้ซื้อคืน ปรากฏเส้น EMA10 มันเอาอยู่ ผมเลยสัญนิษฐานว่าเป็นคลื่นต่อหรือคลื่นขยายรึเปล่าเนี่ย พอวันต่อมามันเขียว ผมจึงมั่นใจแล้วว่าเป็นคลื่นต่ออีกแล้ว ผมจึงซื้อคืนด้วยเงิน 20%

ภาพนี้ผมเซฟไว้เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว ซึ่งจะเห็นว่ามันทะลุ 720 แล้วจริงๆ เป็นคลื่นต่อดังที่คาดการณ์ไว้

ทฤษฎี คลื่นอาจจะสับสนสำหรับคนที่ยังไม่แม่น หรือไม่รู้เรื่องเลย ดังนั้นผมจึงยกตัวอย่าง เครื่องมือ Basic Technical คือ MACD 12, 26 ซึ่งใช้ง่ายมาเป็นตัวอย่าง



ผมก็ไม่ต้องวิเคราะห์อะไรมาก ทำตัวเป็น Trading Machine ซื้อขายตามสัญญาณเทคนิคเท่านั้น

ภาพ นี้ผมต้องซื้อเพราะ MACD ตัดเส้น Signal ขึ้น (ในภาพไม่เห็นเส้น MACD กับเส้น Signal) การใช้งานจริงให้ดูค่าสัญญาณเป็นหลัก อย่าดูเส้นเพราะหลอกตา เมื่อดูค่าสัญญาณจะเห็นว่า MACD สูงกว่า Signal (ติดลบน้อยกว่า คือ ค่าสูงกว่า) เป็นสัญญาณ “ซื้อ”



MACD < Signal เป็นสัญญาณขาย จึงขายออก 20% ตามกฎแบบเครื่องมือ Basic ข้อ 5 MACD > Signal เป็นสัญญาณซื้อ จึงซื้อคืน 20% ตามกฎ 4



MACD < Signal เป็นสัญญาณขาย จึงขายออก 20% ตามกฎ 5 MACD > Signal เป็นสัญญาณซื้อ จึงซื้อคืน 20% ตามกฎ 4



MACD < Signal เป็นสัญญาณขาย จึงขายออก 20% ตามกฎ 5 และบ่งบอกว่าการซื้อคราวที่เป็น Failure cross หากยังทะลุเส้น EMA 200 ต้องขายออก ซึ่งราคาทะลุแนวรับ EMA 200 วันจริงๆ จึงขายออกอีก 20 % (ตอนนี้ผมขายไปแล้ว 40%) ตามกฎ 2 และรอจนกระทั่ง MACD > Signal จึงซื้อคืนด้วยเงิน 40% ตามกฎ 3



คิดว่าคงพอจะเข้าใจแนวคิด FTA กันบ้างแล้ว หากมีข้อสงสัยใดๆ ก็ส่งคำถามมาได้ครับ

ขอให้จอมยุทธ์ทุกท่านอยู่รอดปลอดภัยในยุทธภพ ตอนนี้คงต้องหยุดเพียงเท่านี้ ตอนต่อไปผมจะนำเสนอ T-EMA คอยติดตามกันต่อนะครับ

“แมงเม่าของเมื่อวันวาน คือ เซียนหุ้นของพรุ่งนี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘