เครื่องมือแสดงการเคลื่อนไหวของระดับราคา DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคอย่างหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้าย OSCILLATOR ซึ่งใช้ประกอบ หรือยืนยันกับเครื่องมือทางเทคนิคตัวอื่น ๆ โดยเฉพาะกับการหาแนวโน้มของการเคลื่อนไหวของระดับราคา โดยการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX หากค่าที่หาออกมาได้มีค่ามาก แสดงว่ามีแนวโน้มที่ชัดเจน โดยค่าที่คำนวณออกมานี้จะอยู่ในช่วงระหว่าง 0-100 เท่านั้น

การคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX มีสูตรดังต่อไปนี้

+DI      =     +DMN
                      TRN
หรือ
-DI       =     -DMN
                                   TNN

+DMN   ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ +DM ณ เวลาปัจจุบัน
+DM                 ราคาสูงสุดในปัจจุบัน - ราคาสูงสุดของวันก่อน
-DMN    ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของ -DM ณ เวลาปัจจุบัน
-DM                  ราคาต่ำสุดในปัจจุบัน - ราคาต่ำสุดของวันก่อน
TRN                  ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ช่วงที่เป็นจริงที่มีค่ามากที่สุดจาก
                  *           ผลต่างระหว่างราคาสูงสุดวันนี้ กับต่ำสุดวันนี้
                                  (Hightoday - Lowtoday)
                  *         ผลต่างระหว่างราคาสูงสุดวันนี้ กับราคาปิดเมื่อวันนี้
                                   (Hightoday - Closeyesterday)
                  *         ผลต่างระหว่างราคาปิดเมื่อวานนี้ กับราคาต่ำสุดของวันนี้
                 (Closeyesterday - Lowtoday)

การคำนวณหา DM

ค่า DM จะเป็นค่า + หรือ - เท่านั้น โดยการหาค่า +DM หรือ -DM จะเกิดขึ้นจาก 3 กรณี ดังนี้

1.  ราคาสูงสุดของวันปัจจุบัน (C) สูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) สูงกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) ค่า C+A จะเป็นค่า +DM


2.  ราคาสูงสุดขงวันปัจจุบัน (C) ต่ำกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) ค่า D-8  จะเป็นค่า -DM



3.  ราคาสูงสุดของวันปัจจุบัน (C) สูงกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน (A) และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน (D) ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของวันก่อน (B) สามารถพิจารณาได้ 2 กรณี

*   ถ้าผลต่างของราคาสูงสุดมากกว่าผลต่างของราคาต่ำสุด ค่า C-A จะเป็น +DM
*   ถ้าผลต่างของราคาต่ำสุด มากกว่าผลต่างของราคาสูง ค่า D-B จะเป็น -DM


หมายเหตุ :  ในกรณีที่ระดับราคาสูงสุดของวันปัจจุบันเท่ากับ หรือต่ำกว่าราคาสูงสุดของวันก่อน และราคาต่ำสุดของวันปัจจุบัน เท่ากับหรือสูงกว่า ราคาต่ำสุดของวันก่อน จะไม่มีค่า DM หรือเรียกว่า ZERO DM


การหาค่า DI

เมื่อได้ค่า DM มาแล้วก็จะสามารถคำนวณหาค่าความสัมพันธ์ของ DIRECTIONAL MOVEMENT โดยการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL INDICATIOR (DI) จากสูตรข้างต้น

ขั้นต่อไปเพื่อให้ค่า DIRECTIONAL INDICATOR เป็นเครื่องมือที่มีความหมายน่าเชื่อถือมากขึ้น เราก็จะคำนวณหาค่า DI 14 วัน หรือ DI 14 เหตุที่ใช้ค่า 14 วัน เพราะว่านาย J. Wells Wilder ซึ่งเป็นผู้คิดค้นทฤษฎีนี้ได้ทดลองค่าจากเวลาที่ต่างกัน จนกระทั่งเขาพบว่าการใช้ระยะเวลาเท่ากับ 14 วันนั้นจะให้ค่าที่เหมาะสมและถูกต้องมากที่สุด จากนั้นเราจะได้ค่า +DI14 และ -DI14


หลักการวิเคราะห์

จากการคำนวณหาค่า DIRECTIONAL MOVEMENT INDEX (DI)

เมื่อนำค่า DI มาวาดกราฟ หากเส้น +DI14 ตัดเส้น -DI14 ขึ้นไป (การเคลื่อนที่ในทางบวกมากกว่าทางลบ) ถือเป็นสัญญาณซื้อ (BUY SIGNAL) เพราะแสดงถึงราคามีแนวโน้มขึ้น

ในทางตรงกันข้ามถ้าเส้น +DI14 ตัดเส้น -DI14 ลงมา (การเคลื่อนที่ในทางลบมากกว่าทางบวก) ถือเป็นสัญญาณขาย (SELL SIGNAL) เพราะแสดงถึงราคามีแนวโน้มลง

ดัชนีการแกว่งตัวของทิศทางการเคลื่อนที่ของราคา
DIRECTIONAL OSCILLATOR

เป็นการดัดแปลงจากเส้น +DI และ -DI ให้เหลือเพียงเส้นดัชนีเพียงเส้นเดียว (DO) โดยการแกว่งตัวของเส้นดัชนีนี้จะแกว่งตัวอยู่ในแนวระดับเส้นศูนย์ เส้นดัชนีนี้เกิดจากการที่เรานำค่า -DI หักออกจากค่า +DI โดยที่

*     ถ้า +DI มีค่ามากกว่า -DI เส้นดัชนีนี้จะแก่วงตัวอยู่เหนือระดับเส้นศูนย์
*     ถ้า -DI มีค่าน้อยกว่า -DI เส้นดัชนีนี้จะแกว่งตัวอยู่ใต้ระดับเส้นศูนย์

DIRECTIONAL OSCILLATOR (DO) จะให้สัญญาณซื้อขายเหมือนกับ DI ดังนั้นเราจึงสามารถที่จะเลือกใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งที่เราถนัดตามต้องการ

หลักการวิเคราะห์

สัญญาณซื้อ เกิดเมื่อ เส้นดัชนีตัดแกนศูนย์ขึ้นไปเป็นค่าบวก
สัญญาณขาย เกิดเมื่อ เส้นดัชนีตัดแกนศูนย์ลงไปเป็นค่าลบ


ดัชนีทิศทางการเคลื่อนที่ของราคาโดยเฉลี่ย
AVERAGE DIRECTIONAL INDEX

หลังจากที่ นาย J.WEELS WILDER คิดค้นทฤษฎี DIRECTIONAL INDICATOR (DI) ขึ้นมาแล้วนั้น เขาสังเกตเห็นว่าน่าจะมีเครื่องมือตัวอื่นที่จะมาช่วยสนับสนุนสัญญาณต่าง ๆ จากค่า DI ดังนั้น นาย J.WELLS WILDER จึงได้คิดทฤษฎีขึ้นมาใหม่อีกแบบหนึ่ง คือ AVERAGE DIRECTIONAL INDEX (ADX) ซึ่งค่าของ ADX นี้เราสามารถที่จะปรับระยะของเวลาได้ โดยขึ้นอยู่กับผู้ใช้แต่โดยปกติเราจะใช้ 14 วัน เนื่องจากได้มีการทดลองแล้วว่า การใช้ระยะเวลา 14 วันนั้นจะมีนัยสำคัญที่สุด

ค่า ADX จะหาได้จากสูตร

ADX      =   DXt+DXt-1+DXt-2+…+DXt-n+1
                        n

DX        =   (+DI) - (-DI)
                 (+DI) + (-DI)

โดยที่    ADX      คือ   ดัชนีทิศทางการเคลื่อนที่ของราคาโดยเฉลี่ย
            DXt       คือ   ดัชนีทิศทางการเคลื่อนที่ ณ วันปัจจุบัน
            n          คือ   จำนวนวัน

ค่า ADX นี้จะวิ่งขึ้นลงอยู่ในช่วงระหว่าง 0-100 โดยค่า ADX ควรที่จะมีค่ามากกว่า 20-25 ขึ้นไป จึงจะบอกถึงทิศทางของการเคลื่อนที่ หรือสัญญาณซื้อขายจากเส้น DI ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

แต่หากมีสัญญาณซื้อใน DI แล้ว (+DI มากกว่า -DI) แต่ค่า ADX มีค่าน้อยกว่า 20-25 ลงมา สัญญาณซื้อจาก DI อาจจะไม่ถูกต้องเท่าใดนัก

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘