แนวทางการออมเงินตามวัย

@ สำหรับคนที่อายุ 20 - 30 ปี
สำหรับคนที่อายุ 20 - 30 ปี ถือเป็นวัยเริ่มต้นการทำงาน ยังไม่มีภาระที่ต้องรับผิดชอบมากนัก  และยังเป็นวัยที่ยังสามารถหารายได้อีกนานในอนาคต ช่วงอายุขนาดนี้ถือเป็นวัยที่ได้เปรียบในการลงทุนมากที่สุดเพราะสามารถรับ ความเสี่ยงได้มากกว่า เพราะถึงแม้ว่าจะมีโอกาส ที่จะสูญเสียเงินต้นสูง ถ้าเสียเงินไปจริงก็ยังมีเวลาอีกนานเพื่อหารายได้มาทดแทน ทั้งยังไม่มีครอบครัวที่ต้องดูแล
ให้ใช้สัดส่วนเป็น   10:90 
โดย 10% เป็นเงินฝากและตราสารหนี้
       90% เป็นตราสารทุน
สำหรับการลงทุนของคนอายุ 20 - 30 ปี อาจจะนำ 90% ของเงินออมไปลงทุนในหุ้นได้ แต่ไม่ใช้ว่าซื้อหุ้นแบบเก็งกำไร หรือซื้อมาขายไปแต่เป็นการลงทุนหุ้นระยะยาว  เพราะจากสถิติของต่างประเทศพบว่าการลงทุนในหุ้นมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยสูงที่ สุด แม้ว่าจะมีความผันผวนเดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง แต่ในระยะยาวแล้ว หุ้นจะมีเส้นแนวโน้มพุ่งขึ้น คือได้กำไรเสมอ
สาเหตุที่คนอายุน้อยสามารถลงทุนในหุ้นได้มาก เพราะมีเวลาที่จะรอรอบการผันผวนขึ้น ๆ ลง ๆ ของหุ้น จึงเหมาะกับการซื้อหุ้นระยะยาว ไม่ใช้ซื้อเพื่อเก็งกำไรสั้น ๆ โดยเลือกซื้อหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานที่ดี เลือกบริษัทที่เอาตัวรอดได้ แล้วซื้อทิ้งไว้ หรือ ซื้อไปเรื่อย ๆ จะมีโอกาสได้กำไรสูงมาก เพราะเวลาช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องหุ้น ขึ้น ๆ ลง ๆ  ได้มาก
 ส่วนเงินออมที่เหลืออีก 10% ควรเก็บไว้ในเงินฝากธนาคาร และตราสารหนี้ต่าง ๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือ หุ้นกู้ต่าง ๆ ที่มีความปลอดภัยของเงินต้นสูง ได้อัตราดอกเบี้ยที่แน่นอน เพื่อเป็นหลักประกันให้กับตัวเอง

@ สำหรับคนที่มีอายุ 31 - 40 ปี

       หน้าที่การงานเริ่มก้าวหน้ามีรายได้สูงขึ้น แต่รายจ่ายก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะเป็นวัยที่เริ่มสร้างครอบครัว แต่งงาน ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ มีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้น
ให้ใช้อัตราส่วนเป็น 50:50
โดย 50% เป็นเงินฝากและตราสารหนี้
       50% เป็นตราสารทุน
ผู้ที่อยู่ในวัยนี้จะลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นลงจากเดิมที่ซื้อหุ้นถึง 90%ของเงินออม น่าจะลดลงมาเหลือ 50% เพราะเริ่มรับความเสี่ยงได้น้อยลง เนื่องจากเป็นวัยที่มีภาระผูกผัน คือ มีครอบครัวที่ต้องดูแลเงินอีก 50% จึงควรไปไว้ในทรัพย์ที่เสี่ยงต่อเงินต้นหรือการรอเวลาน้อยลง อย่างเงินฝากธนาคารและตราสารหนี้ต่าง ๆ
รู้แบบการลงทุนในหุ้นของคนในวันนี้แตกต่าง จากวัยเริ่มทำงาน ควรนำ
เงินไปลงทุนในหุ้นที่มีเงินปันผลมากและแน่นอน ไม่ค่อยผันผวนมากนัก เพราะ
อายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีเวลาที่จะรอรับการผันผวนของหุ้นได้น้อยลง

@ สำหรับคนที่มีอายุ 41 - 55 ปี

ถือ เป็นช่วงอายุที่มีรายได้สูงสุดมีความมั่นคงในหน้าที่การงาน แต่ก็เป็นช่วงที่มีรายจ่ายสูงที่สุด เช่นกัน ทั้งค่าจับจ่ายใช้สอย ค่าเหล่าเรียนบุตร ฯลฯ
ให้ใช้อัตราส่วนเป็น 70:30
โดย 70% เป็นเงินฝากและตราสารหนี้
       30% เป็นตราสารทุน
สำหรับการลงทุนของคนในวัยนี้จะเน้นให้นำเงินออมส่วนใหญ่หรือ 70%ไปไว้ในที่ที่ปลอดภัย เพราะมีเวลาที่จะหารายได้เหลืออีกไม่กี่ปี เงินที่มีอยู่ควรรักษาไว้ใช้ตอนไม่มีรายได้แล้ว ไม่ควรนำไปลงทุนที่มีความเสี่ยงมากกว่านั้นและควรกันส่วนที่เหลืออีก 30% มาลงทุนในหุ้นระยะยาวเพื่อเพิ่มพูนเงินออมให้มากขึ้น นอกเหนือจากดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินฝาก

@ สำหรับคนที่มีอายุ 55 ปี ขึ้นไป

บาง คนก็ไม่มีรายได้แล้ว บางคนเหลือเวลาที่จะหารายได้อีกไม่ถึง 5 ปี ไม่มีเวลาพอสำหรับการลงทุนระยะยาวให้ตัวเองอีกต่อไป เป็นช่วงที่ยอมรับความเสี่ยงได้น้อยที่สุด
ใช้อัตราส่วนเป็น 90:10
โดย 90% เป็นเงินฝากและตราสารหนี้
       10% เป็นตราสารทุน
เงินออมเกือบทั้งหมดที่มี คือ 90% ควรนำไปฝากธนาคารไว้กินดอกเบี้ยหรือไปซื้อตราสารหนี้ต่าง ๆ ก็จะได้ดอกเบี้ยมากกว่าเงินฝาก อาจจะแบ่งเพียง 10% ไปลงทุนซื้อหุ้นเพื่อหวังให้ได้กำไรสูงขึ้น แต่หากว่าผิดคาดเกิดสูญเงินก้อนนี้ไปบางส่วน ก็คงไม่กระทบกระเทือนฐานะการเงินโดยรวมมากนัก
    

 จะเห็นได้ว่าคนที่เริ่มวางแผนทางการออมตั้งแต่อายุยังน้อยจะสามารถ หาเงินได้มากกว่าเพราะลงทุนในตราสารที่มีความเสี่ยงได้มากกว่า จึงได้ผลตอบแทนสูงกว่า ยิ่งถ้าเริ่มออมตอนมีอายุมากสัดส่วนของเงินฝากก็จะเพิ่มขึ้น อยากจะไปลงทุนแบบคนอายุ 20 ก็ทำไม่ได้เพราะภาวะความรับผิดชอบ และวัยไม่อำนวย
ไม่เฉพาะแต่เรื่องความเสี่ยงเท่านั้นแม้เรื่องของการประกันชีวิต คนอายุน้อยจะเสียเบี้ยประกันน้อยกว่าคนอายุมาก ในวงเงินประกันที่เท่ากัน
คล้าย ๆ กับเรื่องดอกเบี้ยที่คนอายุน้อยออมเงินเร็ว จะได้เปรียบในเรื่องระยะเวลาที่ออม เรื่องนี้ชี้ให้เห็นถึงการได้เปรียบอีกมุมหนึ่งของคนอายุน้อยที่เริ่มต้นออม ก่อน คือในแง่ของความเสี่ยงและโอกาสในการลงทุน ที่มีเรื่องของวัยเข้ามาเกี่ยวข้อง
รูปแบบการลงทุนที่นำมาให้ดู เป็นรูปแบบที่ตั้งขึ้นมากลาง ๆ ให้คนส่วนใหญ่ สามารถใช้ได้ มีหมายเหตุนิดหนึ่งว่าก่อนใช้ต้องสำรวจรูปแบบที่มีอยู่ของตนเองให้ดีเสีย ก่อนว่ามีอะไรอยู่เท่าไร

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘