เหตุผลที่เราควรลงทุน ในกองทุนรวม

สำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการจะเริ่มลงทุน คงเคยได้ยินเกี่ยวกับการลงทุนในกองทุนรวมกันบ้างแล้ว และยังสงสัยอยู่ว่า การที่จะลงทุนในกองทุนรวมนั้น มีเหตุผลอะไรที่เราควรลงทุนในกองทุนรวม ในเมื่อการลงทุนมีรูปแบบให้เราเลือกตั้งมากมายไม่ว่าจะเป็นการซื้อหุ้นเพื่อ หวังเงินปันผล หรือกำไรจากการขายหุ้น หรือการซื้อพันธบัตรรัฐบาลหรือหุ้นกู้ของบริษัทเอกชนเพราะเห็นว่าให้ ดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากธนาคาร หรือหากมีเงินเป็นก้อนใหญ่ก็อาจทำธุรกิจโรงแรม หอพักให้เช่า เป็นต้น คุณอยากรู้ไหมว่ามีเหตุผลอะไร?

ถ้าหากว่า คุณไม่มีเวลาติดตามข่าวสารทางการเงินอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเหมือนคนที่ทำ งานในวงการการลงทุนแล้ว และไม่มีความรู้ความชำนาญในการลงทุนดีพอและคิดว่าการตัดสินใจลงทุนด้วยตนเอง อาจเกิดข้อผิดพลาด หรือไม่รู้ว่ามีช่องทางในการลงทุนอะไรบ้างและจะลงทุนอย่างไร การลงทุนในกองทุนรวม จะช่วยลดปัญหาในเรื่องดังกล่าวให้คุณได้ เนื่องจาก การลงทุนในกองทุนรวม นั้นจะมีบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งรวมถึงมีทีมงานที่มีความรู้ความชำนาญในการลงทุน ทำหน้าที่ติดตามข่าวสาร และตัดสินใจลงทุนแทนคุณ ในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินประเภทต่างๆ เช่น หุ้น พันธบัตร ตั๋วเงิน อสังหาริมทรัพย์ ตามนโยบายการลงทุนที่คุณได้เลือกลงทุนในตอนแรก ตามที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวนของกองทุนประเภทต่างๆ และเมื่อกองทุนมีกำไรจากการลงทุนก็จะมีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยลง ทุนนั้นๆ (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับนโยบายการจ่ายเงินปันผลของแต่ละกองทุน)

ถ้า ผู้ลงทุนมีเงินจำนวนจำกัด และต้องการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่างๆ ให้มีความหลากหลายประเภทเพื่อกระจายความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลง ทุนกระจุกตัวในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด และต้องการลดต้นทุนที่อาจสูงเกินไปจากการที่คุณต้องลงทุนในหลักทรัพย์หรือ ทรัพย์สินต่างๆ ด้วยตนเอง การลงทุนในกองทุนรวมจะช่วยลดข้อจำกัดในเรื่องดังกล่าวให้คุณได้ เนื่องจากการลงทุนในกองทุนรวมเป็นการระดมทุนจากผู้ลงทุนรายย่อยหลายๆ ราย ทำให้เงินที่แต่ละคนนำมารวมกันมีจำนวนมากพอ โดยกองทุนก็จะนำเงินที่ระดมทุนได้มานั้น ไปลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งคุณสามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการ

ถ้าอยากมั่นใจว่าหลักทรัพย์หรือ ทรัพย์สินที่คุณลงทุนไปนั้น มิได้หายไปไหน (จากการกระทำที่ทุจริต) และต้องการความมั่นใจในการลงทุนว่าจะมีการลงทุนรูปแบบไหนที่มีระบบงานรองรับ ที่โปร่งใสและเชื่อถือได้ การลงทุนในกองทุนรวมจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนให้กับคุณได้ เนื่องจากกองทุนรวมนั้นจะมีผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของคุณ ที่เป็นผู้ถือหน่วยลงทุน ในการรักษาผลประโยชน์ต่างๆ เช่น การดูแลตรวจสอบการบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายการ ลงทุนที่ระบุไว้ในหนังสือชี้ชวน หรือการสอบทานความถูกต้องของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุนรวม ฯลฯ และยังมีการเปิดเผยข้อมูลที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนให้แก่คุณ นอกจากนี้ยังมีสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นผู้กำกับดูแลและกำหนดกฎเกณฑ์สำหรับธุรกิจจัดการลงทุนอีกด้วย

การ ลงทุนและต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี การลงทุนในกองทุนรวมสามารถตอบสนองความต้องการของคุณได้ โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่คุณจะได้รับนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 กรณี

1. ลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป “เงินได้จากการขายหน่วยลงทุน” จะได้รับยกเว้นภาษี ทำให้คุณได้รับผลประโยชน์จากการลงทุนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น ซื้อหน่วยลงทุนราคา 1,000 บาท ต่อมาขายได้ในราคา 1,050 บาท กำไร 50 บาทที่ได้นั้น ไม่ต้องนำไปเสียภาษีเงินได้ (แต่หากเป็นเงินได้จากเงินปันผลหรือเงินส่วนแบ่งกำไรจะยังคงมีภาระภาษี โดยจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ซึ่งคุณมีสิทธิเลือกที่จะนำเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนรวมไปรวมคำนวณเป็น เงินได้เพื่อเสียภาษีตอนสิ้นปีหรือไม่ก็ได้ แต่จะไม่สามารถนำมาเครดิตภาษีเงินปันผล)

2. ลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) เงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนทั้ง 2 ประเภทนี้ สามารถนำไปหักลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกินกองละ 15% ของเงินได้พึงประเมิน (เงินได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้นหมายความว่าสามารถสามารถนำไปลดหย่อนได้ถึง 1,000,000บาท (ในส่วนของกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต้องนำไปรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุน สำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการที่นายจ้างหักและนำส่งบริษัท จัดการในแต่ละปีด้วย)

จากเหตุผลที่หยิบยกมาเชื่อว่าหลายๆ ท่านคงเริ่มให้ความสนใจมากขึ้นกับการลงทุนในกองทุนรวม

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘