วิกฤติหรือโอกาส

วิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกาในช่วงนี้ ทำให้นักลงทุนเสียหายหนักมากและคนจำนวนมากต่างก็ "หนีตาย" หรือถอนตัวจากตลาดหุ้นกันเป็นแถว แต่ดูเหมือนว่า วอร์เรน บัฟเฟตต์ กำลังยุ่งอยู่กับการลงทุนในบริษัทหลายๆ แห่ง ที่โดดเด่น ก็คือ โกลด์แมน แซคส์ และจีอี ที่เขาจ่ายเงินไปรวมกัน 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเม็ดเงินจำนวนกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์ที่มีอยู่ในมือ
ส่วนบัฟเฟตต์แล้ว ช่วงนี้คือ "โอกาสทอง" ที่เขาจะได้ลงทุนในหุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยมในราคาที่ถูกมาก คำถามที่ตามมาก็คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีมุมมองหรือกลยุทธ์การลงทุนอย่างไรในภาวะวิกฤติ และต่อไปนี้ก็คือความคิดของเขาที่ถูกนำเสนอโดย Alice Schroeder ผู้เขียนหนังสือชื่อ Snowball ซึ่งเล่าประวัติชีวิตของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่กำลังขายดีอยู่ในขณะนี้
บัฟเฟตต์คิดว่า
1.ในช่วงวิกฤติ ถ้าคุณมีเงินสด และมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะลงทุน นี่คือสวรรค์ และเป็นสิ่งที่ไม่ย7 ?ุ้นของกิจการที่ดีเยี่ยมในราคาที่ถูกมาก คำถามที่ตามมาก็คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีมุมมองหรือกลยุทธ์การลงทุนอย่างไร ในภาวะวิกฤติ และต่อไปนี้ก็คือความคิดของเขาที่ถูกนำเสนอโดย Alice Schroeder ผู้เขียนหนังสือชื่อ Snowball ซึ่งเล่าประวัติชีวิตของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่กำลังขายดีอยู่ในขณะนี้
บัฟเฟตต์คิดว่า
1.ในช่วงวิกฤติ ถ้าคุณมีเงินสด และมีความกล้าหาญเพียงพอที่จะลงทุน นี่คือสวรรค์ และเป็นสิ่งที่ไม่อาจประเมินค่าได้ สิ่งที่ผมอยากอธิบายเพิ่มเติม ก็คือ คนส่วนมาก อาจจะมีเงินสด แต่ในยามที่เกิดวิกฤติ คนเหล่านั้น มักไม่กล้าลงทุน เนื่องจากพวกเขามักจะกลัวว่าเงินลงทุนจะสูญหายไปกับภาวะวิกฤติ
บัฟเฟตต์บอกว่า ในยามที่คนกลัว เราจะต้องพยายามที่จะกล้าหรือ "โลภ" เพื่อที่จะได้กล้าเสี่ยงลงทุนในยามที่ "เลวร้ายที่สุด" และนี่มักจะกลายเป็นโอกาสที่ดีที่สุด ที่จะทำเงินได้เป็นกอบเป็นกำถ้าเราทำได้ถูกต้อง
2.ในการที่จะลงทุนได้อย่างถูกต้อง บัฟเฟตต์บอกว่า จงอย่าลงทุนในสิ่งที่คุณไม่เข้าใจ นั่นหมายความว่า เวลาเกิดวิกฤติ ราคาหุ้นตกลงมามาก ก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะเข้าไปซื้อเพียงเพราะราคามันลงมา แต่จะซื้อเพราะเราดูแล้วว่า เรารู้จักและเข้าใจธุรกิจดี และรู้ว่าราคาที่เราเห็นนั้นต่ำกว่ามูลค่าของมันมาก
สิ่งที่ผมอยากจะเพิ่มเติมก็คือ ในช่วงที่เกิดวิกฤติหุ้นไฮเทคในช่วงปี 2000 นั้น หุ้นไฮเทคจำนวนมากมีราคาตกลงมา หลายๆ ตัวตกลงมา 80-90% แต่บัฟเฟตต์ก็ไม่ได้เข้าไปซื้อลงทุนเลย เพราะเขาไม่เข้าใจธุรกิจเหล่านั้นพอ และต้องบอกว่า บัฟเฟตต์คิดถูกที่ไม่ได้เข้าเล่นหุ้นไฮเทค เพราะหุ้นส่วนมากที่ตกลงมา ไม่ได้มีโอกาสกลับขึ้นมาอีกเลย
3.อย่าพยายามรับมีดที่กำลังร่วงลงมา จนกว่าคุณจะเข้าใจและจัดการกับความเสี่ยงได้ นี่เป็นเรื่องที่บัฟเฟตต์ระมัดระวังเสมอ จากประวัติของบัฟเฟตต์ แทบทุกครั้งที่เขาเข้าไปลงทุนในหุ้นที่กำลัง "วิกฤติ" ก็คือ นอกจากโอกาสที่จะทำกำไรมหาศาลแล้ว เขาจะมองหา "ตาข่าย" รองรับเสมอถ้าสิ่งที่เขาคิดไว้ผิดพลาด
กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่เขาใช้เป็นประจำ ก็คือ แทนที่จะเข้าไปซื้อหุ้นโดยตรง เขามักจะเสนอซื้อหุ้นบุริมสิทธิ ที่บริษัทสัญญาว่าจะจ่ายปันผลแน่นอน เช่นกรณีโกลด์แมน แซคส์ และจีอีที่จ่ายปันผล 10% ต่อปี และเขามีสิทธิที่จะได้เงินคืนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทล้มละลาย แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า ก็คือ เขาจะขอออปชั่น หรือวอร์แรนท์ที่จะซื้อหุ้นสามัญในอนาคตในราคาที่กำหนดล่วงหน้า ซึ่งจะทำให้เขาได้กำไรมหาศาลถ้าบริษัทฟื้นตัว และรอดจากภาวะวิกฤติไปได้
กรณีของโกลด์แมน แซคส์ และจีอี เขาก็ได้วอร์แรนท์ที่จะซื้อหุ้นสามัญจำนวนเท่ากับหุ้นบุริมสิทธิภายในเวลา 5 ปี ในราคาพอๆ กับราคาตลาดในช่วงที่เขาตัดสินใจลงทุน
สถิติการลงทุนในยาม "วิกฤติ" ของบัฟเฟตต์ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ยอดเยี่ยมและต้องถือเป็นตำนาน ในครั้งนี้ เราต้องดูกันต่อไปว่าเขาจะทำสำเร็จหรือไม่ การตอบรับจากตลาดหุ้นดูเหมือนว่า จะเป็นในทางบวกตั้งแต่เขาเข้าไปลงทุนแล้ว แต่ประเด็นของเราก็คือ การตกลงมาของตลาดหุ้นบ้านเราในวันนี้ ถือเป็นวิกฤติหรือโอกาสที่เราจะเข้าไปทำเงิน?
วิเคราะห์ดูแล้ว ผมเห็นว่า ภาวะของเศรษฐกิจและตลาดการเงินของเราจริงๆ ไม่ได้ถูกกระทบมาก เพราะเราได้รับบทเรียนจากวิกฤติปี 2540 ที่ทำให้กิจการทั้งหลายในประเทศไทยมีความระมัดระวังมาก รวมไปถึงสถาบันการเงินต่างๆ ก็ไม่ได้มีการปล่อยเงินกู้ออกไปง่ายๆ อย่างในสมัยก่อน และนี่ทำให้การกู้เงินของบริษัทต่างๆ มีสัดส่วนน้อยลงไปมาก ทำให้ฐานะการเงินของบริษัทส่วนใหญ่ค่อนข้างเข้มแข็ง
ดังนั้น ภาวะวิกฤติที่กระทบกับไทยโดยตรงจริงๆ จึงอยู่ที่ตลาดหุ้นที่นักลงทุนต่างชาติต่างก็เทขายหุ้น เพื่อนำเงินกลับไปดูแลตนเองในต่างประเทศ ผลก็คือ ราคาหุ้นลดลงเรื่อยๆ โดยที่ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนยังดีอยู่ แน่นอน ผลการดำเนินงานในอนาคตอาจจะถดถอยลงบ้าง แต่ก็คงไม่มากนักเมื่อเทียบกับการลดลงของราคาหุ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ที่พึ่งพิงกับการใช้จ่ายเงินในประเทศเป็นหลัก ดังนั้น ข้อสรุปของผมก็คือ น่าจะเป็นโอกาสที่เราจะซื้อหุ้นลงทุน
การลงทุนใน "ภาวะวิกฤติ" ช่วงนี้ แน่นอน มีความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าภาวะวิกฤติของอเมริกาลามไป และทำให้เศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ถ้าเรายึดหลัก 3 ข้อ ของบัฟเฟตต์ข้างต้น ผมคิดว่ามีโอกาสสูงที่เราจะได้รับผลตอบแทนที่ดี พูดถึงเรื่องนี้ ผมลองนึกย้อนหลังไปในช่วงประมาณ 12 ปีที่ผมลงทุนเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์และเก็บข้อมูลอย่างละเอียดก็พบว่า
ผมผ่าน "ภาวะวิกฤติ" มาถึง 2 ครั้งแล้วคือในปี 2540 และ 2543 ทั้งสองครั้งดัชนีตลาดตกลงมากว่า 40% ซึ่งมากกว่าภาวะในขณะนี้ แต่ผมก็รอดมาได้
ดังนั้นผมจึงไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมครั้งนี้ผมจะรอดไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงว่า ใน 2 ครั้งก่อนนั้น ภาวะเศรษฐกิจจริงเลวร้ายกว่าในปัจจุบันมาก เพราะฉะนั้น สำหรับนักลงทุนที่ไม่ได้ลงทุนร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว การเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ก็ต้องถือว่าได้เปรียบมาก อย่าปล่อย "โอกาสทอง" ให้หลุดไปนะครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘