แนวปฏิบัติในการเลือกเสียภาษีเงินได้

ขอนำแนวปฏิบัติในการเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาเท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ณ ที่จ่ายมาเป็นประเด็นปุจฉา – วิสัชนาดังนี้

ปุจฉา มี แนวทางการเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีนักแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศเฉพาะกรณีที่มีการดำเนินการถ่ายทำภาพยนตร์ใน ประเทศไทย โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และได้รับอนุญาตให้ถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยจากคณะ อนุกรรมการพิจารณาคำขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ตามระเบียบคณะ กรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ว่าด้วยการขออนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย พ.ศ.2544 อย่างไร

วิสัชนา ได้รับค่าแสดงจากผู้จ่ายเงินได้เป็นบุคคล บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งผู้จ่ายเงินได้ได้คำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10.0 ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 เตรส และข้อ 9(2)(ก) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 4/2528 ลงวันที่ 26 กันยายน 2528 เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นักแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศจะ เลือกไม่นำเงินได้จากการแสดงภาพยนตร์มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่นักแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศดังกล่าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหัก ไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 409) พ.ศ.2545 ใช้บังคับตั้งแต่ 22 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป

ในกรณีเช่นนี้ นักแสดงภาพยนตร์ต่างประเทศ ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าแสดง ควรเลือกเสียภาษีเงินได้เท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย ซึ่งจะทำให้ได้รับประโยชน์ โดยเสียภาษีเงินได้น้อยกว่าการเลือกเสียภาษีเงินได้ตามวิธีปกติ

ปุจฉา กรณีพนักงานที่เป็นคนต่างด้าวของสำนักงานปฏิบัติการภูมิภาค (REGIONAL OPERATING HEADQUARTERS: ROH) จะได้รับสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอย่างไร

วิสัชนา หลัก เกณฑ์ในการเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับพนักงานที่เป็นคน ต่างด้าวของ ROH ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 405) พ.ศ.2545 ใช้บังคับตั้งแต่ 16 สิงหาคม 2545 เป็นต้นไป ดังนี้

1. ในการคำนวณจำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินเดือนค่าจ้างของคนต่างด้าว หรือบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามมาตรา 50(1) หากผลการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่คำนวณได้มีจำนวนเกินกว่าร้อยละ 15.0 ของเงินได้ ให้คำนวณหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และนำส่งเพียงร้อยละ 15.0 ของเงินได้ เท่านั้น

2. ในกรณีจำนวนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50(1) ที่คำนวณได้ตามข้อ 1. มีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 15.0 ของเงินได้ หากคนต่างด้าวนั้นยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ ให้คนต่างด้าวผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้จากการจ้างแรงงานที่ได้รับจาก ROH โดยเลือกที่จะเสียภาษีเงินได้เท่ากับจำนวนที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย โดยไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ใน ข้อ 3. ก็ได้

3. เมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมิน ให้คนต่างด้าวซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แล้วในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้พึงประเมินสำหรับเงินได้พึงประเมินที่คนต่างด้าว หรือบุคคลธรรมดา ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานของ ROH ตามข้อ 1. หรือข้อ 2. ได้สิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ดังกล่าวดังนี้
(1) เลือกเสียภาษีเงินได้เท่ากับจำนวนที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้พึงประเมิน โดยไม่ต้องนำเงินได้พึงประเมินนั้น มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ เฉพาะกรณีที่คนต่างด้าวไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืนหรือไม่ขอเครดิต เงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือ
(2) เลือกเสียภาษีเงินได้โดยนำเงินได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามปกติในมาตรา 48(1) ซึ่งในกรณีนี้อาจทำให้ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้เป็นจำนวนมากกว่าร้อย ละ 15.0 ของเงินได้พึงประเมิน

4. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่คนต่างด้าวซึ่งทำงานประจำสำนักงาน ROH สำหรับเงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน ซึ่งเกิดจากการที่คนต่างด้าวนั้นถูกส่งตัวไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ ทั้งนี้ สำนักงานปฏิบัติการภูมิภาคหรือวิสาหกิจในเครือซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทย ต้องไม่นำเงินได้นั้นมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม

5. คนต่างด้าวซึ่งจะได้รับสิทธิตามข้อ 1. – ข้อ 4 ต้องเป็นคนต่างด้าว ซึ่งทำงานประจำสำนักงาน ROH ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด โดยให้ได้รับสิทธิดังกล่าวในระหว่างการทำงานในประเทศไทยเป็นระยะเวลาติดต่อ กันไม่เกินสองปี ไม่ว่าในระหว่างเวลานั้นจะได้เดินทางออกจากประเทศไทยเป็นครั้งคราวหรือไม่ก็ ตาม

คนต่างด้าวซึ่งกลับเข้ามาทำงานประจำ ROH ใดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การจ้างแรงงานครั้งก่อนสิ้นสุดลง ไม่ให้ได้รับสิทธิตามข้อ 1. – ข้อ 4. สำหรับการจ้างแรงงานในครั้งหลัง

ดัง นั้นพนักงานที่เป็นคนต่างด้าวของ ROH ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้แล้วในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้พึงประเมินเนื่องจากการจ้างแรงงาน ตามมาตรา 40 (1) โดยเฉพาะคนต่างด้าวที่มีเงินได้เป็นจำนวนมาก และต้องเสียภาษีเงินได้เกินกว่าร้อยละ 15.0 ของเงินได้พึงประเมิน ให้เลือกเสียภาษีเงินได้เท่าที่ถูกหักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘