ภาคผนวก ก้าวแรกสู่การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์

ข้อมูลองค์กรของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย



สถานที่ตั้ง : เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

โทรศัพท์ : (662) 2292000, 6545656

โทรสาร : (662) 6545649

อินเตอร์เน็ต : http://www.set.or.th



โครงสร้างคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ :

- กรรมการที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้ง จำนวน 5 คน

- กรรมการที่บริษัทสมาชิกเลือกตั้ง จำนวน 5 คน

- ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ให้เป็น

กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 1 คน



ลักษณะการดำเนินงาน :

- เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517

เริ่มการซื้อขายหลักทรัพย์ในวันที่ 30 เมษายน 2518

- จุดประสงค์เพื่อทำหน้าที่เป็นตลาดหรือศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์ และให้บริการที่

เกี่ยวข้องโดยไม่นำผลกำไรมาแบ่งปัน

- ปัจจุบันดำเนินงานภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535



ภาระหน้าที่ :

- เสริมสร้างการระดมเงินทุนระยะยาวเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

- จัดให้มีระบบการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส่และมีความยุติธรรม

- คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้ลงทุน

- ส่งเสริมการพัฒนาของตลาดทุนโดยรวมของประเทศ



การเข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรระหว่างประเทศ :

- Full Member, Federation Internationale des Bourses de Valeurs (FIBV) หรือ International Federation of Stock Exchanges

- Affiliate Member. International Organization of Securities Commission (OSCO)

- Member, East Asian and Oceanian Stock Exchanges Federation (EAOSEF)



บริษัทย่อย :

- บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด

- บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว จำกัด






ข้อมูลองค์กรของบริษัทย่อย



1. บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด



สถานที่ตั้ง : อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110

โทรศัพท์ : (662) 3591200 - 74



โครงสร้างคณะกรรมการบริษัท :

- เป็นผู้บริหารที่มาจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, บริษัทสมาชิก และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ ธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวนทั้งสิ้น 11 ท่าน



ลักษณะการดำเนินงาน :

เป็นผู้ให้บริการระบบงานหลังการซื้อขายหลักทรัพย์ (Back - office System) ดังต่อไปนี้

- งานสำนักงานหักบัญชี : ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ให้ แก่บริษัทสมาชิกที่ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพและศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยโดยใช้ระบบยอดสุทธิ ทั้งนี้ บริษัทสมาชิกของสำนักหักบัญชีทุกราย ต้องมีสถานภาพเป็นบริษัทสมาชิกของระบบรับฝากหลักทรัพย์ด้วย

- งานรับฝากหลักทรัพย์ : ประกอบด้วยงานรับฝาก งานถอนและงานโอนหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งเป็นระบบแบบไร้ใบหลักทรัพย์ (Scripless System) และให้บริษัทสมาชิกทำรายงานต่าง ๆ โดยใช้ระบบหักบัญชีหลักทรัพย์

- งานนายทะเบียน : เป็นงานให้บริการดูแลข้อมูลผู้ถือหลักทรัพย์และการนำส่งสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ผู้ถือหลักทรัพย์พึงจะได้รับ ได้แก่ เงินปันผล สิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ชนิดต่าง ๆ สิทธิในการเข้าร่วมประชุมสามัญ/วิสามัญ และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ตลอดจนการให้บริการโอนหลักทรัพย์แก่ผู้ถือใบหลักทรัพย์



2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนต่างด้าว จำกัด



สถานที่ตั้ง : อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เลขที่ 62 ถนนรัชดาภิเษก เขตคลองเตย

กรุงเทพมหานคร 10110

โทรศัพท์ : (662) 3591200 - 74



ลักษณะการดำเนินงาน :

- เป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเพื่อผู้ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว

- บริหารกองทุนเปิด (Open-ended Fund) ซึ่งแต่ละกองจะลงทุนในหุ้นของบริษัท

จดทะเบียนบริษัทใดบริษัทหนึ่งเท่านั้น

- สนับสนุนการลงทุนของผู้ลงทุนชาวต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ซึ่งเป็นการเสริมสภาพคล่องการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์








หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลักทรัพย์





ปัจจุบันมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการซื้อขายหลักทรัพย์หลายหน่วยงาน ที่ให้การส่งเสริม และสนับสนุนกิจกรรมอันเป็นประโยชน์กับผู้ลงทุน ซึ่งในภาคผนวกนี้ เราได้สรุปรายชื่อและหน้าที่การดำเนินงานของหน่วยงานที่มีความสำคัญ และคุณควรทราบไว้ดังนี้



1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งประกอบด้วย



1.1 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสำนักคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อทำหน้าที่ในการวางนโยบายกำกับดูแลตลาดทุนทั้งระบบ อันได้แก่ การออกหลักทรัพย์จำหน่ายให้แก่ประชาชนในตลาดแรก ธุรกิจการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรอง ตลอดจนการดำเนินงานของตลาดหลักทรัพย์ศูนย์การซื้อขายหลักทรัพย์ และองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์รวมถึงการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ และการป้องกันการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. นี้จะต้องประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ, ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, ปลัดกระทรวงการคลัง, ปลัดกระทรวงพาณิชย์, และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง โดยคำแนะนำของรัฐมนตรีอีกไม่น้อยกว่า 4 คน แต่ไม่เกิน 6 คน ในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย, ด้านการบัญชี, และด้านการเงิน ด้านละหนึ่งคน

1.2 สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (Association of Investment Management Companies : AIMC) เป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของบริษัทหลักทรัพย์ประเภทบริษัทจัดการลงทุน ทำหน้าที่ในการสร้างมาตรฐานและพัฒนาการลงทุนและตลาดทุนไทย ตลอดจนรักษาผลประโยชน์และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนในกองทุนรวม

1.3 สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ (Association of Securities Companies : ASCO) เป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมของบริษัทหลักทรัพย์ทุกประเภท ในอันที่จะร่วมมือกันและให้ความร่วมมือกับองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ในการส่งเสริมพัฒนาตลาดทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของไทย โดยในสมาคมจะมีการฝึกอบรมด้านธุรกิจหลักทรัพย์ให้แก่บุคลากรของสมาชิกสมาคม และจัดสอบเพื่อให้ประกาศนียบัตรหลักสูตรเจ้าหน้าที่การตลาดหลักทรัพย์ด้วย

1.4 สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ (Securities Analysts Association) เป็นสมาคมที่ตลาดหลักทรัพย์ร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้นเมื่อต้นปี 2534 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษา และพัฒนาวิชาการด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์และการเงิน ตลอดจนเสริมสร้างมาตรฐานจรรยาบรรณ และคุณภาพของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เพื่อการเจริญก้าวหน้าของตลาดทุนไทย

1.5 สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (Thai Investors Association) จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายสมาคมเมื่อปลายปี 2532 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์ และเผยแพร่ข่าวสารแก่ผู้ลงทุน ตลอดจนให้ความร่วมมือและประสานงานกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในหลักทรัพย์และพัฒนาตลาดทุนไทย



2. หน่วยงานที่เกี่ยวของกับการลงทุนในหลักทรัพย์อื่น



2.1 ศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพ (Bangkok Stock Dealing Center : BSDC) เป็นตลาดรองเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์อีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย จุดประสงค์คือเพื่อให้ผู้ลงทุนมีโอกาสเลือกลงทุนเพิ่มขึ้น อีกทั้งเจ้าของกิจการขนาดกลาง และขนาดย่อมซึ่งมีคุณสมบัติยังไม่ถึงเกณฑ์ ที่จะจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ก็สามารถมาขึ้นทะเบียนนำหลักทรัพย์เข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์กรุงเทพนี้ได้

2.2 ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย (Thai Bond Dealing Center : THAI BDC) เป็นนิติบุคคลภายใต้ พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ดำเนินงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การจัดตั้งศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทยนี้ นอกจากจะมีวัตถุประสงค์หลักในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการซื้อขายตราสารหนี้แล้ว ยังเป็นการปรับโครงสร้างของชมรมผู้ค้าตราสารหนี้ที่มีอยู่เดิมให้มีบทบาทและหน้าที่กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อจะเป็นแกนสำคัญของการพัฒนาตลาดการค้าตราสารหนี้ของประเทศไทยต่อไป







ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เกี่ยวกับกิจการตลาดหลักทรัพย์



เมื่อบริษัทไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ และมีเงินได้เกิดขึ้นจะต้องเสียภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้



หมายเหตุ : บริษัทนิติบุคคลทุกประเภทจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้

บริการนายหน้าและตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ในอัตราร้อยละ 7 ของค่าตอบแทน






รายชื่อและที่อยู่ของบริษัทนายหน้าผู้ค้าหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิก
กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (สิงหาคม 2541)



หมายเลข


ชื่อบริษัทและที่อยู่


ชื่อย่อ


โทรศัพท์


โทรสาร

2


บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

48/2 ทิสโก้ทาวเวอร์ ถ.สาธรเหนือ

บางรัก กทม. 10500


TISCO


6336000


6336900

3


บริษัทหลักทรัพย์แอ๊ดคินชัน จำกัด (มหาชน)

132 อาคารสินธร ชั้น 2 ถ.วิทยุ

เขตปทุมวัน กทม.10330


ASL


2550970

2633733


2544032

4


บริษัทหลักทรัพย์นววิคเคอร์ส บัลลาส จำกัด

422 อาคารนวธนกิจ (เชิงสะพานหัวช้าง)

ถ.พญาไท ปทุมวัน กทม.10330


NVS


2152945


6123378

5


บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินอุตสาหกรรมจำกัด

(มหาชน)

132 อาคารสินธร ชั้น 2 ถ.วิทยุ

เขตปทุมวัน กทม. 10330


SICCO


2612100


2632041-7

6


บริษัทหลักทรัพย์เมอร์ริล ลินซ์ ภัทร จำกัด

262/6 อาคารสำนักงานเมืองไทย-ภัทร 1

ชั้น 5-10 ถ.รัชดาภิเษก กทม. 10320


MLP


2750888


27552282

7


บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงไทยธนกิจ จำกัด

(มหาชน)

159 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ ชั้น 15-16

ถ. สุขุมวิท 21 กทม. 10110


KIT


2617373-9


2617444q

8


บริษัทหลักทรัพย์เอบีเอ็น แอมโร เอเซีย จำกัด

(มหาชน)

175 อาคารสาธรซิตี้ทาวเวอร์ ชั้น 3

ถ.สาธรใต้ ทุ่งมหาเมฆ กทม. 10120


AST


2851666

2851777


2851905

10


บริษัทหลักทรัพย์ยูเนี่ยน จำกัด

36/63-66 อาคารพีเอสทาวเวอร์ ชั้น 19

ถ.สุขุมวิท 21 คลองเตย กทม.10110


IWICU


2611850


2593093

12


บริษัทหลักทรัพย์คาเธ่ย์แคปิตอล จำกัด

1016 อาคารคาเธ่ย์ทรัสต์ ชั้น 6

ถ.พระราม 4 เขตบางรับ กทม.10500


C-CAP


2383334


2674211



หมายเลข


ชื่อบริษัทและที่อยู่


ชื่อย่อ


โทรศัพท์


โทรสาร

13


บริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง จำกัด (มหาชน)

153/3 ซอยมหาดเล็กหลวง 1 ถ.ราชดำริ

ปทุมวัน กทม.10330


S-ONE


6521234


6521250

14


บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)

21/3 อาคารไทยวาทาวเวอร์ ชั้น 1

ถ.สาธรใต้ เขตยานนาวา กทม. 10120


CNS


2850060


28550620

15


บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอส จี สินเอเซ๊ย จำกัด (มหาชน)

320 ถ.พระราม 4 แขวงมหาพฤฒาราม

เขตบางรัก กทม. 10500


SGACL


2351477


2361554

16


บริษัทหลักทรัพย์ธนชาติ จำกัด

444 อาคารเอ็มบีเค ทาวเวอร์ ชั้น 7

ถ.พญาไท ปทุมวัน กทม. 10330


NATSEC


2179595

2179622


2179642

19


บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

500 อาคารอัมรินทร์ทาวเวอร์ ชั้น 7

ถ.เพลินจิต ปทุมวัน กทม.10330


KK


2569898-9


2569783

23


บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์บุคคลัภย์ จำกัด (มหาชน)

1060 อาคารไทยพาณิชย์ อาคาร 2

ชั้น 3-6 ถ. เพชรบุรี กทม. 10400


BC


2515555

2558999


2551666

26


บริษัทหลักทรัพย์มหาสมุทร จำกัด

163 อาคารไทยสมุทร ถ.สุรวงศ์

เขตบางรับ กทม. 10500


OS


2347500-4


2384151

27


บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)

300 ถ.สีลม เขตบางรัก กทม.10500


BFIT


2378000


2376736

29


บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 3

ถ.เพลินจิต ปทุมวัน กทม.10300


AITCO


2630355


2630408

30


บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยซากุระ จำกัด

952 อาคารมาแลนด์ ชั้น 12

ถ.พระราม 4 บางรัก กทม.10500


SAKURA


6329700


6329711-2



หมายเลข


ชื่อบริษัทและที่อยู่


ชื่อย่อ


โทรศัพท์


โทรสาร

32


บริษัทหลักทรัพย์ธนสยาม จำกัด

132 อาคารสินธร ชั้น 3 ถ.วิทยุ

เขตปทุมวัน กทม.10300


DSS


2555350


2500605

34


บริษัทหลักทรัพย์แอมสตีล (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

849 อาคารวรวัฒน์ ชั้น 15 ถ.สีลม

บางรัก กทม. 10500


AMS


6351700

2680999


6351615

38


บริษัทหลักทรัพย์ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน)

1550 อาคารแกรนด์อัมรินทร์ทาวเวอร์

ชั้น 4-5 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ กทม.


US


2070038


2070505

41


บริษัทหลักทรัพย์ เจ.เอฟ.ธนาคม จำกัด

191 อาคารสีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 29

ถ.สีลม เขตบางรัก กทม.10500


JET


2313777


2313797

42


บริษัทหลักทรัพย์นิธิภัทร จำกัด

52 อาคารธนิยะพลาซ่า ชั้น 11

ถ.สีลม บางรัก กทม. 10500


NICS


2312431


2312416

43


บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกชาติ จำกัด (มหาชน)

444 อาคารเอ็ม บี เค ทาวเวอร์ ชั้น 12A

ถ.พญาไท ปทุมวัน กทม. 10330


EFS


2179922


2163542

47


บริษัทหลักทรัพย์ซีมิโก้ จำกัด (มหาชน)

287 อาคารลิเบอร์ตี้สแควร์ ชั้น 16

ถ.สีลม บางรัก กทม. 10500


Z-MICO


6311600


6311700

49


บริษัทหลักทรัพย์เอสบีซี วอร์เบิร์ก พรีเมียร์ จำกัด

93/1 อาคารดีทแฮล์มทาวเวอร์ A ชั้น 5

ถ.วิทยุ ปทุมวัน กทม. 10330


SBCWP


6515700-9


6515730





หมายเหตุ : บริษัทสมาชิกมีจำนวน 50 บริษัท แต่ 22 บริษัทถูกปิดกิจการถาวรเมื่อเดือนธันวาคม

พ.ศ. 2540 จึงมิได้แสดงชื่อและที่อยู่ ณ ที่นี้









รายชื่อและที่อยู่ของบริษัทหลักทรัพย์จักการกองทุนรวม

ที่เป็นสมาชิกสามัญกลุ่มธุรกิจกองทุนรวม (สิงหาคม 2541)



หมายเลข


ชื่อบริษัทและที่อยู่


ชื่อย่อ


โทรศัพท์


โทรสาร

1


บริษัทหลักทรัพย์ กองทุนรวม จำกัด (มหาชน)

193-95 อาคารเลครัชดา ออฟฟิส คอมเพล็กซ์

ชั้น 30-32 ถ.รัชดาภิเษก กทม


MFC


6619000-99


6619100

2


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม กสิกรไทย จำกัด

252/38-41 อาคารสนง.เมืองไทย-ภัทร 1

ชั้น 31 ถ.รัชดาภิเษก กทม.


TFAM


6932300

6932322


69332320

3


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

ไทยพาณิชย์ จำกัด

130-2 อาคารสินธร ทาวเวอร์ 3

ชั้น 23 ถ.วิทยุ ปทุมวัน กทม.


SCBAM


2632800


2634004

4


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

ไทยเอเซีย จำกัด

183 อาคารรัจนาการ ชั้น 11

ถ.สาธรใต้ ยานนาวา กทม. 10120


TAM


6765678


6765675-7

5


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริหารทุนไทย

317 อาคารกมลสุโกศล ชั้น 15

ถ.สีลม บางรัก กทม.


TCM


6311000


2381224

6


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง จำกัด

333 อาคารธนาคารกรุงเทพ ห้อง 1701

ชั้น 17 ถ.สีลม บางรัก กทม.


BLAM


2314955


2314884-5

7


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด

999 อาคารเกษรเพลซ ชั้น 5

ถ.เพลินจิต ปทุมวัน กทม.


OAM


6561200-49


6561250-1

8


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ออมสิน จำกัด

898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 15

ถ.เพลินจิต ปทุมวัน กทม.


GSAM


2630800


2630811-4

9


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

นครธน ชโรเดอร์ จำกัด

90/36 อาคารสาธรธานี 1 ชั้น 14

ถนนสาธรเหนือ สีลม บางรัก กทม.


NAKORN


23666133

2384646


2341812

2384753

หมายเลข


ชื่อบริษัทและที่อยู่


ชื่อย่อ


โทรศัพท์


โทรสาร

10


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

อยุธยาจาร์ดีนเฟลมมิ่ง จำกัด

898 อาคารเพลินจิตทาวเวอร์ ชั้น 8A

ถ.เพลินจิต ปทุมวัน กทม.


AJF


2630200


2630198-9

11


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม

สยามซิตี้ แอสเซท แมเนจเม้นท์ จำกัด

2 อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 17

ถ.สุขุมวิท คลองเตย กทม.


SCIM


6569111


6569119

12


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ทหารไทย จำกัด

990 อาคารอับดุลราฮิม เพลส ชั้น 28

ถ.พระราม 4 บางรัก กทม.


TMBAM


6361818


6361820

13


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม มหานคร จำกัด

11 อาคารคิวเฮ้าส์ ชั้น 10 ถ.สาธรใต้

แขวงทุ่งมหาเมฆ สาธร กทม.


FBCBAM


6792030


2791820-1

14*


บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ซิทก้า

ศรีนคร อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

1908 อาคารคอมเมอร์เซียลยูเนียน ชั้น 9

ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ห้วยขวาง กทม.





6527645-50


6528143



หมายเหตุ : *กำลังเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน







หมวดคำศัพท์ที่เกี่ยวกับการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์ (Glossary)



กระดาษต่างประเทศ (Foreign Board) : เป็นส่วนของระบบซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้รองรับการซื้อขายหลักทรัพย์ ระหว่างผู้ลงทุนชาวต่างประเทศด้วยกัน ทั้งนี้หลักทรัพย์ที่นำมาขายผ่านกระดานต่างประเทศ จะต้องเป็นหลักทรัพย์ที่มีชื่อชาวต่างประเทศเป็นเจ้าของ



กระดาษหลัก (Main Board) : เป็นส่วนที่ใช้สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์จำนวนที่เป็นหน่วยซื้อขาย (Board Lot) คือ ปริมาณหุ้นที่สั่งซื้อหรือสั่งขายจะต้องเป็น 1 Board Lot หรือมากกว่าโดยเป็นจำนวนที่เป็นทวีคูณของ 1 Board Lot เช่น 2, 3, 4, …………..Board Lots เป็นต้น



กองทุนตราสารทุน (Equity Fund) : คือกองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้นโดยมีนโยบายนำเงินไปลงทุนในตราสารทุน (Equity) ของบริษัทต่าง ๆ เงินปันผลจากกองทุนประเภทนี้จะไม่แน่นอน แต่จะมีอัตราสูงกว่าอัตราปันผลจากกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งให้ปันผลตอบแทนที่แน่นอน



กองทุนตราสารหนี้ (Fixed-Income Fund) : คือกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนเฉพาะในหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ เช่น หุ้นกู้ประเภทต่าง ๆ ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นกู้, พันธบัตรรัฐบาล, เงินฝากธนาคารพาณิชย์, ตั๋วสัญญาใช้เงิน ฯลฯ ซึ่งจะมีรายได้จากดอกเบี้ยเป็นหลัก ผู้ลงทุนถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมประเภทนี้ จะได้ผลตอบแทนไม่สูงมากเท่ากับกองทุนรวม ที่มุ่งลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารทุน (Equity Fund) แต่จะได้รับผลตอบแทนที่แน่นอนกว่า



กองทุนปิด (Closed-End Fund) : คือกองทุนรวมประเภทที่กำหนดขนาดกองทุนไว้แน่นอนตั้งแต่เริ่มจัดตั้งกองทุน เมื่อกองทุนรวมนี้ขายหน่วยลงทุนหมดแล้ว จะไม่มีการออกหน่วยลงทุนใหม่มาขายอีก และผู้ถือหน่วยลงทุนก็ไม่อาจจะนำหน่วยลงทุนที่ถืออยู่ไปขายคืนแก่กองทุนได้ จนกว่ากองทุนจะหมดอายุ อย่างไรก็ตาม กองทุนรวมประเภทนี้ จะนำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้หน่วยลงทุนมีสภาพคล่องสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้



กองทุนเปิด (Open-End Fund) : เป็นกองทุนรวมประเภทไม่จำกัดขนาดกองทุน ซึ่งจะออกหน่วยลงทุนใหม่ขายตลอดเวลาที่มีผู้ต้องการซื้อ และจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ถือที่ต้องการขายคืนด้วย โดยราคาขายและรับซื้อคืนหน่วยลงทุน จะใช้มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุนเป็นเกณฑ์ในการกำหนด กองทุนรวมประเภทนี้จะไม่นำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนเพื่อซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เพราะผู้ลงทุนสามารถทำการซื้อหรือขายหน่วยลงทุนดังกล่าวกับกองทุนรวมนั้นได้อยู่แล้ว



กองทุนรวม (Mutual Fund) : เป็นโครงการลงทุนที่จัดตั้งขึ้นและบริหารโดยบริษัทจัดการลงทุน ในการจัดตั้งกองทุนรวมแต่ละกอง บริษัทจัดการลงทุนจะออกหน่วยลงทุน (Unit Trust) เสนอขายแก่ผู้ลงทุนทั่วไป เพื่อระดมเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารการเงินประเภทต่าง ๆ ตามนโยบายการลงทุนที่กำหนดระบุไว้ในการขออนุญาตจัดตั้งกองทุนรวม



การขายชอร์ต (Selling Short / Short Sell) : คือการขายหุ้นโดยที่ผู้ขายได้ยืมหุ้นนั้นมาจากบริษัทหลักทรัพย์ หรือจากสถาบันที่ให้บริการยืมหุ้น ผู้ขายชอร์ตจะต้องวางเงินประกัน (Margin) ไว้กับบริษัทผู้ให้ยืมหุ้น ในจำนวนไม่ต่ำกว่าอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด และเงินจากการขายหุ้นก็ต้องเก็บไว้ที่บริษัทนายหน้าเพื่อเป็นหลักประกันด้วย จนกว่าผู้ขายชอร์ตจะส่งคืนหุ้นจำนวนที่ยืมไปนั้น โดยระหว่างที่ยังไม่ส่งคืนหุ้น ผู้ขายชอร์ตจะต้องส่งมอบสิทธิประโยชน์ใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การจ่ายเงินปันผล หรือการให้สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน ให้กับบริษัทนายหน้าของตน เพื่อส่งมอบต่อให้แก่เจ้าของหุ้นที่ให้ยืมอีกทอดหนึ่ง



การชำระค่าซื้อขายแบบยอดสุทธิ (Net Settlement) : เป็นการชำระราคาหลักทรัพย์ ในลักษณะที่บริษัทหลักทรัพย์นำค่าซื้อ และค่าขายหลักทรัพย์ตัวเดียวกัน ในวันเดียวกันของผู้ลงทุนรายเดียวกันมา

หักลบกันเพื่อหายอดสุทธิ และเมื่อถึงวันที่ 3 ซึ่งเป็นวันชำระบัญชีซื้อขายหุ้น ผู้ลงทุนก็เพียงแต่ชำระเงิน ส่วนต่างที่มูลค่าซื้อมากกว่ามูลค่าขายเท่านั้น การชำระค่าซื้อประเภทนี้จะช่วยให้ผู้ลงทุนไม่ต้องชำระเงินเต็มจำนวนยอดที่ซื้อทุกครั้ง จึงทำให้ผู้ลงทุนมีสภาพคล่องมากขึ้น



การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Clearing and Settlement) : เป็นกระบวนการที่บริษัทสมาชิกผู้ซื้อชำระราคาหลักทรัพย์ และรับมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อจากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ และบริษัทสมาชิกผู้ขายส่งมอบหลักทรัพย์ และรับชำระเงินค่าขายหลักทรัพย์ จากบริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ซึ่งต้องกระทำในวันทำการที่ 3 ภายหลังวันตกลงซื้อขายหลักทรัพย์ การชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ดังกล่าว กระทำกันโดยใช้ยอดสุทธิซื้อ และยอดสุทธิขายของแต่ละบริษัทสมาชิก



การซื้อขายรายใหญ่ (Big Lot) : เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ใดหลักทรัพย์หนึ่ง (อาจใช้หุ้นหรือตราสารหนี้ก็ได้) จำนวนเดียวโดยไม่แบ่งย่อย และมีปริมาณหรือมูลค่าการซื้อขายเท่ากับหรือสูงกว่าปริมาณหรือมูลค่าที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่าการซื้อขายคราวละตั้งแต่ 1 ล้านหุ้น หรือมูลค่า 3 ล้านขึ้นไป ถือเป็นการซื้อขายรายใหญ่ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์จัดกระดานซื้อขายรายใหญ่ (Big - Lot Board) ไว้รองรับการซื้อขายเช่นนี้



การซื้อขายหลักทรัพย์โดยบุคคลภายใน (Insider Trading) : คือการที่บุคคลภายในทราบข้อมูลภายในของบริษัทที่ยังไม่ได้มีการเผยแพร่สู่สาธารณชน และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ ซึ่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้มีข้อกำหนดห้ามมิให้บุคคลภายในใช้ข้อมูลภายใน เพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหลักทรัพย์ และกำหนดโทษไว้ด้วย



การได้มาซึ่งสินทรัพย์ (Acquisition of Asset) : คือการเข้าซื้อหรือรับโอนหรือแลกเปลี่ยน เพื่อให้ได้มาซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทอื่น เช่น การซื้อหุ้นทุน, การแลกหุ้นกัน, การซื้อที่ดิน, การซื้อสิทธิการเช่าอาคาร, การซื้อสิทธิการใช้ที่ดินหรืออาคาร เป็นต้น ทั้งนี้ตลาดหลักทรัพย์มีข้อกำหนดให้บริษัทจะทะเบียนต้องเปิดเผยข้อมูล ตามนัยสำคัญแห่งการได้มาซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทอื่น



การตรวจสอบวิเคราะห์สถานะ (Due Diligence) : คือการตรวจสอบและประเมินทรัพย์สิน ตลอดจนหนี้สินของบริษัทว่ามีมูลค่าถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีและมีอยู่จริง



การทำกำไรจากผลต่างของราคาใน 2 ตลาด (Arbitrage) : คือการซื้อสินค้าในตลาดที่ราคาถูกและขณะเดียวกันก็สั่งขายสินค้านั้น (หรือสินค้าประเภทเดียวกันนั้น) ในจำนวนเดียวกันในอีกตลาดที่ราคาสูงกว่า เพื่อรับผลกำไรจากส่วนต่างของราคาใน 2 ตลาด การทำ Arbitrage นี้จะทำได้เฉพาะกับสินค้าที่มีการซื้อขายมากกว่าหนึ่งตลาด เช่น ซื้อขายในตลาดปกติที่ส่งมอบทันที ซื้อขายในตลาดล่วงหน้า และซื้อขายในตลาด Options เป็นต้น สินค้าประเภทนี้ ได้แก่ เงินตราต่างประเทศ, หุ้น, ดัชนีราคาหุ้น, พันธบัตรรัฐบาล, อัตราดอกเบี้ย และสินค้าทางด้านการเกษตร เป็นต้น



การทำคำเสนอซื้อหุ้นต่อผู้ถือหุ้นทั่วไป (Tender Offer) : เป็นการแจ้งแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ถึงความต้องการจะซื้อหุ้นบริษัทดังกล่าวจากผู้ถือหุ้น โดยระบุจำนวนหุ้น ราคา และกำหนดเวลาที่ต้องการรับซื้อไว้ โดยทั่วไปการทำ Tender Offer นี้ มักจะเกิดขึ้นโดยที่ผู้ทำคำเสนอซื้อมีวัตถุประสงค์จะเข้าไปบริหารบริษัทดังกล่าว



การปั่นหุ้น (Manipulation) : คือการซื้อขายหลักทรัพย์ใด ๆ โดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพื่อสร้างสภาพการซื้อขายให้ผิดไปจากภาวะที่เป็นจริง โดยเจตนาให้ผู้อื่นซื้อหรือขายหลักทรัพย์ด้วยความเข้าใจผิด การกระทำดังกล่าวนี้ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งมีบทกำหนดโทษไว้ด้วย



การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis) : เป็นการประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์ในปัจจุบัน โดยพิจารณาถึงผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับและราคาหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะขายได้ในอนาคต โดยผู้ลงทุนจะซื้อหลักทรัพย์นั้นหากพบว่าราคาตลาดหลักทรัพย์ดังกล่าวต่ำกว่ามูลค่าตามพื้นฐานที่คำนวณได้ และจะขายหลักทรัพย์นั้นหากพบว่าราคาตลาดของหลักทรัพย์ดังกล่าวสูงกว่ามูลค่าตามพื้นฐาน ในการวิเคราะห์ผู้ลงทุนจะต้องศึกษาภาวะเศรษฐกิจ, ภาวะการเมือง, ภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และผลการดำเนินงานรวมทั้งฐานะทางการเงินของบริษัทผู้ออกหุ้น



การเสนอขายหลักทรัพย์แก่ประชาชน (Public Offering) : คือการที่บริษัทนำหลักทรัพย์ของตนออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อระดมเงินทุนไปขยายกิจการและเพื่อกระจายการถือครองหลักทรัพย์ให้ประชาชนทั่วไป ซึ่งจะต้องกระทำผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่รับเป็นผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) และได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. และต้องจัดทำหนังสือชี้ชวนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้



กำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share/EPS) : คือส่วนของกำไรสุทธิที่แบ่งเฉลี่ยแก่หุ้นสามัญแต่ละหุ้น



กำไรส่วนทุน (Capital Gain) : เป็นผลกำไรที่เกิดขึ้นจากการขายหุ้นออกไปในราคาที่สูงกว่าราคาที่ซื้อมา กำไรส่วนทุนที่ผู้ลงทุนบุคคลธรรมดาได้รับจากการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้



ข้อตกลงการจดทะเบียนหลักทรัพย์ (Listing Agreement) : เป็นข้อตกลงระหว่างบริษัทจดเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ ในการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียน เพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์



เครื่องหมายซี (C) : ย่อมาจาก Compliance ตลาดหลักทรัพย์จะติดเครื่องหมายนี้บนหลักทรัพย์ เพื่อแสดงให้ผู้ลงทุนทราบว่า บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวมีฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานอยู่ในข่ายอาจถูกเพิกถอนจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน และบริษัทดังกล่าวอยู่ในระหว่างดำเนินการ เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นด้วยวิธีการ และภายในกำหนดเวลาตามแผนฟื้นฟู ที่บริษัทเสนอต่อตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์ได้ยกเลิกกฎเกณฑ์การขึ้นเครื่องหมาย C แล้ว แต่เปลี่ยนเป็นขึ้นเครื่องหมาย SP หุ้นที่เข้าข่ายถูกเพิกถอนแทน (ยกเว้น สำหรับหุ้นที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย C อยู่เดิม ก็จะยังคงติดเครื่องหมาย C อยู่)



เครื่องหมายดีเอส (DS) : ย่อมาจาก Designated Securities ซึ่งตลาดหลักทรัพย์จะติดเครื่องหมายนี้ไว้บนหลักทรัพย์ เพื่อให้ผู้ลงทุนทราบว่าหลักทรัพย์นั้น มีภาวะซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติในด้านราคา และ/หรือด้านปริมาณซื้อขายโดยที่ยังไม่ทราบเหตุผล การซื้อขายหลักทรัพย์ที่ติดเครื่องหมาย DS อยู่ ผู้ซื้อจะต้องใช้เงินสดชำระค่าหุ้นทันทีและผู้ขายจะต้องส่งมอบใบหุ้นทันทีเช่นเดียวกัน



เครื่องหมายแสดงการไม่ได้รับสิทธิต่าง ๆ (XA, XD, XI, XR, XS) :

เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์ แสดงไว้บนหลักทรัพย์เป็นระยะเวลาล่วงหน้า 3 วันทำการ ก่อนวันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหลักทรัพย์นั้น เพื่อแสดงให้ทราบว่าในวันนั้นผู้ซื้อหลักทรัพย์นี้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ประเภทที่ระบุ จากการปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นที่กำลังจะเกิดขึ้น โดยรายละเอียดของเครื่องหมายแต่ละตัวมีดังนี้

- XD (Excluding Dividend) : ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิรับเงินปันผล

- XR (Excluding Right) : ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่

- XI (Excluding Interest) : ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิรับดอกเบี้ย

- XA (Excluding All : ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิทุกประเภทที่บริษัทประกาศให้ในคราวนั้น

- XS (Excluding Short-term Warrant) : ผู้ซื้อหุ้นไม่ได้สิทธิรับใบแสดงสิทธิในการ

จองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น



เครื่องหมายเอซ (H) : ย่อมาจาก Halt Trade ซึ่งจะติดไว้บนหลักทรัพย์ เพื่อแสดงให้ผู้ลงทุนทราบว่าหลักทรัพย์ดังกล่าว อยู่ระหว่างถูกห้ามซื้อขายสำหรับช่วงเวลาการซื้อขายรอบนั้น



เครื่องหมายเอ็นดี (NP) : ย่อมาจาก Notice Pending เป็น เครื่องหมายที่ติดไว้บนหลักทรัพย์ เพื่อแสดงให้ผู้ลงทุนทราบว่า ณ เวลาขณะนั้นตลาดหลักทรัพย์กำลังรอคำชี้แจง หรือรายงานข้อมูลเพิ่มเติมจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าว หรือกำลังรอการเปิดเผยงบการเงิน หรือรายงานอื่นใดที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์จะต้องรายงานตามเวลาที่ตลาดหลัก ทรัพย์กำหนด



เครื่องหมายเอ็นอาร์ (NR) : ย่อมาจาก Notice Received ตลาดหลักทรัพย์จะติด NR ไว้บนหลักทรัพย์ที่เพิ่งถูกถอนเครื่องหมาย NP เพื่อแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่า ตลาดหลักทรัพย์ได้รับแจ้งข้อมูลข่าวสาร หรือรายงานคำชี้แจงจากบริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ดังกล่าวอย่างพอเพียง และได้ทำการเผยแพร่เพื่อให้ทราบทั่วกันแล้ว



เครื่องหมายเอสพี (SP) : ย่อมาจาก Suspension เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์ติดบนหลักทรัพย์ เพื่อแจ้งให้ผู้ลงทุนทราบว่าหลักทรัพย์ดังกล่าวอยู่ในระหว่างถูกห้ามซื้อขายชั่วคราว ซึ่งอาจมีสาเหตุเนื่องมาจาก

1. บริษัทนั้นฝ่าฝืนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์

2. ปรากฎข่าวสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับฐานะทางการเงินหรือผลการดำเนินงานของบริษัท ก่อนเวลาที่จะได้มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทอย่างรุนแรง

3. บริษัทขอให้ตลาดหลักทรัพย์สั่งพักการซื้อขายหุ้นของบริษัท เนื่องจากมีข่าวหรือข้อมูลสำคัญที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งอาจมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์



ช่วงจำกัดการเปลี่ยนแปลงราคาประจำวัน (Daily Price Limit) : เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นที่ตลาดหลักทรัพย์อนุญาตให้เกิดขึ้นได้ ภายในแต่ละวันทำการ ช่วงจำกัดดังกล่าวนี้จะทำให้มี Ceiling Price และ Floor Price ในแต่ละวันทำการ



ช่วงเวลาห้ามขายหุ้น (Silent Period) : คือช่วงระยะเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดห้ามผู้บริหาร, ผู้ถือหุ้นรายใหญ่, ผู้เกี่ยวข้องกับผู้บริหารและ/หรือผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทจดทะเบียนใหม่ ในการนำหุ้นบริษัทดังกล่าวที่ตนถือครองอยู่ออกขาย โดยทั่วไปช่วงเวลาห้ามขายหุ้นจะประมาณ 6 เดือน นับแต่วันแรกที่ให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ แต่ในบางกรณีอาจจะกำหนดให้นานกว่า 6 เดือนก็ได้แต่ไม่เกิน 3 ปี



ช่วงห้ามเผยแพร่ข้อมูล (Quiet Period) : เป็นช่วงเวลาที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดห้ามบริษัทที่ยื่นขอจดทะเบียนหลักทรัพย์ (รวมถึงผู้ถือหุ้นรายใหญ่, ผู้บริหาร, ที่ปรึกษาทางการเงิน, หรือผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ที่เป็นแกนนำของบริษัทดังกล่าว) เปิดเผยข้อเท็จจริงใด ๆ ที่มิได้ปรากฎในแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหุ้นในร่างหนังสือชี้ชวนและในเอกสารใด ๆ ที่ได้ยื่นไว้ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ ช่วงห้ามเผยแพร่ข้อมูลนี้ เริ่มนับตั้งแต่วันที่ยื่นขอให้รับหลักทรัพย์จนถึงวันที่ตลาดหลักทรัพย์ รับหลักทรัพย์นั้นเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน



เซอร์ขิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) : เป็นมาตรการที่ตลาดหลักทรัพย์นำมาใช้หยุดการซื้อขายหลักทรัพย์ชั่วคราว ในยามที่การซื้อขายโดยรวมในตลาดหลักทรัพย์เกิดตกต่ำลงอย่างมากมายผิดผกติ

ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ลงทุนโดยทั่วไปได้มีเวลาตรวจสอบข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดให้ทำการซื้อขายหลักทรัพย์ได้ต่อไป



ดัชนีเซท 50 (SET 50 Index) : เป็นดัชนีราคาหุ้นที่แสดงระดับ และความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นสามัญ 50 ตัวที่มีมูลค่าตลาดสูงและการซื้อขายมีสภาพคล่องสูงอย่างสม่ำเสมอ



ดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม (Sectoral Index) : คือดัชนีราคาหุ้นของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม โดยทั่วไปจะใช้ราคาหุ้นสามัญทุกตัวที่จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นในการคำนวณ ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์จัดหุ้นสามัญจดทะเบียนทั้งหมดกระจายอยู่ใน 30 กลุ่มอุตสาหกรรม



ดัชนีราคาหุ้นตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET Index) : เป็น ดัชนีราคาหุ้นประเภทที่คำนวณถัวเฉลี่ยราคาหุ้นสามัญแบบถ่วงน้ำหนักด้วยจำ นวหนุ้นจดทะเบียน โดยจะแสดงมูลค่าเฉลี่ยของหุ้นสามัญทั้งหมดในตลาดหลักทรัพย์ ณ วันปัจจุบัน เทียบกับมูลค่าเฉลี่ยของหุ้นดังกล่าว ณ วันฐาน ค่าเปลี่ยนแปลงของดัชนีนี้ จึงบอกให้ทราบถึงระดับการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าหุ้นสามัญทั้งหมด ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย



ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายทรัพย์สิน (Options) : อาจหมายถึงตราสารที่กำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะซื้อทรัพย์สินจากผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า “ตราสารสิทธิเรียกซื้อทรัพย์สิน” (Call Options) หรือตราสารที่กำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะขายทรัพย์สินให้ผู้ออกตราสารนั้น ซึ่งเรียกว่า “ตราสารสิทธิให้ขายทรัพย์สิน” (Put Options) ก็ได้



ตราสารหนี้ (Bond) : เป็นหลักทรัพย์ที่รัฐบาล องค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทนำออกจำหน่ายเพื่อกู้เงินจากผู้ลงทุนโดยตรง ผู้ถือตราสารหนี้มีฐานะเป็นเจ้าหนี้องค์กรผู้ออกตราสารนั้น และจะได้รับดอกเบี้ยตอบแทนเป็นงวด ๆ ตามที่กำหนดตลอดอายุของตราสาร และได้รับเงินต้นคืนเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ตราสารหนี้มี 2 ประเภท คือ ตราสารหนี้ที่มีหลักประกัน (Secured Bond) และตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน (Unsecured Bond) หรือที่เรียกว่าหุ้นกู้ (Debenture) ซึ่งนิยมออกโดยบริษัทที่มีฐานะมั่นคง



ตลาดกระทิง (Bull Market) : ภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหุ้นโดยทั่วไปมีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานไม่น้อยกว่า 2-3 เดือน และมีปริมาณการซื้อขายที่มาก สภาพตลาดดังกล่าวมีความคึกคักเสมือนอาการเคลื่อนไหวของวัวกระทิง



ตลาดทุน (Capital Market) : เป็นแหล่งในการระดมเงินออมระยะยาว (เกิน 1 ปี) เพื่อทำการจัดสรรให้กับผุ้ที่ต้องการเงินทุนระยะยาว ได้นำไปใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ



ตลาดรองหรือตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ (Secondary or Trading Market) : เป็นแหล่งกลางสำหรับการซื้อขายเปลี่ยนมือความเป็นเจ้าของหลักทรัพย์ที่ได้ผ่านการจองซื้อในตลาดแรกมาแล้ว



ตลาดแรก (Primary Market) : เป็นแหล่งกลางที่ผู้ต้องการระดมเงินทุนระยะยาวจะนำตราสารทางการเงินหรือหลักทรัพย์ออกใหม่ประเภทต่าง ๆ (New Issue) เสนอขายให้กับบุคคลภายนอกหรือประชาชนโดยทั่วไป



ตลาดหมี (Bear Market) : ภาวะตลาดหุ้นที่ราคาหุ้นโดยทั่วไปมีระดับลดต่ำลงต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน ปริมาณการซื้อขายก็มีน้อยเปรียบเสมือนการเคลื่อนไหวของหมีที่อืดอาดเชื่องช้า



ตลาดหลักทรัพย์ (Securities Market) : เป็นสถาบันหนึ่งในตลาดรอง ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้การส่งเสริมการระดมเงินออมและจัดสรรเงินทุนในตลาดทุน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว สำหรับในประเทศไทยตลาดหลักทรัพย์จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ เพื่อให้การซื้อขายหลักทรัพย์เป็นไปด้วยความมีระเบียบคล่องตัวและยุติธรรม อันจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ลงทุน



ที่ปรึกษาทางการเงิน (Financial Advisor) : เป็นสถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตจาก ก.ล.ต. ในการให้บริการแก่บริษัทมหาชนจำกัด เกี่ยวกับคำปรึกษา, ความเห็น และการจัดเตรียมเอกสารข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำเสนอต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์, ผู้ถือหุ้น และประชาชนโดยทั่วไป



นายหน้าผู้ค้าหลักทรัพย์ (Broker-Dealer) : บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตทำธุรกรรมหลักทรัพย์ทั้งในฐานะ Broker และในฐานะ Dealer



บริษัทจดทะเบียน (Listed Company) : คือบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนหลักทรัพย์ของบริษัทเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดและต้องปฏิบัติตาม Listing Agreement



บริษัทนายหน้า (Brokerage Firm) : บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนซื้อหรือขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ให้แก่ผู้ลงทุน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่านายหน้าจากผู้ลงทุนเป็นผลตอบแทน



บริษัทนายหน้าช่วง (Sub-Brokerage Firm / Sub-Broker) : เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งให้บริการรับคำสั่งซื้อหรือขายหุ้นจากผู้ลงทุน แล้วส่งคำสั่งดังกล่าวต่อไปยังบริษัทนายหน้า (Broker) เพื่อทำการซื้อหรือขายหุ้นให้ในตลาดหลักทรัพย์



บริษัทซื้อขายหุ้นโดยวางหลักประกัน (Margin Account) : เป็นบัญชีซื้อขายหุ้นที่ลูกค้าขอเปิดไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการซื้อหุ้นโดยใช้สินเชื่อจากบริษัทนั้น และ/หรือ เพื่อการ Short Sell ในการเปิด Margin Account ลูกค้าจะต้องนำเงินหรือหลักทรัพย์จำนวนหนึ่งมาวางไว้กับบริษัทนายหน้าเพื่อเป็นหลักประกัน ทั้งนี้มูลค่าของหลักประกันที่นำมาวาง เมื่อเทียบกับวงเงินที่จะซื้อหุ้นหรือที่จะขายซอร์ต จะต้องไม่ต่ำกว่า Initial Margin Rate ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด



ใบสำคัญแสดงสิทธิในการจองซื้อหลักทรัพย์ระยะสั้น (Short-Term Warrant) : เป็น Warrant ประเภทที่มีอายุสั้น โดยทั่วไปมักมีอายุไม่เกิน 2 เดือน ซึ่งบริษัทจดทะเบียนที่ต้องการเพิ่มทุน อาจเลือกที่จะออกตราสารนี้ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม แทนการให้สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่



ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ (Warrant) : เป็นหลักทรัพย์ที่บริษัทกำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะจองซื้อหุ้นสามัญจากบริษัทได้ในจำนวนราคา และตามระยะเวลาที่ระบุไว้



ปันผล (Dividend) : คือส่วนของกำไรที่บริษัท (หรือกองทุนรวม) แบ่งจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ (หรือผู้ถือหน่วยลงทุน)



ผู้ค้าหลักทรัพย์ (Dealer) : คือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับในอนุญาตทำธุรกรรมในฐานะผู้ค้าหลักทรัพย์ ซึ่งจะซื้อและขายหลักทรัพย์เพื่อบัญชีลงทุนของบริษัทเองและรับความเสี่ยงจากการซื้อขายนั้น ในกรณีที่ลุกค้าซื้อหุ้นจาก Dealer ลูกค้าก็จะได้รับหุ้นที่โอนมาจาก Portfolio ของ Dealer นั้น



ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ (Underwriter) : คือบริษัทหลักทรัพย์ที่รับทำหน้าที่จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ให้บริษัทที่ต้องการกระจายหุ้นให้แก่บุคคลทั่วไป



มูลค่าตามบัญชี (Book Value) : เป็นมูลค่าของหุ้นสามัญ 1 หุ้น ที่ได้จากการประเมินค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Asset Value) ต่อหุ้นตามงบดุลล่าสุดของบริษัทผู้ออกหุ้น ซึ่งหมายความว่าหากบริษัทนี้เลิกกิจการและสามารถนำสินทรัพย์รวมถึงหนี้สินต่าง ๆ ไปแปรเป็นเงินสดได้ตามมูลคาที่ระบุในงบดุลนั้นแล้ว ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินคืนในจำนวนเท่ากับมูลค่าตามบัญชีต่อการถือหุ้น 1 หุ้น

มูลค่าตามบัญชี = สินทรัพย์รวม - หนี้สินรวม

จำนวนหุ้นสามัญทั้งหมดที่บริษัทออกเรียกชำระเงินค่าหุ้นแล้ว



มูลค่าตามราคาตลาด (Market Capitalization) : คือมูลค่าโดยรวมของหุ้นสามัญของบริษัทใด ๆ ที่คำนวณขึ้นโดยใช้ราคาตลาดของหุ้นนั้นคูณกับจำนวนหุ้นสามัญจดทะเบียนทั้งหมดของบริษัทดังกล่าว



มูลค่าที่ตราไว้ (Par Value / Face Value / Nominal Value) : เป็นมูลค่าของหลักทรัพย์ที่ถูกระบุไว้บนใบตราสาร ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิของแต่ละบริษัท มูลค่าที่ตราไว้นี้จะเป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึง มูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางบัญชี และแสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็น 10 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาทเป็นต้น



มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ (Net Asset Value / NAV) : คือทรัพย์สินของกองทุนรวมตามราคาตลาดในขณะใดขณะหนึ่งหักด้วยหนี้สินของกองทุนรวมนั้น



รองการซื้อขาย (Trading Session) : เป็นช่วยเวลานับตั้งแต่ตลาหลักทรัพย์เปิดให้มีการซื้อขายจนกระทั่งหยุดการซื้อขาย 1 รอบ ในปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์เปิดให้มีการซื้อขาย 2 รอบใน 1 วัน คือรอบการซื้อขาย ช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 10.00 น. - 12.30 น. และรอบการซื้อขายช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 14.30 น. - 16.30 น.



ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับตรวจสอบการซื้อขาย (Automated Tools of Market Surveillance : ATOMS) : เป็นระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับอำนวยความสะดวกในงานตรวจสอบภาวะตลาด



ระบบเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance) : เป็นระบบบัญชีลูกค้าเงินกู้เพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Account) โดยผู้ลงทุนที่ต้องการกู้เงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ จะต้องนำเงินสดจำนวนหนึ่งมาวางไว้กับบริษัทนายหน้าของตนเช่น 1,000,000 บาท จากนั้นบริษัทนายหน้าก็จะกำหนดวงเงินให้ซื้อหลักทรัพย์ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับ Initial Margin Rate ที่กำหนดไว้ หาก Initial Margin เท่ากับ 50% วงเงินให้ซื้อหลักทรัพย์จะเท่ากับ

1,000,000 = 2,000,000 บาท

50%

ซึ่งหมายความว่า 1,000,000 บาทแรกซื้อด้วยเงินสดของผู้ลงทุน ส่วนที่เกินจากนั้นอีก 1,000,000 บาท เป็นเงินที่บริษัทสมาชิกให้กู้



ระบบสารสนเทศตลาดหลักทรัพย์ (SET Information Management System/SIMS) : เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียน, หลักทรัพย์จดทะเบียน, งบการเงิน, ข่าวสารสำคัญที่ได้รับการเปิดเผยจากบริษัทจดทะเบียนมาแยกแยะและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับเผยแพร่ทั่วไป โดยจะมีการปรับข้อมูลใหม่ให้ทันเหตุการณ์ ในฐานะข้อมูลทุกสิ้นวัน



ระบบไอ-ซิมส์ (I-SIMS) : เป็นโปรแกรมเพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียกดูและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ทางด้านพื้นฐานอยู่ด้วย ผู้สนใจระบบ I-SIMS นี้สามารถบอกรับเป็นสมาชิกได้



ราคาตลาด (Market Price) : คือราคาหุ้นใด ๆ ในตลาดหลักทรัพย์ ที่เกิดจากการซื้อขายครั้งหลังสุด เป็นราคาที่สะท้อนถึงความต้องการซื้อและความต้องการขายจากผู้ลงทุนโดยรวมในขณะนั้น



ราคาปิด (Closing Price) : คือราคาของหลักทรัพย์ใด ๆ ที่เกิดจากการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์เป็นรายการสุดท้ายของแต่ละวัน



ราคาเปิด (Opening Price) : เป็นราคาของหลักทรัพย์ใด ๆ ที่เกิดจากการซื้อขายเป็นรายการแรกของแต่ละวัน ราคาเปิดนี้จะเกิดจากระบบ ASSET ซึ่งรวมคำสั่งซื้อและคำสั่งขายหลักทรัพย์ทั้งหมดที่ส่งเข้ามาในระบบซื้อขายในช่วงก่อนเปิดตลาด นำมาคำนวณหาราคาที่จะทำให้เกิดการซื้อขายรายการแรกได้จำนวนสูงสุด แล้วจับคู่ให้เกิดการซื้อขายขึ้นเมื่อถึงเวลาเปิดการซื้อขาย ราคานี้คือราคาเปิดของแต่ละหลักทรัพย์ในวันนั้น



ราคาพื้น (Floor Price) : เป็นระดับราคาต่ำสุดของแต่ละหลักทรัพย์ที่จะซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้สำหรับวันทำการหนึ่ง ๆ ซึ่งคำนวณขึ้นจาก Daily Price Limit ของตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบันระดับที่เป็น Floor Price คือระดับราคาที่ต่ำลง 30% จากราคาปิดของวันก่อน



ราคาเพดาน (Ceiling Price) : เป็นระดับสูงสุดที่ราคาหุ้นจะขึ้นไปได้ในแต่ละวันทำการ ปัจจุบันนี้ตลาดหลักทรัพย์กำหนดว่าการสูงขึ้นของราคาหุ้นในแต่ละวันจะเกินกว่าร้อยละ 30 ของราคาปิดวันก่อนไม่ได้ เช่น ถ้าหุ้น A มีราคาปิดวันก่อนที่ 100 บาท ราคาเพดานในวันนี้จะเท่ากับ 130 บาท ซึ่งหมายถึงว่าวันนี้การซื้อขายหุ้น A จะกระทำที่ราคาสูงกว่า 130 บาท (ราคาเพดาน) ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดเรื่องราคาเพดานจะไม่บังคับใช้กับการซื้อขายบน Foreign Board และบน Big-Lot Board กรณีที่รายการซื้อขายมีปริมาณเท่ากับหรือเกินกว่า 10% ของทุนจดทะเบียน



ราคาเสนอขาย (Offer) : คือราคาขายต่ำที่สุดของแต่ละหลักทรัพย์ที่มีการเสนอขายเข้ามาในระบบซื้อขาย ซึ่ง ณ ขณะใดขณะหนึ่งอาจจะมีราคาเสนอขายเข้ามาหลายราคา แต่ระบบซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์จะแสดงราคาเสนอขายต่ำที่สุดไว้ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ว่า ผู้เสนอขายที่ราคาต่ำกว่าควรได้สิทธิขายก่อน



ราคาเสนอซื้อและเสนอขาย (Quotation) : คือราคาเสนอซื้อที่สูงที่สุด และราคาเสนอขายที่ต่ำที่สุดในขณะนั้น



ราคาเสนอซื้อสูงสุด (Bid) : เป็นราคาเสนอซื้อสูงสุดของหลักทรัพย์หนึ่ง ณ ขณะใดขณะหนึ่ง ซึ่งเวลานั้นอาจมีราคาเสนอซื้อเข้ามาหลายราคา แต่ระบบซื้อขายที่ตลาดหลักทรัพย์จะแสดงราคาเสนอซื้อที่สูงสุดไว้ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ว่า ผู้เสนอซื้อที่ให้ราคาสุงกว่าควรได้สิทะซื้อก่อนรายอื่น ๆ



วันจองซื้อหุ้น (Subscription Date) : คือวันที่บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์กำหนดให้ผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว ยื่นใบจองซื้อและชำระเงินค่าจองซื้อ



วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น (Book-Closing Date) : วันที่บริษัทสั่งให้นายทะเบียนหลักทรัพย์ปิดรับการโอนหุ้นของบริษัท ทั้งนี้เพื่อที่นายทะเบียนหลักทรัพย์จะได้ตรวจเช็ค และรวบรวมรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ปรากฎอยู่ในทะเบียนหลักทรัพย์ ณ วันดังกล่าว เป็นผู้ได้รับสิทธิต่าง ๆ ที่บริษัทประกาศมอบให้ครั้งล่าสุดนั้น เช่น สิทธิรับเงินปันผล, สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน หรือสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น เป็นต้น เมื่อเปิดรับการโอนหุ้นอีกครั้งหนึ่งหลังจากการปิดพักการโอนหุ้นครั้งนี้ ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นจากการโอนจะไม่ได้รับสิทธิต่าง ๆ ดังกล่าว



วิธีซื้อขายแบบจับคู่อัตโนมัติ (Automatching หรือ Automatic Order Matching) : เป็นวิธีซื้อขายหลักทรัพย์ ที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่นำคำสั่งซื้อ และคำสั่งขายที่ตรงกันมาจับคู่กันให้เกิดการซื้อขาย กระบวนการนี้จะไม่มีการแทรกแซงจากบุคคลผู้ใด จึงทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายทุกคนมั่นใจได้ว่าจะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันและอย่างมีประสิทธิภาพ



สิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่ (Right / Subscription Right) : เป็นสิทธิที่บริษัทจดทะเบียนมอบให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ในการที่จะจองซื้อหุ้นสามัญจากการเพิ่มทุนของบริษัท ผู้ถือหุ้นจะได้สิทธิตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือครองอยู่ และราคาจองซื้อหุ้นใหม่ตามสิทธิจะต่ำกว่าราคาตลาดหรือต่ำกว่าราคาที่เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป ซึ่งโดยปกติจะมีกำหนดเวลาให้ใช้สิทธิไม่เกิน 2 เดือน



หน่วยซื้อขาย (Board Lot) : หน่วยที่ใช้ในการซื้อขายหลักทรัพย์บนกระดานหลัก (Main Board) ปัจจุบันตลาดหลักทรัพย์กำหนดให้ 1 หน่วยซื้อขาย 100 หุ้น ในกรณีที่หลักทรัพย์ใดมีราคาซื้อขายตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไปเป็นระยะเวลาติดต่อกันนานถึง 6 เดือน จะกำหนดให้มีหน่วยการซื้อขายเท่ากับ 50 หุ้น



หน่วยลงทุน (Unit Trust) : คือหลักทรัพย์ที่ออกขายโดยบริษัทจัดการลงทุน เพื่อระดมเงินเข้ากองทุนรวมที่จัดตั้งขึ้น แล้วจัดสรรเงินในกองทุนนั้นลงทุนในตลาดการเงิน ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน



หนังสือชี้ชวน (Prospectus) : เป็นเอกสารที่บริษัทผู้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนทั่วไปต้องจัดทำขึ้น เพื่อเปิดเผยข้อมูลแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับบริษัท และรายละเอียดของการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งนั้น



หลักทรัพย์จดทะเบียน (Listed Security) : คือหลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นสินค้าเพื่อการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์



หลักทรัพย์ในครอบครอง (Portfolio) : คือหลักทรัพย์ทั้งหมดในความครอบครองของผู้ลงทุนรายใดรายหนึ่ง ทั้งนี้จะต้องประกอบด้วยหลักทรัพย์จำนวนตั้งแต่ 2 ชนิด หรือ 2 บริษัทขึ้นไป จุดประสงค์ของการสร้าง Portfolio ก็เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการกระจายลงุนในหลักทรัพย์หลายบริษัทหรือหลายประเภท



หลักประกันของลูกค้า (Margin) : คือจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ลูกค้าวางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการซื้อหุ้น โดยใช้สินเชื่อหรือเพื่อการขายซอร์ตกับบริษัทหลักทรัพย์นั้น ตลาดหลักทรัพย์จะกำหนดอัตราขั้นต่ำที่ลูกค้าต้องวางหลักประกันไว้เรียกว่า Initial Margin Rate เช่น ร้อยละ 50 ของมูลค่าหุ้นที่ซื้อหรือขายซอร์ต เป็นต้น



หุ้นกู้ (Debenture) : คือหลักทรัพย์ที่บริษัทนำออกจำหน่ายเพื่อกู้เงินจากผู้ลงทุน โดยหุ้นกู้จะมีกำหนดเวลาไถ่ถอนคืนที่แน่นอน และผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับดอกเบี้ยตอบแทนเป็นงวด ๆ ตามอัตราที่กำหนดตลอดอายุของหุ้นกู้



หุ้นกู้ด้อยสิทธิ (Subordinated Debenture) : คือหุ้นกู้ประเภทที่ผู้ถือมีสิทธิได้ชำระคืนเงินค่าหุ้นภายหลังหุ้นกู้ชนิดอื่น ในกรณีที่บริษัทผู้ออกหุ้นหุ้นกู้นั้นล้มละลาย



หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture) : เป็นหุ้นกู้ประเภทที่มีระบุให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะแปลงสภาพหุ้นกู้นั้นไปเป็นหุ้นสามัญของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้นั้นได้



หุ้นชั้นดี (Blue Chip) : คือหุ้นสามัญของบริษัทที่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง เป็นบริษัทที่สามารถทำผลกำไรให้เติบโตและจ่ายปันผลได้ต่อเนื่องมายาวนาน อีกทั้งมีชื่อเสียงในด้านคุณภาพของผู้บริหาร, ของสินค้าและของการให้บริการ



หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock/Preferred Share) : คือหลักทรัพย์ประภทที่ผู้ถือมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัทเช่นเดียวกับหุ้นสามัญ แต่จะมีสิทธิพิเศษอื่น เช่น ได้รับเงินปันผลในอัตราที่กำหนดไว้แน่นอน และก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะไม่ได้รับสิทธิลงคะแนนเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น



หุ้นสามัญ (Common Stock/Ordinary Share) : คือหลักทรัพย์ที่บริษัทออกจำหน่ายเพื่อระดมเงินทุนมาดำเนินกิจการ ผู้ถือหุ้นสามัญจะมีสิทธิร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิออกเสียงลงมติในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตลอดจนมีส่วนร่วมตัดสินใจในนโยบายการดำเนินงานและปัญหาสำคัญของบริษัท โดยผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล, กำไรส่วนทุน และสิทธิจองซื้อหุ้นออกใหม่เมื่อบริษัทเพิ่มทุนขยายกิจการ



อัตรามาร์จินที่ต้องดำรงไว้ (Maintenance Margin Rate) : เป็นอัตราที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดไว้เป็นเกณฑ์บังคับว่า มูลค่าหลักประกันของลูกค้า (Margin) ที่วางไว้กับบริษัทหลักทรัพย์เมื่อเทียบกับมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อด้วยเงินกู้ (หรือที่ขายซอร์ต) ไว้จะต้องเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตรา Maintenance Margin Rate ที่เป็นเกณฑ์บังคับนี้



อัตรามาร์จินเริ่มแรก (Initial Margin Rate) : เป็นอัตราการวางเงินหลักประกันก่อนที่ลูกค้าจะซื้อหลักทรัพย์ด้วยเงินกู้หรือขายซอร์ต ในการวางเงินประกันเริ่มแรกนี้ มูลค่าที่ลูกค้านำมาวางเมื่อเทียบกับยอดหลักทรัพย์ที่ซื้อหรือที่ขายซอร์ตแล้วจะต้องไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ Initial Margin Rate ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด เช่น Initial Margin Rate เท่ากับ 40% หากลูกค้าจะซื้อหุ้นมูลค่า 1,000,000 บาท จะต้องวางเงินมาร์จิน 400,000 บาท เป็นหลักประกัน



อัตราส่วนการจ่ายปันผล (Dividend Pay-Out Ratio) : คือส่วนของกำไรสุทธิที่ได้นำมาจ่ายเป็นปันผลแก่ผู้ถือหุ้นโดยคิดเป็นอัตราร้อยละ มีสูตรในการคำนวณดังนี้

อัตราส่วนการจ่ายปันผล = x 100

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘