ควรเก็บเงินฉุกเฉินไว้เท่าไรดี

การสำรองเงินไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉิน ซึ่งก็คงจะต้องแยกเป็น 2 กรณีคือ (1) เหตุฉุกเฉินไม่ปกติ เช่นกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติหรือเหตุการณ์ความรุนแรงเช่นความไม่สงบทางการ เมืองที่เกิดขึ้น หรือภัยสงคราม ซึ่งต้องเป็นเงินก้อนหนึ่งสำหรับใช้สอยจนกว่าสถานการณ์นั้น ๆ คลี่คลายดีขึ้น และ (2) เหตุฉุกเฉินปกติ เช่นการเกิดอุบัติเหตุ การต้องซ่อมบำรุงอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ใหญ่เมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย เช่น การซ่อมรถยนต์หรือชดเชยความเสียหายจากอุบัติเหตุ การซ่อมบ้านที่อยู่อาศัย เป็นต้น
   
เงินฉุกเฉิน ถือเป็นเงินออมส่วนหนึ่งที่เรากันไว้สำหรับการใช้จ่ายกรณีเกิดเหตุการณ์ที่ ไม่คาดคิดขึ้น กรณีเหตุฉุกเฉินที่ไม่ปกติก็คงจำเป็นต้องมีเงินสดจำนวนหนึ่งเพื่อการใช้สอย ซึ่งจะมากน้อยก็คงขึ้นอยู่กับว่าภาวะฉุกเฉินนั้นจะรุนแรงยืดเยื้อนานแค่ไหน ส่วนเงินฉุกเฉินปกตินั้นควรกันเอาไว้ส่วนหนึ่ง เพราะหากกันเอาไว้มากเกินไปก็จะเป็นการเสียโอกาสในการนำเงินนั้นไปลงทุนให้ งอกเงย  ถ้ากันเอาไว้น้อยก็อาจไม่เพียงพอ
   
การเก็บเงินส่วนหนึ่ง เพื่อเป็นเงินฉุกเฉินนั้น จำนวนขั้นต่ำที่ควรเก็บไว้ประมาณ 6 เท่าของรายจ่ายประจำเดือน เช่น หากในเดือน ๆ หนึ่ง มีค่าใช้จ่าย 8,000 บาท ควรกันเงินในส่วนนี้ไว้ไม่ต่ำกว่า 48,000 บาท
   
ส่วนการเก็บรักษา หรือการนำไปลงทุนนั้น ควรเป็นลักษณะที่มีสภาพคล่องสูง เช่น บางส่วนเก็บเป็นเงินสดไว้ และบางส่วนฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ หรืออาจอยู่ในบัญชีออมทรัพย์อย่างเดียวก็ได้ และสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายเมื่อถึงคราวที่จำเป็น
   
นอกจาก นี้แล้ว อีกวิธีหนึ่งที่สามารถสร้างหลักประกันสำหรับความต้องการใช้เงินในยามฉุกเฉิน ก็ได้คือ การประกันชีวิตหรือการประกันสุขภาพ ซึ่งจะช่วยคุ้มครองความเสี่ยงหรือกรณีที่เราเกิดการเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน ไม่จำเป็นต้องนำเงินที่เราออมไว้มาใช้รวมทั้งการทำประกันรถยนต์สำหรับผู้มี รถยนต์ส่วนตัวด้วย เพราะเราก็ไม่รู้ว่าอุบัติเหตุจะเกิดขึ้นกับเราเมื่อไร ถึงแม้ว่าเราจะระมัดระวังเต็มที่และพยายามขับรถให้ปลอดภัยที่สุดแล้วบาง ครั้งยังถูกรถคันอื่นมาเฉี่ยวชนอีก เรื่องนี้จึงไม่ควรมองข้ามเช่นเดียวกัน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘