บทที่ 5 : เบื้องหลังกองทุนรวม

ตามที่ได้เคยเกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ว่า ธุรกิจแบบนี้เขามีทางการที่คอยดูแลวางระบบ เพื่อความเป็นธรรมกับทุก ๆ ฝ่ายนั้น คุณแผนรู้หรือไม่ว่าทางการที่เขาทำหน้าที่ดูแลธุรกิจนี้มีความสำคัญ และเกี่ยวพันอย่างไรกับบริษัทจัดการ หรือตัวผู้ลงทุน ถึงแม้หน้าที่ที่เขาทำอาจดูไกลจากตัวคุณแผน แต่คุณแผนก็ควรทำความเข้าใจให้ครบวงจรว่า อีกด้านหนึ่งของการทำธุรกิจนี้ก่อน และหลังจากที่มาถึงตัวผู้ลงทุนนั้น ใครหรือกระบวนการอะไรได้เกิดขึ้นบ้าง
            ธุรกิจนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.. 2518 เมื่อมีการจัดตั้งบริษัทขึ้น เพื่อจัดการกองทุนรวมแห่งแรก โดยใช้ชื่อว่า บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด ซึ่งเมื่อแรกจัดตั้งนั้นมุ่งที่จะให้เกิดธุรกิจในลักษณะนี้  และสนับสนุนพัฒนาการของของตลาดหลักทรัพย์ด้วย ต่อจากนั้นปริมาณธุรกิจและจำนวนบริษัทที่ทำธุรกิจประเภทการจัดการกองทุนรวม นี้เพิ่มจำนวนขึ้นเป็นลำดับ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีผู้กำกับดูแลให้เกิดความเรียบร้อย ซึ่งในเวลาต่อมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือสำนักงาน ก... ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบ ต่อภารกิจดังกล่าว




ภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ลงทุน


            ภูมิคุ้มกันที่ใช้สำหรับธุรกิจนี้ มีลักษณะเป็นขั้น ๆ เหมือน หอมหัวใหญ่เพื่อให้การกำกับดูแลการจัดการกองทุนรวมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม (พลิกดูโครงสร้างของกลไกได้ในหัวข้อ ทำไมคุณแผนถึงสนใจกองทุนรวม”) ขั้นของกลไกดังกล่าว ได้แก่

            ขั้นที่ 1  (ชั้นในสุด) กำหนดให้บริษัทจัดการต้องมีหน่วยงาน เพื่อควบคุมการทำงานภายในองค์กรเรียกว่า  หน่วยงานดูแลการปฏิบัติงาน  (compliance unit) ดูแลให้การดำเนินงานของบริษัทจัดการ เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้บริษัทจัดการยังต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพที่สมาคมบริษัทจัดการกำหนดอีกด้วย

            ขั้นที่ 2  บริษัทจัดการต้องจัดให้มี  ผู้ดูแลผลประโยชน์   ของแต่ละโครงการกองทุนรวม อาจเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่มีคุณสมบัติในการเป็นผู้ดูแลตามที่ทางการกำหนด โดยเป็นผู้ทำหน้าที่สอดส่องการทำงานของบริษัทจัดการอีกชั้นหนึ่ง เป็นเสมือนผู้แทนของผู้ถือหน่วย ทางการมีข้อกำหนดว่าระหว่างสองฝ่ายนี้ ต้องไม่มีผลประโยชน์ระหว่างกัน เช่น ไม่ใช้บริษัทผู้ดูแลนั้นมีหุ้นอยู่ในบริษัทจัดการทั้งทางตรงและทางอ้อม หรือไม่ให้มีความเกี่ยวข้องกันในทางอื่น ๆ เช่น ต้องไม่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกรรมการเป็นบุคคลคนเดียวกัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ดูแลสามารถทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยได้อย่างเต็มที่

            ผู้ดูแลจะคอยติดตามตรวจสอบการบริหารกองทุนรวมของบริษัทจัดการ ซึ่ง ณ เวลาที่คุณแผนศึกษาหนังสือชี้ชวนของกองทุนรวมโครงการใด ๆ ก็จะได้ทราบถึงชื่อของบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลสำหรับโครงการนั้น ดังนั้นหากได้ตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมนั้น แล้วก็หมายความว่า คุณแผนยอมรับองค์ประกอบของโครงการ ซึ่งหมายรวมถึงตัวผู้ดูแลที่แต่งตั้งไว้ด้วย

            นอกจากนี้ผู้ดูแลจะทำหน้าที่รับฝากทรัพย์สินของกองทุนรวมไว้ โดยแยกเด็ดขาดจากทรัพย์สินของบริษัทจัดการ หรือทรัพย์สินของคนอื่นที่ผู้ดูแลรับฝากไว้ ทำรายงานต่าง ๆ เสนอต่อสำนักงาน ก... รวมทั้งรายงานการกระทำผิดของบริษัทจัดการให้แก่สำนักงาน ก... ทราบ ผู้ดูแลผลประโยชน์เป็นด่านแรก ที่กรองความถูกต้องในการดำเนินงานของบริษัทจัดการ หากคุณแผนมีความสงสัย หรือพบว่าบริษัทจัดการไม่ได้บริหารกองทุนรวมตามที่ชี้แจงไว้ ในหนังสือชี้ชวนของโครงการ ก็สามารถสอบถามหรือร้องเรียนไปยังผู้ดูแลได้เลย ยิ่งไปกว่านั้นผู้ดูแลยังสามารถทำหน้าที่แทนผู้ถือหน่วยในการฟ้องร้องต่อบริษัทจัดการได้ด้วย หากเห็นว่าบริษัทจัดการสร้างความเสียหายให้แก่กองทุนรวมที่บริหารอยู่ (ใครเป็นผู้ดูแลบ้าง ดูรายชื่อได้ที่ภาคผนวก)

            ขั้นที่ 3  บริษัทจัดการทั้งหลายได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมบริษัทจัดการลงทุนขึ้น  เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างกัน ในการให้ความคุ้มครองผู้ลงทุน และยังเป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยเสริมและสื่อสารความต้องการ หรือแนวทางในการกำกับดูแลจากทางการ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้อย่างดี สมาคมบริษัทจัดการ เป็นผู้กำหนดกรอบจรรยาบรรณ และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพให้สมาชิกปฏิบัติ ทั้งนี้ แนวปฏิบัติดังกล่าวเป็นกรอบสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ลงทุนได้รับบริการที่เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพ

            ขั้นที่ 4  สำนักงาน ก...  ทางการของคุณแผนจะเป็นผู้กำกับดูแลให้กลไกทั้ง 3 ขั้นดำเนินไปอย่างเรียบร้อย โดยการออกและบังคับให้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความมั่นคง และเป็นธรรมในระบบการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ในท้ายที่สุดแล้ว ก็เพื่อให้ความคุ้มครองแก่ผู้ลงทุนอย่างคุณแผนนั่นเอง



... ดูแลอะไรให้คุณแผน…?


            ถ้าจะตอบคำถามในใจคุณแผนที่ว่า สำนักงาน ก... ดูแลผู้ลงทุนอย่างไร? ก็คงบอกได้ว่าทางการทำหน้าที่เป็นตระแกรงกรองความเหมาะสม สำหรับทั้งผู้ที่จะเข้ามาประกอบอาชีพในธุรกิจนี้ รวมทั้งตัวสินค้าที่นำมาขายให้กับคุณแผน วางระบบ การตามไปดูอย่างต่อเนื่อง และไม่ลืมที่จะกำหนดโทษ และทำโทษผู้ที่ทำผิดกติกาทั้งหลายด้วย

ขั้นที่ 1 กลั่นกรอง

          1.1  ผู้ที่อยู่ในอาชีพ ธุรกิจการจัดการกองทุนรวม

                   .  กรองบริษัทจัดการ

                        กว่าจะมาเป็นบริษัทจัดการได้ต้องฝ่าด่านการกรองคุณสมบัติกันแบบเข้มเสียก่อน โดยสำนักงาน ก... จะเป็นผู้พิจารณาคำขออนุญาตประกอบธุรกิจการจัดการกองทุนรวม หรือพูดง่าย ๆ คือ ดูสถาบันการเงินที่ต้องการจัดตั้งบริษัทจัดการว่าเขาเหล่านั้นมีคุณสมบัติที่สามารถจะทำธุรกิจนี้ได้หรือไม่ สถาบันการเงินพวกนี้อาจเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทประกันชีวิต โหงวเฮ้งของบริษัทที่ทางการเข้าไปกรองดู ได้แก่ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาเป็นอย่างไร? คณะผู้บริหารบริษัทเป็นใคร? ประวัติการกระทำความผิดมีหรือไม่ ทุนจดทะเบียนหรือขนาดของสินทรัพย์เพียงพอไหม?  เป็นต้น

                   .  กรองผู้จัดการกองทุนรวม

                        ได้เคยกล่าวถึงผู้จัดการกองทุนรวมไปบ้างแล้วในหัวข้อ พิจารณาบริษัทที่บริหารกองทุนรวม ซึ่งนอกจากด่านกรองคุณสมบัติ ด้วยระบบการให้ความเห็นชอบการเป็นผู้จัดการกองทุนรวม ที่ทางการได้ตั้งเกณฑ์เอาไว้แล้ว ยังมีระบบกำกับดูแลอย่างต่อเนื่องหลังจากที่ได้เป็นผู้จัดการกองทุนรวมแล้ว เพื่อให้เขาเหล่านั้นรักษาคุณภาพการประกอบอาชีพให้ได้มาตรฐานอยู่เสมอ รวมทั้งมีการกำหนดบทลงโทษ หากมีการกระทำความผิดไว้ด้วยไม่ว่าจะเป็นการตักเตือน การพักหรือเพิกถอนการให้ความเห็นชอบ การเป็นผู้จัดการกองทุนรวม

                   .  กรองตัวแทนขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ตัวแทนฯ)

                        ทางการเข้าไปดูคุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพนี้ เพราะเขาเป็นผู้ให้บริการในด้านการซื้อ-ขายหน่วยลงทุนที่ติดต่อกับคุณแผนโดยตรง ไม่ว่าเขาจะมีสถานภาพเป็นพนักงานของบริษัทจัดการเจ้าของโครงการเอง หรือเป็นพนักงานของบริษัทที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนสนับสนุนของโครงการกองทุนรวมก็ตาม ต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก... ไม่มียกเว้น
                        เพื่อให้ได้รับความเห็นชอบจากทางการ ตัวแทนฯ จะต้องสอบผ่านคุณสมบัติในเรื่องความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่จะขาย ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพ และการให้คำแนะนำที่ดีและเหมาะสมต่อลูกค้า รวมทั้งการให้บริการบนพื้นฐานของการทำความรู้จักกับลูกค้าเป็นราย ๆ ไป เป็นต้น เขาเหล่านั้นต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบ ที่พึงมีต่อผู้ลงทุนทุกคน และทางการได้กำหนดโทษต่อความผิดต่าง ๆ ไว้เช่นกัน โดยเริ่มจากโทษเบา คือ ตักเตือนไปจนถึงเพิกถอนการให้ความเห็นชอบในการเป็นตัวแทนฯ

                   .  กรองผู้ดูแลผลประโยชน์

                        หูตาสำคัญที่สอดส่องการทำงานของบริษัทจัดการให้กับทางการและคุณแผนย่อมต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมด้วย ทางการจึงไม่ลืมที่จะกำหนดเกณฑ์การเป็นผู้ดูแลไว้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฐานะ ระดับเงินทุนของบริษัท ประวัติการดำเนินงานที่ผ่านมาและระบบการควบคุมภายในของบริษัทผู้ดูแลเอง เป็นต้น

          1.2  สินค้าที่ขายให้กับคุณแผน

            โครงการกองทุนรวม ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายให้กับคุณแผนนั้นจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อบริษัทจัดการยื่นขอจัดตั้งและจัดการโครงการ มาที่สำนักงาน ก... ซึ่งทำหน้าที่พิจารณาอนุมัติ ทางการจะให้บริษัทจัดการยื่นรายละเอียดโครงการ บอกถึงนโยบายการลงทุน วิธีการจำหน่ายหน่วยลงทุน ค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และกำหนดให้บริษัทจัดการทำหนังสือชี้ชวน บรรจุข้อมูลของโครงการและข้อมูลสำคัญ ๆ อื่น ๆ สำหรับนำไปเผยแพร่ให้กับผู้สนใจจะซื้อสินค้า จะได้นำไปศึกษาประกอบการตัดสินใจลงทุนได้ การกรองในชั้นนี้เน้นการให้ข้อมูลที่ครบถ้วน ชัดเจนเพื่อสร้างความโปร่งใส เพราะข้อมูลพวกนี้มีผลสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อของผู้ลงทุน

            คุณแผนต้องเข้าใจว่า การวางกลไกกลั่นกรองการเปิดเผยข้อมูลของทางการไม่ได้แปลว่า ทางการได้รับรองความถูกต้องของข้อมูลที่เปิดเผยนั้น และไม่ได้รับประกันว่าโครงการกองทุนรวมที่มาขออนุญาตเหล่านั้น จะให้ผลตอบแทนที่ดีมาก น้อยเท่าไหร่ คุณแผนต้องใช้ ดุลยพินิจอย่างรอบคอบตามแนวทางที่คุยกันมาแล้วตั้งแต่ต้นเพื่อตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่

            นอกจากจะสร้างระบบเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตัวสินค้าก่อนที่จะมาถึงมือคุณแผนแล้ว ทางการยังได้วางชั้นกรองเพื่อความปลอดภัยที่สำคัญอีก 1 ชั้น นั่นคือ กำหนดให้บริษัทจัดการนำหน่วยลงทุนที่ออกขาย (ครั้งแรก) เสร็จสิ้นแล้ว มายื่นขอจดทะเบียนกองเงินดังกล่าวให้เป็น กองทุนรวมต่อสำนักงาน ก... อีกทีหนึ่ง ซึ่งมีผลให้กองทุนรวมมีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย (พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.. 2535)


            สถานะที่เป็นนิติบุคคลนี้ทำให้กองทุนรวมสามารถทำนิติกรรม หรือมีข้อผูกพันต่าง ๆ ได้เป็นเอกเทศ ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทจัดการที่บริหารกองทุนรวมอยู่และถ้าบริษัทจัดการเกิดมีปัญหาทางการเงินล้มละลายไป ก็จะไม่เกี่ยวข้องกับฐานะของกองทุนรวมที่บริหารอยู่เลย ที่กำหนดไว้อย่างนี้ ก็เพื่อปกป้องผู้เป็นเจ้าของเงิน หรือผู้ถือหน่วยทั้งหลายจะได้ไม่ต้องกังวลว่า หากบริษัทจัดการมีอันเป็นไปแล้ว เงินที่อยู่ในกองทุนรวมนั้นจะสูญไปด้วย เพราะกองทรัพย์สินของโครงการกองทุนรวมดังกล่าวจะถูกกันออกมา และแยกเด็ดขาด ให้อยู่ภายใต้การดูแลของผู้ดูแล ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัทจัดการเลย

ขั้นที่ 2

ความคิดการดำเนินธุรกิจของ ก-

            เมื่อกลั่นกรองและอนุญาตไปแล้ว ทางการยังจะต้องติดตามการประกอบอาชีพของผู้ประกอบธุรกิจในข้อ ก.ไก่ ถึง ง.งู อย่างต่อเนื่อง เช่น กำหนดว่าจะต้องมีการปัดฝุ่นความรู้ของผู้จัดการกองทุนรวมทั้งหลาย และทำให้ทันสมัยเป็นระยะ ๆ ด้วยการเข้าอบรมในโปรแกรมต่าง ๆ ตลอดจนติดตามดูแลการบริหารกองทุนรวมของบริษัทจัดการ ผ่านทางผู้ดูแลของโครงการอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

ขั้นที่ 3

ตรวจสอบการทำธุรกิจของบริษัทจัดการ

            การตรวจสอบที่ว่านี้ โดยหลักแล้วก็เพื่อดูว่า บริษัทจัดการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ และบริหารกองทุนรวมตามแนวทางที่ทางการอนุมัติไปหรือเปล่า ลงมาดูกันว่างานตรวจสอบนั้นเขาทำอะไรกันบ้าง

            ปกติแล้ว ผู้ตรวจสอบของสำนักงาน ก... จะเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานของบริษัทจัดการ และผู้จัดการกองทุนรวมอย่างสม่ำเสมอ ทีมผู้ตรวจสอบจะดูว่าการจัดการลงทุนนั้น เป็นไปตามนโยบายที่วางไว้หรือไม่ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อะไรเกิดขึ้นหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งการเข้าตรวจสอบแบบที่ว่านี้ ทำให้บริษัทจัดการจำเป็นต้องดูแลให้การดำเนินงานของตนถูกต้องอยู่ตลอดเวลา

            การเข้าตรวจสอบในลักษณะนี้ยังรวมถึง การเข้าตรวจสอบผู้ดูแลของโครงการกองทุนรวม ซึ่งเป็นผู้รับฝากทรัพย์สินของโครงการด้วย ดูว่าผู้ดูแลปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายหรือไม่ อย่างไร

            นอกจากนี้ หากมีการร้องเรียนจากผู้ถือหน่วยหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ลงทุนแจ้งเบาะแสโดยมีมูลเหตสงสัยว่าอาจมีพฤติกรรมที่ไม่สุจริตเกิดขึ้น สำนักงาน ก... จะจัดให้มีการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ
                ณ ตรงนี้อยากจะย้ำไว้ก่อนเลยว่าสำนักงาน ก... พร้อมและยินดีที่จะรับเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแสความไม่ชอบมาพากลต่าง ๆ เพราะเรามีหน้าที่อยู่แล้วที่จะเข้าตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างละเอียด และชี้แจงให้ผู้ถือหน่วยเข้าใจ ทั้งนี้หากพบว่า บริษัทจัดการนั้น ๆ ไม่ทำตามกติกาและวินิจฉัยแล้วว่ามีความผิดเกิดขึ้นจริงก็จะดำเนินการตามกฎหมาย โดยมีบทลงโทษทั้งปรับเป็นเงิน และจำคุก รวมทั้งบทลงโทษต่อความผิดของผู้จัดการกองทุนรวมด้วย

            ติดต่อมาคุยปัญหาคาใจ หรือแจ้งเรื่องร้องเรียนต่าง ๆ กับทางสำนักงาน ก... ได้โดยตรงกับฝ่ายกำกับธุรกิจจัดการลงทุน  โทร. 252-3223 ต่อ 2714 หรือ 2754


คุยกันหน่อย….เรื่องภาษี


            อย่าเพิ่งผวาเมื่อได้ยินคำว่าภาษี เพราะภาระภาษีจะมีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณแผนเป็นผุ้ลงทุนประเภทไหนและประเภทของผลตอบแทนที่ได้รับมานั้นเป็นแบบใด ลองดูจากตารางต่อไปนี้ว่าจะเข้าข่ายอยู่ในช่องไหน

ภาษีจำแนกตามประเภทผู้ถือหน่วย

ประเภทผู้ถือหน่วย
เงินส่วนแบ่งกำไร
(เงินปันผล)
เงินได้จากการขาย
หน่วยลงทุน
บุคคลธรรมดา
ผู้จ่าย  คือบริษัทจัดการโดยปกติแล้วไม่มีหน้าที่หักภาษี แต่หากคุณแผน (ผู้มีเงินได้) ยอมให้ผู้จ่ายหักภาษีไปเลยทันที 10% ก็ไม่ต้องนำเงินได้ก้อนนี้มารวมคำนวณ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกเมื่อสิ้นปี
ได้รับการยกเว้นภาษี
นิติบุคคล
1.  บริษัทจดทะเบียน

2.  บริษัทจำกัด

ได้รับการยกเว้นภาษี *

นำเงินปันผลมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้ *

รวมคำนวณภาษี
เงินได้นิติบุคคล
รวมคำนวณภาษี
เงินได้นิติบุคคล
            * กรณีถือหน่วยลงทุนไว้ 3 เดือนก่อนและหลังได้รับเงินปันผล



นโยบายการลงทุนแบบลึก ๆ


            ก่อนหน้านี้ เราได้อธิบายประเภทของกองทุนรวมตามนโยบายการลงทุน โดยแบ่งออกเป็น 3 แบบหลัก ๆ คือกองทุนรวมตราสารทุน กองทุนรวมตราสารหนี้ และกองทุนรวมแบบผสม ซึ่งรายละเอียดของการลงทุนนั้นยังสามารถแยกย่อยนโยบายการลงทุนเป็นประเภท โครงการได้ตามตารางด้านล่างนี้

ประเภทของกองทุนรวมแบ่งตามประเภทตราสารการเงินที่นำเงินไปลงทุน

ประเภทกองทุน
ขอบเขตการลงทุน
รายละเอียดเฉพาะ
1.  กองทุนรวมตราสารทุน
ตราสารทุนพวกหุ้นประเภทต่าง ๆ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ เป็นต้น
ไม่น้อยกว่า 65% ของเอ็นเอวี ในรอบปีบัญชี
2.  กองทุนรวมตราสารหนี้


2.1  กองทุนรวม
       ตราสารหนี้ระยะยาว
ตราสารหนี้ เงินฝาก หลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ๆ
พอร์ตโฟลิโอดูเรชั่น มากกว่า 1 ปี
2.2  กองทุนรวม
       ตราสารหนี้ระยะสั้น
ตราสารหนี้ เงินฝาก หลักทรัพย์ และทรัพย์สินอื่น ๆ
พอร์ตโฟลิโอดูเรชั่น ไม่เกิน 1 ปี
3.  กองทุนรวมแบบผสม


3.1  กองทุนรวมแบบผสม
หลักทรัพย์ทั้งตราสารหนี้ และตราสารทุน ทรัพย์สินอื่น ๆ
มีอัตราส่วนการลงทุนหรือมีตราสารทุนไว้ไม่เกิน 65% และไม่น้อยกว่า 35% ของเอ็นเอวี
3.2  กองทุนรวมผสม
       แบบยืดหยุ่น
หลักทรัพย์ทั้งตราสารหนี้ และตราสารทุน ทรัพย์สินอื่น ๆ
การลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินใด ๆ ขึ้นอยู่ที่การตัดสินใจลงทุนของผู้จัดการกองทุน ตามภาวะการณ์ขณะนั้น
            หมายเหตุ : กองทุนรวมในประเภทที่ 2-3 สามารถลงทุนหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น ๆ ที่สำนักงาน ก... กำหนด หรือให้ความเห็นชอบให้ลงทุนได้ด้วย

          * พอร์ตโฟลิโอ ดูเรชั่น (portfolio duration) คือ อายุถัวเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของกระแสเงินสดที่ได้รับ จากทรัพย์สินของกองทุนรวม ซึ่งคำนวณตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สมาคมบริษัทจัดการกำหนด

            รายละเอียดของตราสารทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งนำเงินที่ระดมได้ไปลงทุนนี้ก่อให้เกิดความแตกต่างในเรื่องของความเสี่ยงของกองทุนรวมนั้น ๆ ตารางต่อไปนี้ จะแสดงลักษณะเฉพาะของนโยบายการลงทุนอื่น ๆ ที่ชอบย่อยประเภทของกองทุนรวมออกไปอีก

ประเภทของกองทุนรวมแบ่งตามนโยบายการลงทุนในตราสารการเงินอื่น

ประเภทกองทุน
ขอบเขตการลงทุน
รายละเอียดเฉพาะ
1. กองทุนรวมตลาดเงิน
ตราสารหนี้ เงินฝาก หลักทรัพย์ และทรัพย์สินอื่น ๆ
กำหนดไถ่ถอนเมื่อทวงถามหรือไม่เกิน 1 ปีนับจากวันถัดจากวันที่ลงทุน
2. กองทุนรวมหน่วยลงทุน
หน่วยลงทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่าง ๆ
ลงทุนหรือมีตราสารดังกล่าวไม่น้อยกว่า 65% ของเอ็นเอวี ในรอบปีบัญชี
3.   กองทุนรวมใบสำคัญ
     แสดงสิทธิ
ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น หุ้นกู้ หน่วยลงทุนและหุ้นเพิ่มทุน
ลงทุนในตราสารดังกล่าวไม่น้อยกว่า 65% ของเอ็นเอวี ในรอบปีบัญชี
4. กองทุนรวมกลุ่มธุรกิจ
ตราสารทุน ของบริษัทที่มีธุรกิจหลักประเภทเดียวกัน
ลงทุนในตราสารดังกล่าวไม่น้อยกว่า 65% ของเอ็นเอวี ในรอบปีบัญชี
5.   กองทุนรวม
     Specific Fund
หลักทรัพย์ และตราสารทางการเงินต่าง ๆ
ลงทุนโดยมีอัตราส่วนตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน ก...
หมายเหตุ : กองทุนรวมประเภทที่ 1 2 3 และ 5 นั้นสามารถลงทุนหรือหาดอกผลโดยวิธีอื่น ๆ ที่สำนักงาน ก... กำหนด หรือให้ความเห็นชอบได้ลงทุนได้ด้วย

            ลักษณะนโยบายการลงทุนของกองทุนรวมที่แจกแจงมานี้ เน้นนำเงินไปลงทุนในตราสารทางการเงิน แต่คุณแผนอาจเคยได้ยินกองทุนรวมที่นำเงินซึ่งระดมได้ไปซื้อหรือลงทุนในทรัพย์สินอื่น ๆ ที่ได้ยินกันบ่อย ๆ คือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือแบบที่ออกโครงการเพื่อขายให้กับประชาชนทั่วไป แบบที่ขายเฉพาะเจาะจงให้กับผู้ลงทุนที่เป็นสถาบัน และโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาของสถาบันการเงิน

            คุณแผนสามารถลงทุนในกองทุนรวมแบบที่ว่านี้ได้ ต่อเมื่อมีการนำโครงการแบบแรกออกขาย ทั้งนี้โดยทั่วไปแล้วกองทุนรวมแบบนี้มีลักษณะไม่ต่างจากกองทุนรวมที่ลงทุนในตราสารทางการเงิน เพียงแต่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะนำเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาคารพาณิชย์ ที่ดิน เป็นต้น โดยบริษัทจัดการเจ้าของโครงการกองทุนรวมดังกล่าว จะมีพนักงานที่เชี่ยวชาญทำหน้าที่บริหารอสังหาริมทรัพย์ที่นำเงินไปลงทุนไว้โดยเฉพาะ ผลการดำเนินงานของกองทุนรวมแบบนี้จะมีดอกผล ในรูปของค่าเช่าหรือค่าขายอสังหาฯ เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดสภาพคล่องทางการเงิน กฎหมายยังได้เปิดทางให้สามารถนำเงินบางส่วนไปลงทุนในตราสารทางการเงินอื่น ๆ ได้ด้วย

            นักลงทุนประเภทสถาบันโดยทั่วไปหมายถึง  ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทประกันภัย เป็นต้น

            พัฒนาการของกองทุนรวมในด้านประเภทหรือลักษณะนโยบายเหล่านี้ยังคงมีต่อไปเรื่อย ๆ แน่ใจได้เลยว่าในอนาคตคงจะมีกองทุนอีกมากมายหลายประเภทให้ได้เลือกลงทุน และศึกษากันต่อไปอีก



เสี่ยง….นะจ๊ะ..!


            ถ้าจะย้ำอีกที่ว่า อย่ามองข้ามความเสี่ยง อาจสงสัยต่อไปอีกว่า ที่ว่าเสี่ยงนี้ คือ เสี่ยงอย่างไร เอาเป็นว่าเมื่อมาถึงเบื้องลึกของการลงทุนแล้ว เรามาทำความรู้จักกับความเสี่ยงให้มากขึ้นดีกว่า เพราะกองทุนรวมได้เอาเงินของคุณ ๆ ไปลงทุนในตราสารทางการเงินในตลาดทุน ซึ่งมีความเสี่ยงเหล่านั้นอยู่ด้วย ตัวอย่างความเสี่ยงที่ว่า ได้แก่


            ความเสี่ยงเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ ในด้านฐานะของผู้ออกตราสาร (credit risk) อาจเกิดขึ้นเพราะผู้ออกตราสารทางการเงินไม่สามารถทำตามเงื่อนไขหรือข้อผูกพันที่มีอยู่ เช่น บริษัทผู้ออกหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้บางเจ้าอาจไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับผู้ลงทุน (ซึ่งมีฐานะเป็นเจ้าหนี้) ได้ในขณะที่พันธบัตรซึ่งออกโดยภาครัฐจะมีความเสี่ยงในลักษณะนี้ต่ำกว่า เนื่องจากมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย และชำระเงินต้นค้นได้ดีกว่า สิ่งเหล่านี้ย่อมมีผลต่อกองทุนรวมที่นำเงินไปลงทุนไว้ในตราสารดังกล่าว

            ความเสี่ยงจากตลาด  (market risk) หรือ ที่เรียกว่าเป็นความเสี่ยงจากระบบ เมื่อราคาหรือผลตอบแทนของตราสารทางการเงินที่อยู่ในตลาด มีการปรับตัวผันผวน อันเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่มากระทบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาวะเศรษฐกิจในระดับมหภาค ความผันผวนของค่าเงิน อัตราดอกเบี้ย กระแสทางการเมือง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น สงคราม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น เหล่านี้เป็นลักษณะความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความไม่แน่นอนของผลตอบแทนจากการ ลงทุน แต่การลงทุนที่กระจายอยู่ในหลักทรัพย์หลาย ๆ ตัวสามารถช่วยบรรเทาไม่ให้ความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยเหล่านี้ มีผลอย่างรุนแรงต่อการลงทุนของคุณ เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงของปัจจัยอย่างหนึ่ง อาจสร้างผลกระทบต่อตราสารทางการเงินแต่ละประเภทได้แตกต่างกันไป

            ความเสี่ยงจากสภาพคล่อง   (liquidity risk) คือการที่ผู้ถือตราสารทางการเงินไม่สามารถแปรสภาพหลักทรัพย์ที่ถืออยู่ ให้กลายเป็นตัวเงินได้ในทันทีหรือไม่สามารถดำเนินการเพื่อหักกลบรายการการถือครองได้เมื่อต้องการ

            ดังที่กล่าวมาแล้วว่า แต่ละตัวสินค้าที่เป็นตราสารทางการเงินที่บริษัทจัดการนำเงินไปลงทุนนั้น จะมีความเสี่ยงในระดับแตกต่างกันไป ซึ่งอาจสรุปภาพของความเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนของกองทุนรวมแต่ละประเภทได้คร่าว ๆ ตามแผนภูมิต่อไปนี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘