บทที่ 4 : ไปเป็นผู้ลงทุน

คุณแผนไปซื้อ   หน่วยลงทุน


            เมื่อตัดสินใจแน่แล้วว่าจะลงทุนใน กองทุนรวมโครงการใด เราลองมาดูซิว่าถ้าจะซื้อกองทุนรวมนั้นจริง ๆ จะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง แต่ก่อนอื่นต้องเริ่มจากการทำความรู้จักกับกองทุนรวมในแง่ของตัวสินค้าว่ามีลักษณะอย่างไร?  ……โดยตอบคำถามว่าคุณแผนกำลังจะไปซื้ออะไรเสียก่อน
            คำตอบก็คือ การลงทุนในกองทุนรวมจะเริ่มจากการไปหาซื้อ หน่วยลงทุนอธิบายอย่างง่าย คือ โครงการกองทุนรวมที่ถูกกำหนดขนาดไว้ (มูลค่ารวมทั้งหมด) จะถูกซอยย่อยออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ด้วยมูลค่าเท่า ๆ กัน เรียกว่า หน่วยลงทุน เช่น โครงการกองทุนรวมงอกเงย เสนอขายหน่วยลงทุนจำนวน 5,000,000 หน่วย มูลค่า 50,000,000 บาท มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 10 บาท หมายความว่าเขาบอกขายหน่วยลงทุนหน่วยละ 10 บาท นั่นเอง ที่นี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณแผนมีเงินอยู่เท่าไหร่? จะซื้อมากน้อยแค่ไหน? (อย่าลืมบวกค่าธรรมเนียมเข้าไปด้วยถ้ามี)
            เมื่อไปซื้อหน่วยลงทุน ถ้าเป็นกองทุนปิด ผู้ขายจะออก ใบหน่วยลงทุนให้ไว้เป็นหลักฐาน เอาไว้ใช้เป็นเอกสารสำหรับการโอน หากต้องการขายเปลี่ยนมือในภายหลัง แต่ถ้าเป็นกองทุนแบบเปิด หลักฐานที่จะได้รับก็คือ หนังสือรับรองสิทธิในหน่วยลงทุนหรือ สมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนซึ่งคล้าย ๆ กับสมุดบัญชีเงินฝากที่สามารถนำไปปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบันเพื่อดูตัวเลขที่เปลี่ยนแปลง ในบัญชีได้เมื่อต้องการ


          *  การซื้อหน่วยลงทุนไม่ได้มีการรับประกันโดยธนาคารพาณิชย์ 
            แม้ว่ากองทุนรวมจะมีธนาคารพาณิชย์เป็นตัวแทน สนับสนุนการจำหน่ายหน่วยลงทุน หรือจัดตั้งโดยบริษัทในเครือของธนาคารพาณิชย์ แต่อย่าลืมว่าการลงทุนซื้อหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ จึงไม่ได้หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์จะเข้ามารับประกันเงินต้นหรือผลตอบแทนในการลงทุนของกองทุนรวมนั้น ๆ ก่อน ตัดสินใจลงทุนจึงควรอ่านคำเตือนในหนังสือชี้ชวนก่อน


ซื้อได้ที่ไหน?

            คุณแผนไปติดต่อซื้อหน่วยลงทุนกับตัวแทนขาย หน่วยลงทุนของกองทุนรวม (ตัวแทน) ได้ที่บริษัทจัดการเจ้าของโครงการกองทุนรวมนั้น ๆ หรือบริษัทซึ่งเป็นตัวแทนสนับสนุน ที่บริษัทจัดการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ในการซื้อ-ขายหน่วยลงทุนของโครงการกองทุนรวมก็ได้ แต่คุณแผนต้องระวังว่าบุคคลซึ่งเป็นตัวแทนฯ ที่ติดต่ออยู่นั้นเป็นตัวจริง ไม่ใช่บุคคลแอบอ้าง คุณแผนสามารถเช็ครายชื่อของบริษัทที่เป็นตัวแทนสนับสนุนเหล่านี้ได้ในหนังสือชี้ชวน




เมื่อคุณแผนคือ  ผู้ถือหน่วยลงทุน


            เมื่อมีฐานะเป็น ผู้ถือหน่วยลงทุน” (จากนี้จะขอเรียกสั้น ๆ ว่า ผู้ถือหน่วย”) แต่ละหน่วยลงทุนที่ถือไว้ จะเป็นเหมือนตัวแสดงสัดส่วนความเป็นเจ้าของในกองทรัพย์สิน ของโครงการกองทุนรวมนั้น มีสถานะคล้าย ๆ กับการที่คุณแผนถือหุ้นอยู่ในบริษัทสักแห่งหนึ่ง แต่สิทธิในที่นี้เป็นสิทธิในฐานะผู้ถือหน่วย สามารถออกเสียงเพื่อลงมติเกี่ยวกับการดำเนินการใด ๆ ของโครงการกองทุนรวม ที่อาจมีผลกระทบต่อคุณแผนและผู้ถือหน่วยอื่น ๆ ได้ ไม่ใช่เฉพาะกรณีแก้ไขโครงการจากปิดเป็นเปิดเท่านั้น กล่าวคือบริษัทจัดการมีหน้าที่ต้องขอมติจากคุณแผนในเรื่องสำคัญอื่น ๆ ด้วย เช่น การแก้ไขโครงการในเรื่องประเภทของกองทุน นโยบายการลงทุน หรือนโยบายการจ่ายเงินปันผล เป็นต้น โดยบริษัทจัดการจะใช้วิธีส่งหนังสือไปขอมติ มากกว่าที่จะเรียกผู้ถือหน่วยทั้งหมดมาประชุม เพื่อความสะดวกและประหยัดรายจ่ายของกองทุนรวม


การบ้านต่อเนื่อง คือ ติดตามความเคลื่อนไหวของกองทุนรวม

            ในฐานะของผู้ถือหน่วย คุณแผนต้องรับผิดชอบตัวเองด้วยการติดตามดูความเคลื่อนไหว เกี่ยวกับผลการดำเนินงานของกองทุนรวม ว่าเงินลงทุนของคุณแผนได้แตกดอกออกยอด หรือหดหายไปอย่างไรบ้าง เพียงแต่ดูง่าย ๆ ว่ากองทุนรวมนั้นบริหารการลงทุนได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และนโยบายที่บอกไว้หรือไม่ สำหรับกองทุนแบบเปิดนั้น โดยปกติแล้วบริษัทจัดการจะจัดส่งรายงานสถานะของกองทุนรวม และสถานะของเงินลงทุนเฉพาะของคุณแผนมาให้ถึงบ้าน รายงานว่าเงินที่ลงทุนไปนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไร ยอดเป็นเท่าไหร่แล้ว แจกแจงให้รู้ว่าตอนนี้โครงการกองทุนรวมนั้น มีการลงทุนในตราสารอะไรบ้าง? คิดเป็นสัดส่วนเท่าไหร่? รวมทั้งจัดส่งรายงานการดำเนินงานของแต่ละโครงการกองทุนรวมมาให้ในทุกรอบ 6 เดือนด้วย ซึ่งกองปิดก็เช่นเดียวกันแต่จะส่งมาให้เป็นรายปี
            นอกจากนี้ หากคุณแผนถือกองทุนเปิดและมีสมุดบัญชีแสดงสิทธิในหน่วยลงทุนอยู่ในมือ ก็สามารถนำไปปรับตัวเลขให้เป็นปัจจุบันได้เมื่อต้องการ จะได้ดูว่าตอนนี้ยอดการลงทุนหดหาย หรืองอกเงยไปถึงไหนแล้ว
            อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงการแบบเปิดหรือปิด คุณแผนสามารถดูผลการดำเนินงานของกองทุนรวมนั้นได้จากตัวชี้สำคัญ คือ ตัวเลข มูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือในภาษาอังกฤษ เรียกว่า เอ็นเอวี (NAV ย่อมาจากคำว่า Net Asset Value)


          เอ็นเอวี   คือ  มูลค่าของเงินลงทุนของกองทุนรวม บวก(ลบ) ด้วยผลตอบแทนสะสมที่ได้จากการลงทุน เช่น โครงการกองทุนรวมดอกผลทวี เดิมมีกองทรัพย์สินไปลงทุนจำนวน 50,000,000 บาท เมื่อเวลาผ่านไปได้ทั้งดอกผล และส่วนที่ขาดทุนจากการนำเงินไปลงทุนในบางรายการ เมื่อนำมาหักกลบลบกัน รวมทั้งหักรายการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว ผลที่ได้คือกองทุนรวมที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเท่ากับ 60,000,000 บาท ซึ่งเมื่อนำจำนวนผลลัพธ์ดังกล่าวมาหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดของโครงการคือ 5,000,000 หน่วย จะได้ตัวเลขที่เรียกว่า มูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุน เท่ากับหน่วยละ 12 บาท เป็นอันว่าคุณแผน กำไรแล้ว ก็เพราะการลงทุนเมื่อเริ่มแรกซื้อหน่วยลงทุนมานั้นเพียงหน่วยละ 10 บาท เท่านั้น (ไม่รวมค่าธรรมเนียม) แต่ในทางกลับกันหากว่าภาวะในขณะนั้นไม่ดี หักลบรายการลงทุนแล้ว มูลค่ากองทรัพย์สินอาจลดลงก็ได้ ซึ่งจะแสดงออกมาที่ ตัวเลขมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุนที่ลดลงต่ำกว่าราคาที่คุณแผนซื้อไว้เมื่อเริ่มแรก ซึ่งก็คือขาดทุนนั้นเอง

           
ดังนั้น คุณแผนจะสามารถวิเคราะห์สถานะของกองทุนรวมได้ โดยนำตัวเลขเอ็นเอวีดังกล่าวมาเปรียบเทียบกันเมื่อเวลาผ่านไป หรือเปรียบเทียบกับกองทุนรวมอื่นที่มีนโยบายการลงทุนคล้าย ๆ กัน แต่อย่าลืมว่าต้องเป็นตัวเลขในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ลองศึกษาดูว่ากองทุนรวมโครงการไหนดำเนินงานได้แจ๋วกว่ากัน
ตัวเลขเอ็นเอวีที่แจงมานี้ ผู้ถือหน่วยไม่ต้องไปเสียเวลาคำนวณเอง เพราะสามารถหาดูได้จากหลาย ๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นรายงานของกองทุนรวมที่ส่งมาให้ที่บ้าน หรือตามหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน หรือไปขอดูจากรายงานที่ทางสมาคมบริษัทจัดการเขาจัดทำขึ้นทุก ๆ 3 เดือน


            *  ผลตอบแทนในอดีตของกองทุนรวมมิได้เป็นเครื่องประกันผลตอบแทนในอนาคต ที่กองทุนรวมจะได้รับ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ภาวะการลงทุนในตลาดทุน และอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา


ดอกผล….. เกิดขึ้นจาก….?

            ความเคลื่อนไหวของกองทุนรวม ไม่ว่าจะลดมูลค่าลงหรืองอกเงยพอกพูนเกิดขึ้นได้จากปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่

1.  เงินปันผล-ดอกเบี้ยรับ

            เกิดขึ้นเมื่อหุ้น หรือหุ้นกู้ หรือหลักทรัพย์ที่โครงการกองทุนรวมนำเงินไปลงทุนซื้อมาเก็บไว้ในบัญชีนั้น มีการจ่ายเงินปันผล หรือดอกเบี้ยออกมา ซึ่งแต่ละโครงการกองทุนรวมจะมีนโยบายการจ่ายผลตอบแทนในรายละเอียดเฉพาะที่แตกต่างกันไป เช่น บางกองทุนรวมอาจมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยเลย หรือนำเงินดังกล่าวไปทบยอดเพื่อลงทุนต่อไป คุณแผนต้องทราบไว้ก่อนเลยนะว่ากองทุนรวมที่ถืออยู่มีนโยบายเรื่องนี้อย่างไร อย่าลืมไปพลิกอ่านดูจากหนังสือชี้ชวน

2.  ส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์

            เกิดขึ้นเมื่อกองทุนรวมนั้นได้กำไรจากการขายหลักทรัพย์ในบัญชีในราคาที่สูงกว่าเมื่อตอนซื้อมา


            ในการตัดสินใจลงทุนต้องพิจารณา นโยบายการจ่ายเงินปันผล ประกอบด้วย เพื่อเลือกกองทุนรวมที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ลงทุนเอง



เมื่อคุณแผนต้องการใช้เงิน


            ฐานะของกองทุนรวมที่ถือไว้จะมีการเปลี่ยนแปลง เพิ่มลดอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะมีผลต่อผู้ถือหน่วยจริง ๆ ก็เมื่อมีการขายหน่วยลงทุนที่มีอยู่ในมือออกไปไม่ว่าจะด้วยเหตุผลว่าร้อนเงินหรือหมดอายุโครงการก็ตาม

            ดังที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ว่า ในกรณีที่ต้องการขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิดก่อนกำหนดไถ่ถอนนั้น สามารถทได้โดยไปติดต่อกับบริษัทหลักทรัพย์หรือผู้สร้างสภาพคล่องซึ่งทางบริษัทจัดการมอบหมายเอาไว้ ให้ทำการซื้อขายหน่วยลงทุนของกองปิดนั้น โดยหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันจะรายงานราคาหน่วยลงทุนของกองทุนปิดที่จดทะเบียนไว้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
            คราวนี้มาลองทำความรู้จักกับตารางในหน้าหนังสือพิมพ์ ซึ่งแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของกองทุนรวม สำหรับตารางด้านล่างแสดงความเปลี่ยนแปลงของกองทุนปิดที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีการซื้อขายในวันทำการปกติเหมือนกับหลักทรัพย์ทั่วไป


การซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด


หลัก
ทรัพย์
26 สัปดาห์
ราคา
พาร์
ปริมาณ
หุ้น
(000)
มูลค่า
หุ้นบาท
(000)
ราคา
ครั้ง
สุดท้าย
ราคา
เปิด
ราคา
ราคา
ปิด
ราคา
เฉลี่ย
เปลี่ยน
แปลง
ราคา
ปิดต่อ
กำไร
ต่อหุ้น
ราคา
เปิด
มูล
ค่า
หุ้น
เงิน
ปัน
ผล
ตอบ
แทน

สูง
ต่ำ





สูง
ต่ำ






กก
2
1.1
10
16
46.7
2.9
3.2
3
2.8
3
2.92
+0.1
na
0.73
0
ขข
3.2
1.8
10
1
2.9
2.9
2.9
2.9
2.9
2.9
2.9
0
na
0.84
0
รร
2.4
1.1
10
19
64.5
3.3
3.2
3.3
3.1
3.2
3.2
-0.1
na
0.9
5.88
-
-

10
163
472.7
2.9
2.9
3
3.9
3
2.92
+0.02
na
0.7
0

            โดยทั่วไปแล้วจะเป็นตารางที่ให้ข้อมูลเหมือน ๆ กับหลักทรัพย์อื่น ๆ เช่น แสดง ราคาเปิด-ปิด ของการซื้อขายในวันนั้น
            ปริมาณ-มูลค่าการซื้อขาย  การเปลี่ยนแปลงของราคา  เป็นต้น และหากต้องการซื้อขายหน่วยลงทุนตัวไหน ก็มาดูราคาปิดในตาราง ซึ่งจะเป็นราคาของวันทำการก่อนหน้าเช่น ถ้าเปิดดูหนังสือพิมพ์วันอังคารตัวเลขที่เห็นจะเป็นของวันจันทร์ คุณแผนสามารถสอบถามกับนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ได้ว่าราคาซื้อขาย ณ ขณะนั้นเป็นเท่าไหร่ หากพอใจที่ราคาไหนก็สามารถสั่งซื้อ สั่งขายได้เลย แต่สำหรับกองทุนปิดที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดใด ๆ เลย ก็ต้องตามไปดูราคาที่ตัวแทนสนับสนุนการขาย หรือที่ทำการของบริษัทจัดการซึ่งบริหารกองทุนนั้น

            กองทุนเปิดจะมีตารางแสดงการดำเนินงานอยู่ในหนังสือพิมพ์เช่นกัน โดยแสดงสถานะโดยรวมของกองทุนแต่ละกองไว้

การซื้อขายหน่วยลงทุนของกองทุนปิด

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม รวยเหลือทน

กองทุนเปิด
มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
ต่อหน่วยลงทุน
ราคาขาย
หน่วยลงทุน
ราคารับซื้อคืน
หน่วยลงทุน
มูลค่า
ทรัพย์สินสุทธิ
ประเภทตราสารทุน
ทรัพย์เจริญ
พดด้วง
ธนทวี

3.3469
1.9833
2.8426

3.3637
2.0032
2.8711

3.3302
1.9635
2.8142

41,774,011.05
143,371,444.64
273,367,518.62
ประเภทตราสารหนี้
เงินงาม
ทองไหล
ธนสุขี
อภิธนา

11.5308
 3.1291
7.1219
7.1314

11.5309
 3.1448
 7.1220
 7.111314

11.5308
 3.1291
 7.1219
 7.1314

722,637,631.21
 63,919,458.44
115,128,023.39
115,432,210.03

            บริษัทจัดการแห่งนี้ลงตีพิมพ์ตารางกองทุนเปิด ทุกโครงการที่อยู่ภายใต้การบริหาร จะเห็นว่ามีการแยกโครงการออกตามประเภทของนโยบายการลงทุน เป็นตราสารหนี้ ตราสารทุน แต่อย่าเพิ่งงงเสียก่อนในการดูตาราง เพราะหากคุณแผนมีหน่วยลงทุนอยู่ในมือและต้องการ จะขาย ก็ต้องไปดูราคาในช่องราคารับซื้อคืน แต่ถ้า จะซื้อ  ไปดูที่ราคาขาย  ซึ่งหมายถึงราคาที่ทางโครงการจะขายหน่วยลงทุนให้ไม่ว่าคุณแผนจะซื้อในจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม นอกจากนี้ สามารถดูจำนวนมูลค่าทรัพย์สินสุทธิหรือเอ็นเอวีทั้งหมดของกองทุนรวมได้จากช่องขวามือสุด ซึ่งเมื่อนำมาหารด้วยจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดแล้วก็จะออกมาเป็นมูลค่าหน่วยลงทุนแต่ละหน่วย หรือมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต่อหน่วยลงทุนในช่องตัวเลขซื้อมือสุดนั่นเอง

            หากมีกองทุนรวมแบบเปิดอยู่ในมือ สามารถไปติดต่อไถ่ถอนได้ที่ตัวแทนสนับสนุนที่เคยไปติดต่อซื้อหน่วยลงทุน หรือที่บริษัทจัดการเจ้าของโครงการ ซึ่งโดยปกติแล้วคุณแผนจะได้รับค่าขายดังกล่าวภายในห้าวันหลังจากนั้น

            สิ่งควรระวัง : เมื่อตัดสินใจลงทุนในกองทุนรวมแล้ว ต้องทรายอย่างแน่ชัดว่ามีเป้าหมายในการลงทุนเพื่ออะไร เพราะข้อผิดพลาดสำคัญที่มักจะเกิดขึ้น คือผู้ลงทุนไม่ได้พิจารณาถึงความลงตัวระหว่างวัตถุประสงค์ส่วนตัวในการลงทุน และนโยบายการลงทุนของโครงการกองทุนรวม รวมทั้งการที่ผู้ลงทุนไม่สนใจที่จะพิจารณาผลการดำเนินงาน และชื่อเสียงของกองทุนรวม และบริษัทจัดการผู้บริหารกองทุนนั้น ๆ
            ดังนั้น ก่อนที่จะเลือกลงทุนในกองทุนได้ จำเป็นต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ประเมินระดับความเสี่ยงที่รับได้ ค่าใช้จ่าย รวมทั้งการให้บริการ และประวัติการประกอบการของบริษัทที่บริหารกองทุนรวมนั้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘