วางหมาก...กระดานหุ้น ตอน มายืดเส้นยืดสาย ก่อนขึ้นกระบวนท่าที่ 3 ด้วย “หมากเขียวเรโช”

มีเพื่อนๆ ทักผมว่า ไม่คิดที่จะตั้งชื่อกระบวนท่าทั้งสองที่ได้โพสไว้แล้วหรือ?

ดังนั้น ผมจึงขอตั้งชื่อกระบวนท่าทั้งสองดังนี้ครับ

กระบวนท่าที่ 1 ฝึกจิตดั่งภูผา
กระบวนท่าที่ 2 กระบวนท่าสัมพันธ์กับใจ

ตอน ที่แล้ว วางหมาก...กระดานหุ้น ตอน กระบวนท่าที่ 2 กระบวนท่าสัมพันธ์กับใจ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การแนะนำให้นักลงทุนหน้าใหม่ อย่าเข้าตลาดหุ้น หรือ “ยุทธภพ” ด้วยการเล่นหุ้นแบบเก็งกำไรระยะสั้น (Speculator) แต่ให้เล่นหุ้น แบบ VI หรือ VSOP ก็ได้แล้วแต่ความถนัด จากนั้นถ้าอยากจะลองแบบ VS ดูก็ได้ ตามลิงค์นี้ครับ

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I3617424/I3617424.html

ก่อน จะขึ้นกระบวนท่าที่ 3 วันนี้ ผมพาพวก “จอมยุทธ์” ทั้งหลาย มายืดเส้นยืดสายด้วย “หมากเขียวเรโช” ที่ผมได้ลองจับอัตราส่วนทางการเงินยอดฮิตของชาว VI นั่นคือ P/E ratio (อัตราส่วนราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น) กับ P/BV ratio (อัตราส่วนราคาปิดต่อมูลค่าหุ้นทางบัญชี) มาผสมผสานกัน ให้เกิด ratio ใหม่ เพื่อใช้ดูว่าหุ้นใดราคา “ถูก” หุ้นใดราคา “แพง” ลองอ่านกันดูครับ

วางหมาก...กระดานหุ้น ตอน มายืดเส้นยืดสาย ก่อนขึ้นกระบวนท่าที่ 3 ด้วย “หมากเขียวเรโช”

ปฏิเสธกันไม่ได้ว่า อัตราส่วนทางการเงินที่ชาว VI หรือแม้แต่กระทั่งชาว VSOP มักจะดูกันเป็นอันดับต้นๆ คือ P/E และ P/BV

เหตุผล ที่เป็นเช่นนั้น ก็น่าจะมาจาก หาข้อมูลได้ง่าย (ตามหน้า น.ส.พ. หุ้น หรือ น.ส.พ. เศรษฐกิจ มีรายงานทุกวัน) อีกทั้งยังสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายอีกด้วย

P/E นั่น หลักการดูง่าย คือ ยิ่งน้อยๆ ยิ่งดี (แต่ต้องไม่ติดลบนะ) ซึ่ง ดร.นิเวศน์ เคยบอกว่า หุ้นจะถูกจะแพง อย่าไปดูที่ “ราคาหุ้น” ให้ดูที่ P/E ซึ่งท่าน ให้หลักนิยามสไตล์ VI ว่า ตัวเลข P/E นั่นสื่อถึงว่า “เงินที่เราลงทุนไปกับหุ้นตัวนั้น จะได้คืนทุนมาภายในกี่ปี” กล่าวคือ ถ้าคำนวณ P/E ได้เท่ากับ 7.5 แปลความหมายว่า “จะใช้เวลาลงทุน 7 ปีครึ่ง ถึงจะได้ทุนคืนทั้งหมด” เป็นการแปลความอัตราส่วนทางการเงินให้เป็นภาษาชาวบ้านเข้าใจง่ายๆ นั่นเอง

ส่วน P/BV นั่น เป็นการดูเทียบระหว่างราคาปิดของหุ้น ณ วันนั้น ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท ซึ่งส่วนของผู้ถือหุ้นนี้ ถูกบันทึกอยู่ในงบดุลของบริษัทหลังจากที่ได้ทำการกระจายหุ้นออกสู่ตลาด (จึงเรียกว่า Book Value) ดังนั้น P/BV ยิ่งต่ำๆ ยิ่งดี (แต่ต้องไม่ติดลบนะ) เพราะสื่อถึงว่า ราคาหุ้น ณ วันนั้นๆ มีค่าใกล้เคียงหรือต่ำกว่ามูลค่าของตัวมันเองที่บันทึกอยู่ในงบดุล

ทีนี้ก็เกิดคำถามว่า แล้ว P/E และ P/BV ต่ำๆ ยิ่งดีนี้ ต่ำขนาดไหนล่ะ ใช้อะไรวัด?

ตามความคิดของผม การจะดูว่า P/E และ P/BV จะมีค่าต่ำหรือสูงนั่น ผมใช้ P/E และ P/BV รายหมวดธุรกิจ หรือ ราย Sector เป็นตัววัด

กล่าวคือ ถ้า P/E และ P/BV ของหุ้นรายตัว มีค่า “น้อยกว่า” รายหมวดธุรกิจ P/E และ P/BV นั่นมีค่า “ต่ำ”

แต่ถ้า P/E และ P/BV ของหุ้นรายตัว มีค่า “มากกว่า” รายหมวดธุรกิจ P/E และ P/BV นั่นมีค่า “สูง”

การ พิจารณาว่า หุ้นใดราคา “แพง” หุ้นใดราคา “ถูก” หากดูที่ P/E เพียงอย่างเดียว ในความคิดของผม เห็นว่ายังไม่ครอบคลุมพอ เพราะ P/E นั่น ตัว E หรือ Earning per Share ที่ใช้ เป็นเพียงระยะสั้นคือภายในระยะ 12 เดือน การมองเพียงตัวเดียวอาจจะเป็นการมองที่สั้นเกินไป

หากพิจารณา P/BV ซึ่งเป็นมองในระยะยาวกว่า เนื่องจาก BV หรือ Book Value เป็นค่าที่บันทึกอยู่ในงบดุล จะเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อมีการออกหุ้นเพิ่มทุน หรือการซื้อหุ้นคืน หรือการจ่ายปันผลเป็นหุ้น

ดังนั้น หากนำอัตราส่วนทั้งสองมาใช้ผสมผสานกันและใช้สร้างอัตราส่วนขึ้นมาใหม่ เพื่อใช้พิจารณาว่า หุ้นใดราคา “ถูก” หุ้นใดราคา “แพง” จึงน่าจะเหมาะสมกว่า

คุณ “แพะโง่” (ผมไม่ได้ไปว่าเขานา...เขาตั้งของเขาแบบนี้เอง) ได้เคยนำเสนอ “แพะเรโช” ให้ได้รู้จักกันไปแล้ว คือ การนำเอา PE คูณ PBV หากน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 จะน่าลงทุน

ท่านที่สนใจ “แพะเรโช” หรือเรโชของท่านอื่นๆ สามารถอ่านได้ที่ลิงค์นี้ครับ

http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/I2423323/I2423323.html

อัตรา ส่วนที่ผมสร้างขึ้นนั้น แตกต่างกันกับของคุณแพะโง่ โดยผมนำแนวคิดพื้นฐานของ Finance ดังที่อธิบายไปแล้วข้างต้นมาสร้างอัตราส่วน ได้สองอัตราส่วน คือ ระดับจุลภาค และระดับมหภาค ดังนี้ครับ

หมากเขียวเรโช ระดับจุลภาค เวอร์ชั่น 1.0



โดยที่
PE (i) และ PBV (i) เป็น ค่า P/E และ P/BV ของหุ้นรายตัว
ส่วน PE (sec) และ PBV (sec) เป็นค่า P/E และ P/BV ของรายหมวดธุรกิจ

แนวคิดก็คือ

ถ้า P/E และ P/BV ของหุ้นรายตัว มีค่า “น้อยกว่า” รายหมวดธุรกิจ P/E และ P/BV นั่นมีค่า “ต่ำ”

ดังนั้น ค่า PE (i) หาร PE(sec) ของหุ้นที่มีราคา “ถูก” ควรจะต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับหนึ่ง

และค่า PBV (i) หาร PBV (sec) ของหุ้นที่มีราคา “ถูก” ควรจะต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับหนึ่งเช่นเดียวกัน

เมื่อต้องการสร้างข้อจำกัดขึ้น ในการพิจารณาว่า

“หุ้นที่มีราคาถูก P/E และ P/BV ของหุ้นนั้นควรจะต้องมีค่าที่ต่ำเมื่อเทียบกับรายหมวดธุรกิจ”

ดัง นั้น จึงนำ ค่า PE (i) หาร PE(sec) และPBV (i) หาร PBV (sec) มา “คูณ” กัน เพื่อสร้างอัตราส่วน โดยอาศัยกฎพื้นฐานของคณิตศาสตร์เรื่องการคูณทศนิยม

จากกฎพื้นฐานของคณิตศาสตร์ว่าด้วยเลขทศนิยม

“เลขทศนิยมที่น้อยกว่าหรือเท่ากับหนึ่ง สองจำนวนคูณกัน ต้องได้ผลลัพธ์ที่น้อยกว่าหรือเท่ากับหนึ่งด้วย”

และ จากเงื่อนไขการคำนวณ P/E กับ P/BV ของรายหมวดธุรกิจ ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่กำหนดว่า “จะเลือกเฉพาะหลักทรัพย์ที่มีค่า E กับค่า BV ที่มากกว่า 0 เท่านั้นมาใช้คำนวณ P/E กับ P/BV รายหมวดธุรกิจ”

จากแนวคิด และเงื่อนไขการคำนวณของตลาดหลักทรัพย์ฯ จึงได้ออกมาเป็น

“หมากเขียวเรโช ระดับจุลภาค เวอร์ชั่น 1.0” หากค่าที่คำนวณได้ออกมาแล้วได้ “น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1” ถือว่าเป็นหุ้นที่มีราคา “ถูก”

ประโยชน์

ไว้ ช่วยตรวจสอบหุ้นรายตัวว่า หากคำนวณ “หมากเขียวเรโช ระดับจุลภาค” แล้วได้ค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับหนึ่ง หุ้นนั้นมีราคา “ถูก” (ส่วนจะเป็นของดีราคาถูก หรือของห่วยราคาถูก ต้องดูปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ ประกอบ)

ตัวอย่าง (เป็นการสมมติเท่านั้น มิใช่ข้อมูลจริง)

หุ้น A เป็นหุ้นในกลุ่ม bank มี P/E เท่ากับ 9.31, P/BV เท่ากับ 1.54
P/E กลุ่ม bank เท่ากับ 14.47, P/BV กลุ่ม bank เท่ากับ 1.17

หมากเขียวเรโช ระดับจุลภาค = (9.31/14.47) x (1.54/1.17) = 0.85

ผลการคำนวณสรุปว่า หุ้น A มีราคา “ถูก”

จาก “หมากเขียวเรโช ระดับจุลภาค” ซึ่งใช้ดู “หุ้นรายตัว” สามารถ ขยายการมองภาพที่ใหญ่ขึ้นอีก ด้วยการสร้าง “หมากเขียวเรโช ระดับมหภาค เวอร์ชั่น 1.0” เพื่อใช้ดู “พอร์ทการลงทุน”

หมากเขียวเรโช ระดับมหภาค เวอร์ชั่น 1.0



โดยที่
w(i) คือ Weight หรือน้ำหนักการลงทุนของหุ้นแต่ละตัวในพอร์ท มีหน่วยเป็น %
summation ของ w(i) โดยที่ i เท่ากับหนึ่ง ถึง j คือ ผลรวมของน้ำหนักการลงทุนของหุ้นตัวที่ 1 จนถึงตัวที่ j (พอร์ทมีหุ้น j ตัว)

ซึ่งตามกฎผลรวมของ Weight

น้ำหนักการลงทุนของหุ้นตัวที่ i จนถึงตัวที่ j (พอร์ทมีหุ้น j ตัว) ต้องเท่ากับ “หนึ่ง” หรือ 100%

ดังนั้น เมื่อนำ “หมากเขียวเรโช ระดับจุลภาค” มาพิจารณาร่วมกัน

ผล summation ของทั้งสมการ ต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1

แนวคิด

เมื่อ หุ้นแต่ละตัว ถูกคัดสรรมาโดยการดู “หมากเขียวเรโช ระดับจุลภาค” ซึ่งถ้าค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับหนึ่ง จะถือว่าหุ้นตัวนั้นๆ มีราคา “ถูก”

เมื่อ นำหุ้นแต่ละตัว มารวมเป็น “พอร์ทการลงทุน” พอร์ทการลงทุนนั้น ก็ควรจะเป็นพอร์ทการลงทุน ที่ถือว่าเป็น “กลุ่มของหลักทรัพย์ที่มีราคาถูก” เช่นเดียวกัน

ประโยชน์

ไว้ใช้ช่วยตรวจสอบพอร์ทการลงทุนของ ท่านว่า หากคำนวณ “หมากเขียวเรโช ระดับมหภาค” แล้วได้ค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับหนึ่ง บ่งบอกว่า พอร์ทการลงทุนของท่านประกอบด้วยกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีราคา “ถูก” (ส่วนจะเป็นของดีราคาถูก หรือของห่วยราคาถูก ต้องดูปัจจัยพื้นฐานอื่นๆ ประกอบ)

ตัวอย่าง (เป็นการสมมติเท่านั้น มิใช่ข้อมูลจริง)

ในพอร์ทการลงทุน มีหุ้น A อยู่ 60% และหุ้น B 40%
หุ้น A เป็นหุ้นในกลุ่ม bank มี P/E เท่ากับ 9.31, P/BV เท่ากับ 1.54
P/E กลุ่ม bank เท่ากับ 14.47, P/BV กลุ่ม bank เท่ากับ 1.17

หุ้น B เป็นหุ้นในกลุ่ม สื่อสาร มี P/E เท่ากับ 12.49, P/BV เท่ากับ 3.06
P/E กลุ่ม สื่อสาร เท่ากับ 15.44, P/BV กลุ่ม สื่อสาร เท่ากับ 2.36

หมากเขียวเรโช ระดับมหภาค = 0.6 x (9.31/14.47) x (1.54/1.17) + 0.4 x (12.49/15.44) x (3.06/2.36) = 0.93

ผลการคำนวณสรุปว่า พอร์ทการลงทุน ประกอบด้วยกลุ่มหลักทรัพย์ ที่มีราคา “ถูก”

จะหาข้อมูลมาคำนวณได้อย่างไร?

ค่า P/E และ P/BV ของหุ้นรายตัวนั้น หาได้ง่าย ทั้งในเวบไซด์หุ้น และ น.ส.พ.หุ้น แต่แต่ละสำนัก บางครั้งค่าจะไม่ค่อยตรงกัน เหตุผลเนื่องมาจาก การเลือกส่วนประกอบที่ใช้ในการคำนวณอาจจะไม่เหมือนกัน

เนื่องจาก ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้กำหนดค่าสถิติเบื้องต้น และวิธีการคำนวณเบื้องต้น ออกมาใหม่ เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2547 โดยระบุใน “คู่มือ Set Smart ฉบับปรับปรุง ม.ค. 48” ดังนี้









ซึ่งบางสำนักอาจจะไม่ยึดหลักการคำนวณตามตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือการคำนวณหาค่า E และ ค่า BV ที่แตกต่างกันตามนิยามของแต่ละสำนัก

ยกตัวอย่างเช่น
ของ Set Smart ถ้าจะคำนวณหาค่า EPS ณ ไตรมาส 2 ให้คำนวณมาจาก EPS ทั้งปี 47 ลบด้วย EPS ไตรมาส 1,2 ของปี 47 บวกกลับด้วย EPS ไตรมาส 1,2 ของปี 48

ส่วนค่า P/E และ P/BV ของรายหมวดธุรกิจนั้น ไม่ค่อยมีเผยแพร่เท่าไหร่ เท่าที่ผมหาเจอ ก็มี Set Smart หนึ่งที่ ที่มีบริการให้ค้นหา

หลักการคำนวณ P/E และ P/BV ของรายหมวดธุรกิจตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ มีดังนี้



ผม ได้ลองคำนวณ หา P/E และ P/BV ของรายหมวดธุรกิจ โดยการนำ P/E ของหุ้นรายตัวมา Weight ด้วย Mk Cap และนำ P/BV ของหุ้นรายตัวมา Weight ด้วย Mk Cap เช่นเดียวกัน

วิธีการหา Mk cap ที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนดขึ้น มีดังนี้ครับ (Mk Cap ก็เป็นข้อมูลหนึ่งที่สามารถหาได้ง่าย)



แต่ผลปรากฏว่าค่า P/E และ P/BV ของรายหมวดธุรกิจ ที่ผมคำนวณได้ค่อนข้างต่างกันพอสมควรกับทาง Set Smart

ทาง Set Smart ยังให้คำตอบผมไม่ได้ว่า คำนวณ P/E และ P/BV ของรายหมวดธุรกิจมาได้อย่างไร

ค่า ที่ผมคำนวณได้จากวิธี Weight average ให้ค่าที่ใกล้เคียงกับวิธี Arithmetic mean (เอาค่ามาบวกกันแล้วหารด้วยจำนวนข้อมูล) ดังนั้น ผมคิดว่าค่าที่ผมคำนวณ น่าจะเป็นค่าที่ใกล้เคียงกับความจริงมากกว่า

อย่าง ไรก็ตาม เมื่อ Set Smart ขึ้นตรงกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อมูลที่ให้บริการ น่าจะตรงตามหลักเกณฑ์ และได้มาตรฐานที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด ผมจึงใช้ข้อมูลอื่นๆ จากที่นี่ครับ (มิได้มีเจตนาโฆษณาให้ Set Smart แต่อย่างใด) แต่ P/E และ P/BV ของรายหมวดธุรกิจ ผมใช้วิธีคำนวณเอง

ตอนนี้คงขอจบแต่เพียงเท่านี้ หวังว่า “หมากเขียวเรโช ระดับจุลภาค และมหภาค” คงจะเป็นประโยชน์ ต่อนักลงทุนได้ ไม่มากก็น้อย

ยืดเส้นยืดสายกันพอสมควร ไว้พบกันตอนหน้า กระบวนท่าที่ 3 (ยังนึกชื่อท่าไม่ออกแฮะ)

“แมงเม่าของเมื่อวันวาน คือ เซียนหุ้นของพรุ่งนี้”



***สงวนลิขสิทธิ์ ห้ามทำการคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข โดยไม่ได้อ้างอิงหรือขออนุญาตล่วงหน้า***

Create Date : 03 สิงหาคม 2548
Last Update : 11 สิงหาคม 2548 11:40:34 น. 3 comments
Counter : Pageviews. Add to Share/Save/Bookmark Share/Save/Bookmark Share/Save/Bookmark


เขียนให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ ตามคำเรียกร้อง

หมากเขียวเรโช ระดับจุลภาค



โดย: หมากเขียว วันที่: 5 สิงหาคม 2548 เวลา:12:10:30 น.


หมากเขียเรโช ระดับมหภาค



โดย: หมากเขียว วันที่: 5 สิงหาคม 2548 เวลา:15:09:48 น.


คุณหมากเขียวลอง เฉลี่ยแบบ weighted geometric ดูหรือยังครับ ผมเดาๆ เอาว่าอาจจะตรงกับวิธีของตลาดหลักทรัพย์กว่านะครับ เพราะถ้าเฉลี่ยแบบ weighted arithmatic มันจะได้รับผลกระทบจาก outliers มากกว่า ในขณะที่ถ้าคำนวณจาก market cap รวม กับ earning รวม มันจะไม่ค่อยได้ผลกระทบจาก outliers น่ะครับ

จากคุณ : Lepus - [ 6 ส.ค. 48 01:30:57 ]


ขอ เสนออีกนิดครับ คือถ้าเผื่อจะคำนวณอัตราส่วนนี้สำหรับหุ้นหลายๆ ตัวในหมวดเดียวกัน คิดว่าควรจะหา "แพะเรโช" สำหรับกลุ่มนั้นก่อนครับ แล้วเอามาตั้งเป็นตัวหารไว้ได้เลย น่าจะประหยัดเวลาจิ้มเครื่องได้มากกว่า ทั้งนี้เนื่องจาก

PE(หุ้น)/PE(ธุรกิจ) * PBV(หุ้น)/PBV(ธุรกิจ)
= [PE(หุ้น) * PBV(หุ้น)] / [PE(ธุรกิจ) * PBV(ธุรกิจ)]
= แพะเรโช(หุ้น) / แพะเรโช(ธุรกิจ)

(จริงๆ น่าจะเรียก "แพะโปรดักต์" มากกว่า "แพะเรโช" นะครับ หุ หุ)

จากคุณ : Lepus - [ 6 ส.ค. 48 01:49:43 ]


ตอบคุณ Lepus

ทาง Set Smart ยืนยันว่า ใช้วิธีการคำนวณตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ครับ หรือใช้ Mk cap รวมธุรกิจ หารด้วย Earning per Share รวมธุรกิจ ตามสูตรในค.ห.5 และ 6

ตอบคุณ Lepus อีกคำถามนึง

PE(หุ้น) * PBV(หุ้น) ไม่ใช่ แพะเรโช(หุ้น) นะครับ เพราะแพะเรโช คุณแพะเสนอผลคูณของสองเรโชนี้ไว้ว่า ควรจะน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10 ดังนั้นสองเรโชนี้คูณกัน ยังไม่ถือว่าเป็นแพะเรโชครับ

PE(ธุรกิจ) * PBV(ธุรกิจ) ก็ไม่ใช่ แพะเรโช(ธุรกิจ) ครับ เหตุผลดังที่กล่าวมาแล้ว

เดี๋ยวคอนเซปของแพะเรโชจะเสียสมดุลไปครับ หมากเขียวเรโช กับแพะเรโช คนละเรื่องกันครับ อย่านำมารวมกัน เดี๋ยวผิดคอนเซป

คอน เซปของหมากเขียวเรโช คือ นำ PE น้อยๆ (เทียบกับธุรกิจ) คูณกับ PBV น้อยๆ (เทียบกับธุรกิจ) ครับ คอนเซป แตกต่างจากแพะเรโช ไม่เหมือนกัน

จากคุณ : หมากเขียว - [ 8 ส.ค. 48 11:14:34 ]


อ่า ครับ เดี๋ยวเอาเรื่องแก้ที่ผิดก่อน

คือ มานั่งคิดนอนคิดแล้ว #42 ผิดครับ ที่ถูกต้องเป็น weighted harmonic mean ไม่ใช่ weighted geometric mean เนื่องจากเราหาค่าเฉลี่ยของอัตราส่วน

คือ ผมเข้าใจครับว่าตลาดหลักทรัพย์คำนวณ P/E และ P/BV เฉลี่ยอย่างไร และวิธีนั้น (ซึ่ง Set Smart ก็นำมาใช้) เป็นวิธีที่ถูกต้องครับ (คือถือเป็น gold standard)

แต่ที่ผมพยายามจะพูดคือ ถ้าเผื่อว่าเรามีข้อมูลเป็นรายตัว และพยายามจะเอามาเฉลี่ยโดยใช้วิธีคูณกับค่าน้ำหนักแล้วเอามารวมกัน หารด้วยน้ำหนักรวม ซึ่งกรณีนี้คุณหมากเขียวกำหนดให้เป็น 1 (คือหา weighted arithmatic mean) จะได้คำตอบที่ไม่ถูกต้องครับ (ดังนั้น ค่าที่คุณหมากเขียวคำนวณได้จึงไม่ตรงกับค่าที่ Set Smart คำนวณได้) เพราะในกรณีนี้เราจะเฉลี่ยอัตราส่วน ซึ่งต้องใช้วิธีเฉลี่ยแบบ weighted harmonic คือ

mean = (w1+w2+...+wn) / (w1/x1 + w2/x2 + ... + wn/xn)

จึง จะได้คำตอบที่ถูกต้องครับ (คือจะได้ผลลัพธ์ตรงกับวิธี เอาทั้งหมดมาหารกันดุ่ยๆ แบบที่ SET ใช้) อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าถ้าในที่สุดเราลงเอยด้วยการหา weighted harmonic mean ของหลักทรัพย์ทั้งกลุ่มจริงๆ กลับไปทำแบบที่ SET ทำจะง่ายกว่าครับ แต่ถ้าจะหา P/E หรือ P/BV ของเฉลี่ยของ port (หวังว่าคงไม่ติดกันเอาไว้หลายตัว) ที่เป็นค่าเฉลี่ยจริงๆ ต้องทำแบบนี้ครับ

ตัวอย่าง: สมมติว่าพอร์ตของเรามีมูลค่ารวม 1000 บาท มีหุ้น abc 40% ของพอร์ต P/E ตัวนี้ 5 เท่า P/BV 0.8 เท่า และหุ้น xyz 60% ของพอร์ต P/E เป็น 20 เท่า P/BV 2 เท่า

ดังนั้น ราคาของหุ้น abc = 40% * 1000 = 400 บาท; earning รวมในมือ = 400/5 = 80 บาท; book value ของหุ้น abc ในมือ = 400/0.8 = 500 บาท

ส่วนราคาของหุ้น xyz = 60% * 1000 = 600 บาท; earning รวมในมือ = 600/20 = 30 บาท; book value ของหุ้น xyz ในมือ = 600/2 = 300 บาท

ราคา จ่ายไปจริง 1000 บาท; earning รวมทั้งสองตัว = 80+30 = 110 บาท ดังนั้น P/E เฉลี่ย = 9.09; book value รวมทั้งสองตัว = 500+300 = 800 บาท ดังนั้น P/BV เฉลี่ย = 1.25

ถ้าเรามี P/E และ P/BV ของหุ้นแต่ละตัว แล้วพยายามจะหาค่าเฉลี่ยของพอร์ต ด้วยวิธี weighted arithmatic mean จะได้

P/E พอร์ต = 0.4*5 + 0.6*20 = 14 และ
P/BV พอร์ต = 0.4*0.8 + 0.6*2 = 1.52

ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง จริงไหมครับ

การหาค่าเฉลี่ยให้ตรงกับความเป็นจริงในกรณีนี้จึงต้องใช้ weighted harmonic mean

P/E พอร์ต = (0.4+0.6) / (0.4/5 + 0.6/20) = 9.09 และ
P/BV พอร์ต = (0.4+0.6) / (0.4/0.8 + 0.6/2) = 1.25

ซึ่งจะเป็นคำตอบที่ตรงกับความเป็นจริงครับ

เกี่ยว กับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างหมากเขียวเรโช และแพะเรโชนี้ ผมเห็นด้วยครับว่า underlying concept ต่างกัน แต่ "ผลพวง" ที่เกิดขึ้นจากสมการ คือสองอันนี้จริงๆ แล้วเป็นเรื่องเดียวกันครับ (คล้ายๆ กับที่เครื่องโทรศัพท์ (พูดได้อย่างเดียว) เป็นกรณีเฉพาะของเครื่องโทรสาร (พูดก็ได้ ส่งแฟ็กซ์ก็ได้) ประดิษฐ์ขึ้นจากคนละแนวคิดกัน แต่ในที่สุดแล้วก็เป็นเรื่องเดียวกัน)

อันที่จริงแล้วถ้าลองนั่ง พิจารณาสูตรที่มาของอัตราส่วนทั้งสองตัวนี้ จะเห็นว่า "แพะเรโช" เป็นกรณีพิเศษ (special case) ของหมากเขียวเรโช เมื่อกลุ่มธุรกิจนั้นมีค่า P/E * P/BV เท่ากับ 10 พอดีครับ (ลองเขียนสูตรหมากเขียวเรโช แล้วลากเส้นส่วนให้ยาวเชื่อมกันดูสิครับ) แบบนี้ครับ:

เริ่มจากหมากเขียวเรโช ค่าที่เหมาะสม <= 1

PE(หุ้น)/PE(ธุรกิจ) * PBV(หุ้น)/PBV(ธุรกิจ) <= 1

ลากเส้นส่วนยาวๆ (= จัดกลุ่มใหม่)

[PE(หุ้น) * PBV(หุ้น)] / [PE(ธุรกิจ) * PBV(ธุรกิจ)] <= 1

ถ้าบังเอิญหุ้นตัวไหนที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจที่ PE * PBV = 10 พอดี จะได้

[PE(หุ้น) * PBV(หุ้น)] / 10 <= 1

หรือ

PE(หุ้น) * PBV(หุ้น) <= 10 ซึ่งก็คือแพะเรโช ถูกไหมครับ

เพื่อ ความสบายใจของทุกฝ่าย ผมขอแก้ข้อความเดิมเป็นว่า ถ้าต้องการคำนวณหมากเขียวเรโชของหุ้นหลายตัวในกลุ่มเดียวกัน ก็เสนอให้คำนวณค่า PE * PBV ของกลุ่มเอาไว้ก่อน เพื่อใช้เป็นตัวหาร จากนั้นก็คำนวณ PE * PBV ของหุ้นแต่ละตัว เอามาหารด้วยค่าของกลุ่มที่เราหาไว้แล้ว ก็แล้วกันครับ จะประหยัดเวลาจิ้ม PE/PE และ PBV/PBV เรียงตัวได้น่ะครับ

จากคุณ : Lepus - [ 9 ส.ค. 48 01:01:09 ]


ขอบคุณ คุณ Lepus ครับ ที่ต่อยอดความรู้เพิ่มเติมให้อีก

ดีครับ ช่วยๆ กันคิด ทำให้เกิดความรู้เพิ่มเติมทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘