แนวทางการลงทุน #2 ตราสารหนี้...เสี่ยงต่ำ

ตราสารหนี้...เสี่ยงต่ำ
     หากพูดถึงคำว่า "ตราสารหนี้" หลาย ๆ ท่านอาจจะไม่รู้จัก แต่ถ้าบอกว่า "พันธบัตร" หรือ "หุ้นกู้" บางท่านอาจเคยได้ยินมาบ้าง แต่ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า มันคืออะไร

      ตราสารหนี้คืออะไร

      ตราสารหนี้ก็คือ การกู้ยืมเงินชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่ออกตราสารหนี้จะเป็นผู้กู้หรือลูกหนี้ และ ผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ก็จะเป็นผู้ให้กู้ หรือเจ้าหนี้ โดยทั้งสองฝ่ายจะมีข้อผูกมัดทางกฎหมายว่าผู้กู้ (ผู้ออกตราสาร) จะต้องจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา และจ่ายเงินต้นตามสัญญาที่ระบุไว้ หากผู้กู้ไม่จ่ายเงินกู้คืน ผู้ลงทุนก็สามารถฟ้องร้องได้ ผู้ที่ออกตราสารหนี้แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
1. รัฐบาล (โดยกระทรวงการคลัง) ซึ่ง เราเรียกตราสารหนี้นี้ว่า "พันธบัตรรัฐบาล" จะมีตั้งแต่แบบ 1 ปี จนถึงแบบระยะยาว 20 ปี พันธบัตรรัฐบาล ที่จะให้ประชาชนซื้อได้โดยตรงเรียกว่า พันธบัตรออมทรัพย์
2. องค์กรภาครัฐ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ตราสารหนี้ในกลุ่มนี้มักจะมีรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งมีความเสี่ยงต่ำมากเช่นกัน
3. บริษัทเอกชน คือบริษัททั่ว ๆ ไป ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน มักเรียกว่า "หุ้นกู้" ซึ่งจะมีความเสี่ยงมากหรือ น้อยขึ้นกับความมั่นคงของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้

ประเภทของตราสารหนี้ มีวิธีแบ่งอยู่ 2 อย่าง

แบ่งตามสิทธิในการเรียกร้อง

1. ตราสารหนี้ด้อยสิทธิ โดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นกู้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ผู้ถือหุ้นกู้ประเภทนี้จะมีสิทธิในการเรียกร้องเงิน ต้นคืน น้อยกว่าเจ้าหนี้ทั่วไป ในกรณีที่บริษัทผู้ออกตราสารหนี้เกิดมีปัญหาหรือล้มละบาย แต่ก็จะได้รับการจัดสรรเงินคืน ก่อนผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและหุ้นสามัญ 2. ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ ผู้ถือตราสารหนี้ประเภทนี้จะมีสิทธิทัดเทียมกับเจ้าหนี้สามัญรายอื่น ๆ และมีสิทธิมากกว่า ผู้ถือตราสารหนี้ด้อยสิทธิ

แบ่งตามการค้ำประกัน

1. ตราสารหนี้มีประกัน หมายถึง ตราสารสหนี้ที่ผู้ออก นำสินทรัพย์ซึ่งอาจจะเป็นที่ดิน , อสังหาริมทรัพย์, หรือแม้แต่รายได้ในอนาคต เป็นหลักประกันการออม โดยผู้ถือตราสารหนี้จะมีบุริมสิทธิเหนือสินทรัพย์นั้น
2. ตราสารหนี้ไม่มีหลักประกัน ก็คือ ตราสารสารหนี้ที่ไม่ได้มีการนำสินทรัพย์ใด ๆ มาเป็นหลักประกัน ตราสารหนี้ที่ไม่มีหลักประกันอาจจะเป็นตราสารหนี้ด้อยสิทธิหรือ ตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ

สิ่งต้องรู้ก่อนลงทุนในตราสารหนี้
(1) มูลค่าที่ตราไว้ คือราคาต่อหน่วยที่ระบุเอาไว้ในตราสาร
(2) อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว คืออัตราดอกเบี้ยที่ ผู้ออกสัญญาว่าจะจ่ายให้ผู้ลงทุนซื้อตราสารนั้น โดยอัตราดอกเบี้ยที่ระบุอาจจะเป็น อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่
(3) งวดการจ่ายดอกเบี้ย คือการระบุว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ลงทุน จำนวนกี่ครั้งต่อปี
(4) วันครบกำหนดไถ่ถอน คือวันที่ตราสารหนี้นั้นจะหมดอายุ และผู้ลงทุนจะได้รับเงินต้นคืน ความสำคัญของวันครบกำหนดไถ่ถอน อยู่ที่ว่ามันยาวนานเพียงใด
(5) องค์กรที่ออกตราสาร และอันดับเครดิต คือความมั่นคงขององค์กร ที่ออกตราสารหนี้จะบ่งบอกถึงความเสี่ยงของการลงทุนนั้น ซึ่งหากเป็น รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ หากเป็นบริษัทเอกชน ผู้ลงทุนอาจจะตส้องศึกษาในรายละเอียดขององค์กรนั้นบ้างว่ามั่นคงหรือไม่
(6) ประเภทของตราสารหนี้ เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่าตราสารที่เราลงทุน มีความเสี่ยงอย่างไร หากบริษัทลูกหนี้เรามีปัญหา เพราะตราสารหนี้นั้นมีอยู่หลายประเภท
(7) ข้อสัญญา/เงื่อนไขต่าง ๆ เป็นการดูในรายละเอียดว่า ผู้ออกหุ้นกู้มีเงื่อนไขอะไรเป็นพิเศษที่จะทำ หรือไม่ทำบ้าง เช่น ผู้ออมอาจสัญญาว่าจะรักษาระดับหนี้สินต่อทุนไม่ให้เกินระดับที่กำหนด เป็นต้น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘