บทเรียนที่ 2 : รู้แนวรับแนวต้าน

แนวรับ Support บอกถึงการที่ราคาลงมาที่แนวรับนั้นๆ แล้วแนวรับนั้นรับอยู่เลยดีดกลับขึ้นไปต่อ ส่วนแนวต้าน Resistance บอกถึงการที่ราคาวิ่งขึ้นไปชนแนวต้านนั้นๆ แล้วแนวต้านนั้นต้านอยู่เลยดีดกลับลงไปต่อ เรียกกันง่ายๆ แนวรับเพื่อไม่ให้ลงต่อ แนวต้านเพื่อไม่ให้ขึ้นไปต่อ
แนวรับ แนวต้าน สามารถบอกถึงเป้าหมายในอนาคตได้ คือ อดีตเคยขึ้นไปเป็นแนวต้านตรงไหน อนาคตก็จะขึ้นไปที่แนวต้านเดิมที่เคยขึ้น เช่นเดียวกัน อดีตเคยลงไปตรงไหนเป็นแนวรับ อนาคตก็จะลงไปที่แนวรับเดิมที่เคยลงไปถึง เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นรอบๆของการขึ้น ลง อดีตเคยเป็นยังไงอนาคตกราฟก็จะวิ่งไปที่เดิมที่เคยขึ้นและลงเสมอ ๆ
Double top เกิดจากการที่แนวต้าน (อดีต) และแนวต้านปัจจุบันมาชนที่เดียวกันมักจะดีดตัวกลับลงแรงๆ เสมอ คล้ายๆ กับตัว M บางครั้งจะเป็นตัว M หางยาว
double_top
Double bottom เกิดจากการที่ แนวรับ (อดีต) และแนวรับปัจจุบันมาชนที่เดียวกันมักจะดีดตัวกลับขึ้นแรงๆ เสมอๆ คล้ายๆ กับตัว W บางครั้งจะเป็นตัว W หางยาว
double_bottom
การหาจุดเข้าซื้อ ขาย โดยการใช้ แนวรับ แนวต้าน เข้ามาช่วย
เมื่อทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ เรียกว่า break out ซื้อ
เมื่อทะลุแนวรับลงมาได้ เรียกว่า  break out ขาย
หลังจากที่รู้การลากเส้นแนวโน้มไปแล้ว เราจะเอาการลากเส้นแนวโน้มมาผสมกับการหาจังหวะเข้าซื้อ ขายที่ปลอดภัย
เริ่มแรกปลอดภัยสุด พึ่งเกิดแนวโน้มขาขึ้นแล้วมีจังหวะ break out ทะลุแนวต้าน (อดีต) ขึ้นไปได้ เป็นจังหวะซื้อที่มักจะถูกทางเสมอๆ
พึ่งเกิดแนวโน้มขาลงแล้วมีจังหวะ break out ทะลุแนวรับ (อดีต) ลงไปได้ เป็นจังหวะขายที่มักจะถูกทางเสมอ ๆ
ปลอดภัยน้อยลงมา คือช่วงที่ขึ้นไปสูงและไปต่ำแล้วในแนวโน้มขาขึ้นและขาลง เรามาไม่ทันในการทะลุ (เกิด break out) ครั้งก่อนๆ (ตกรถ) ไปเข้าจังหวะใกล้หมดรอบแนวโน้มของขาขึ้นขาลงนั่น ต้องรู้และพิจารณาเสมอๆว่า เรามาซื้อขายสูงและต่ำเกินไปต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยการเข้าเร็วออกเร็วแล้วมองหาเป้าหมาย (TP) ในอดีตที่เคยขึ้นลงไปที่ระดับราคาไหน (แนวรับ แนวต้าน ในอดีต)
break_out_buy
การใช้ แนวรับ แนวต้าน ในการหา stop loss วินัยเรื่องนี้ถือว่าสำคัญที่สุด
ยกตัวอย่าง กองทุน กบข. ที่เอาเงินภาษีประชาชนไปลงทุนแล้วขาดทุนย่อยยับ ต่อให้ผู้บริหารเก่งแค่ไหนในการบริหาร แต่ไม่กล้ายอมที่จะตัดขาดทุนปล่อยไป คิดว่าเดี๋ยวก็ขึ้นก็เลยเสียหายจนถึงทุกวันนี้ เพราะขาดวินัยที่จะกล้า stop loss ขาดทุนแต่ต้นๆ แล้วไปเริ่มต้นใหม่ในการบริหารเงินทุน  นี่คือตัวอย่างของการไม่ยอม stop loss
การเข้าเทรดทุกครั้ง เราต้องคิดเสมอด้วยเหตุและผล ว่าเราเทรดเพราะอะไร วางแผนในเทรดครั้งนี้ยังไง เป้าหมายตรงไหน และจุดยอมรับการขาดทุนอยู่ตรงไหน   นึกเสมอว่าเข้าเทรดต้องชนะตลาด เมื่อแพ้ก็ยอมมอบตัวให้เร็ว เมื่อชนะตลาดก็รีบเก็บกำไรให้ได้ รู้ว่าตอนไหนควรอยู่เฉย ๆ ตอนไหนควรเล่นสั้น ตอนไหนควรเก็บยาว
จะเห็นว่าแค่เรารู้พื้นฐาน การลากเส้นและแนวรับแนวต้าน สามารถหาได้ทั้งจุดเข้าซื้อ ขาย เป้าหมาย จุดยอมขาดทุน
ฝึกมองภาพกว้างให้ออก โดยไปมองที่ระยะยาว มาถึงระยะสั้น บางครั้ง 15m หาเป้าหมายไม่เจอก็ลองไปเปิดกราฟ 30m 1h 4h เพื่อหาเป้าหมาย (แนวรับแนวต้านที่เคยขึ้นลงมาก่อน)
การลากเส้นเทรนด์ก็เช่นกัน ต้องรู้ว่าหลุดเทรนด์เปลื่ยนแนวโน้มแล้ว มองให้ออก ฝึกบ่อยๆ จะยิ่งง่ายขึ้นไปเอง  การเทรดแต่ละครั้งนั่น ควรเล่นเป็นรอบ ๆ จะสังเกตุเห็นว่าเมื่อขึ้น แนวโน้มที่เราลากเทรนด์ก็ลากได้จนหลุดเทรนด์ขาขึ้น เมื่อรู้ว่าหมดคือหมดรอบของการขึ้น
เมื่อรู้ว่ารอบ sideways ลากกรอบ sideways ให้ลากที่กรอบแนวรับแนวต้านนั้นๆ การขึ้น การลง และด้านข้าง จะเห็นว่าจะวิ่งเป็นรอบๆ ไป บางครั้งเทรดง่ายเพราะกราฟวิ่งขึ้นตาม เทรนด์ขึ้นเทรนด์ลง บางครั้งเล่นยากเพราะกราฟสวิง (sideways)
เอาทุกอย่างทั้งสองขั้นตอนมาผสมกันครับ แค่นี้ก็สามารถทำกำไรได้แล้ว
support_resistance

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘