สรุป The Secret กฏแห่งการดึงดูด ตอนที่ 3

1.2 รู้เท่าทันความคิดของตัวเอง :

เหมือนเป็นการมีสติ กำหนดรู้ว่า ขณะนี้เราคิดอะไร คิดดีหรือคิดเลว เมื่อเรารู้เท่าทัน
ความคิดเราเมื่อไหร่ เราก็สามารถคัดแยกความคิดเลวออกจากความคิดดีได้ ทำให้เรามีโอกาส
ที่จะยับยั้งความคิดเลว และดำเนินความคิดดีดีต่อไป

เคยสังเกตุตัวเองกันมั๊ย หากเมื่อเราคิดเลว อารมณ์ที่ไม่ดี ก็จะเกิด แต่หากเมื่อไหร่เรา
คิดดี ความสบายใจ อารมณ์ที่ดีก็จะเกิด อารมณ์เป็นสิ่งหนึ่งที่ก่อให้เกิดการกระทำ คนที่ไม่
รู้เท่าทัน ไม่รู้จักควบคุมความคิดเลว อารมณ์เลว ก็จะโกรธง่าย เกลียดง่าย ฉุนเฉียวง่าย สิ่ง
เหล่านี้ ถูกถ่ายทอดผ่านใบหน้าและร่างกายออกสู่ภายนอก สิ่งที่สะท้อนจากภายนอกกลับมา
หาตัวคุณก็คงไม่ใช่สิ่งดีนักหรอก แต่ในทางกลับกัน คนที่คิดดี รู้เท่าทันระงับความคิดและ
อารมณ์เลว สิ่งดีดี จากจิตใจก็จะถูกทอดผ่านร่างกายให้แสดงออกมาแต่ในสิ่งดีดี สิ่งที่คุณ
ได้รับก็จะเป็นสิ่งดีด้วยเช่นกัน เมื่อคุณรู้สึกดี ความคิดสร้างสรรค์ อารมณ์สร้างสรรค์สิ่งต่างๆก็
จะบังเกิดขึ้น ทำให้คุณสามารถพัฒนาตัวเองทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างดีขึ้นอย่างไม่
ต้องสงสัย อนาคตของคุณขึ้นกับความคิดของคุณแล้วหละ
สร้างคิดดี อารมณ์ดี โดย รู้จักมีความพึงพอใจ (Scarification) รู้จักชื่นชมผู้อื่น
(Appreciation) มีความหวัง (Hope) มีความสุข (Happiness) รู้จักสนุก ร่าเริง(Joy) รู้จัก
ขอบคุณ (Gratitude) รู้จักรักทั้งตัวเอง ผู้อื่น และสิ่งอื่นรอบตัว (Love) เป็นต้น
ละทิ้ง ความคิดเลว อารมณ์เลว โดย ตัดความหวาดกลัว (Fear) ความกดดัน เครียด
(Depression) ผิดพลาดเลอะเทอะ (Fault) ไม่พอใจขุ่นเคือง (resentment) ความเกลียด
(Hate) ความโกรธ (Angry) การตำหนิติเตียน (Criticism) การกล่าวโทษนินทา (Blame) เป็น
ต้น
ความเครียด ความคิดเชิงลบ ก่อให้เกิดอารมณ์ที่ขุ่นมัว เศร้าหมอง ส่งผลต่อระดับการทำงา
ของร่งกายและสมองที่ลดลงเสมอ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘