DSM concept ตอนที่ 8

DSM (7) – เริ่มต้นลงทุนวิธี DSM


เมื่อเลือกหุ้นที่จะลงทุนในแบบ DSM ได้แล้ว คราวนี้ก็มาถึงเวลาเข้าซื้อหุ้น

กฎการลงทุนหุ้นวิธี DSM

1. ซื้อให้ถูกกว่าขาย
2. เวลาไม่จำกัดในการซื้อคืน (มิติของเวลาเป็นInfinity)

ตอนเริ่มต้นถ้าสามารถซื้อหุ้นได้ราคาที่ต่ำ แล้วหุ้นขึ้นยอมมีกำลังใจในการลงทุนหุ้นDSMได้มาก แล้วจะทำอย่างไร โดยการเขียวซื้อ แดงขาย หรือ กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง (DenSri Indicator=DSI) ซึ่งวิธีง่ายๆ แบบนี้เมื่อซื้อหุ้นแล้วหุ้นขึ้น (กอดหุ้นวิ่ง) แต่ถ้าลงก็ทำตามวิธี DSM ที่มีวิธีรับมือกับขาลง (ทิ้งหุ้นแดง) ดังนั้นการเข้าซื้อในจังหวะที่เหมาะสมก็มีความสำคัญมากแต่ก็ไม่ได้จำเป็นต้องซื้อได้ต่ำที่สุดของราคาเช่นกัน (เพราะไม่มีใครซื้อได้จุดต่ำสุด และขายได้จุดสูงสุดของราคาหุ้นได้)


จะรู้ได้อย่างไรว่า เวลาไหนควรซื้อ

ประสบการณ์จะบอกคุณเองว่า ซื้อตอนนี้ ตอนนั้น ราคาหุ้นจะขึ้น ไม่มีกฎตายตัวว่าจะดูอย่างไร เพราะถ้ามีกฎแบบนี้แล้ว ทุกๆ คนคงรวยกันหมดทั้งโลกแน่ๆ
ดังนั้น เมื่อเราไม่สามารถหาจุดซื้อที่ประกันได้แน่นอนว่าหุ้นจะขึ้น เราก็อย่าไปกังวล ให้เราหาจุดซื้อในช่วงที่หุ้นมีทีท่าขยับตัวขึ้นหุ้นเขียวอ่อนเริ่มซื้อได้ (เขียวซื้อ แดงขาย หรือ กอดหุ้นวิ่ง ทิ้งหุ้นแดง ) ถ้าซื้อผิดจังหวะ ก็รับมือด้วยวิธี DSM ห้ามซื้อในเวลาที่หุ้นกำลังมีราคาลดลงเด็ดขาด จำไว้ว่า ถึงแม้ราคาหุ้นจะถูกแล้ว แต่ก็ยังมีถูกกว่า และยังมีถูกที่สุดอีกด้วย (นรกยังมีนรก สวรรค์ยังมีสวรรค์) อาจจะฝืนความรู้สึกสำหรับบางคน แต่ถ้าเคยบาดเจ็บจากการซื้อหุ้นราคาถูกแล้วอีกแป๊บเดียวราคาก็ถูกกว่าที่ซื้อมา ก็จะเข้าใจเองว่าเป็นอย่างไร

ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่จุดเริ่มต้นเหมือนกับการเดินทางหมื่นลี้ สำคัญที่ก้าวแรก ที่เดิน จงเดินด้วยความมุ่งมั่น แต่ละก้าวที่เดินดูรอยเท้าที่ก้าวมาและก้าวต่อไปก้าวด้วยจิตใจที่นิ่งรู้ว่าก้าวซ้ายหรือขวา เมื่อทำไปก็จะรู้ควรก้าวทางไหน และนักลงทุนแต่ละท่านก็จะสามารถสร้าง Model trade ของแต่ละบุคคลขึ้นมาได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่างอัตโนมัติเหมือนกับการฝึกขี่จักรยาน ตอนแรกต้องมีล้ม แล้วเราก็ลุกขึ้นมาขี่จักรยานอีก จนขี่จักรยานเป็น หลังจากนั้นเราก็สามารถขี่จักรยานได้อย่างอัตโนมัติโดนที่ไม่ต้องไปเริ่มฝึกขี่จักรยานอีก ถึงแม้นไม่ได้ขี่จักรยานมาเป็นเวลานาน เพราะว่าเป็นเป็นไปโดยอัตโนมัตินั้นเอง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นตรี สอบในสนามหลวง วันอังคาร ที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๒

I miss you all กับ I miss all of you ต่างกันอย่างไร

ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นโท สอบในสนามหลวง วันอาทิตย์ ที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๘